Present Continuous Tense

Present Continuous Tense

โครงสร้าง ประโยค เชิงบอกเล่า

โครงสร้าง: Subject + is, am, are + Verb 1 ing.

( ประธาน + is, am, are + กริยาช่อง 1 เติม ing.)

ตัวอย่าง

1. Somchai is sleeping. ( สมชายกำลังนอนหลับ )

2. I am playing football. ( ฉัน กำลังเล่น ฟุตบอล )

การใช้ Verb to Be

ประธานเอกพจน์ + is

ประธานพหูพจน์ + are

ประธาน I + am

เช่น They are playing tennis. พวกเขากำลังเล่นเทนนิส

I am cooking. ฉันกำลังปรุงอาหาร

He is playing golf. ฉันกำลังเล่นกอล์ฟ


ประโยค Present Continuous Tense เชิงปฏิเสธ

เมื่อต้องการแต่งประโยค Present Progressive Tense ให้มีความหมาย เชิงปฏิเสธให้นำ not มาเติมหลัง Verb to be ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้
โครงสร้าง: Subject + is, am, are + not + Verb + ing.
          ( ประธาน + is, am, are + not + กริยาช่อง 1 เติม ing. )

ตัวอย่าง :  1. Somchai is not ( isn’t ) sleeping. ( สมชายไม่ได้กำลังนอนหลับ )
            2. I am not playing football. ( ฉันไม่ได้ กำลังเล่น ฟุตบอล )
            3. They are not ( aren’t ) watching TV. ( พวกเขาไม่ได้กำลังดูโทรทัศน์ )

หลักการใช้ Present Continuous Tense

1. ใช้กับการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นในขณะที่พูด เช่น

1. I am studying English . ( ฉันกำลังเรียนภาษาอังกฤษ )

2. Somchai is sleeping. ( สมชายกำลังนอนหลับ )

3. They are watching TV. ( พวกเขากำลังดูโทรทัศน์ )


กริยาวิเศษณ์บอกเวลาที่ใช้ใน Present Continuous Tense

now ขณะนี้ at the momen ขณะนี้ right now ขณะนี้

at this moment ขณะนี้ at present ขณะนี้


หลักการใช้ Verb + ing

การเติม ing ที่คำกริิยา ใน Present Progressive (Continuous) Tense

  1. เติม ing ท้ายกริยาช่องที่ 1 ได้ทันทีสำหรับกริยาทั่วไป เช่น

work --- working

read --- reading

watch --- watching

sing --- singing

***แต่กริยาบางพวกมีการเปลี่ยนแปลงรูปก่อนเติม ing พอจะสรุปเป็นกฏได้ดังนี้

การเติม ing ที่คำกริิยา ใน Present Progressive (Continuous) Tense

  1. คำพยางค์เดียว มีสระ (vowel) ตัวเดียว ลงท้ายด้วยพยัญชนะ (consonat) ตัวเดียว ต้องเพิ่มพยัญชนะตัวท้ายเข้าอีก 1 ตัว เเล้วจึงเติม ing

run --- running วิ่ง

stop --- stopping หยุด

put --- putting วาง

shut --- shutting ปิด

stir --- stirring คน,ผสมได้ทั่ว

beg --- begging ขอ,ขอร้อง

3. คำสองพยางค์ ซึ่งลงเสียงหนัก (stress) ที่พยางค์ท้าย มีสระพยางค์ท้ายเพียงตัวเดียว และลงท้ายด้วยพยัญชนะตัวเดียว ต้องเพิ่มพยัญชนะตัวท้ายนั้นเข้าอีก 1 ตัว เเล้วจึงเติม ing

begin --- beginning เริ่มต้น

forget --- forgetting ลืม

occur --- occurring เกิดขึ้น

แต่ถ้าลงเสียงหนักพยางค์แรก ไม่ต้องเพิ่มพยัญชนะตัวท้ายอีก เช่น

cover --- covering ปกคลุม

edit --- editing จัดการ

ยกเว้น

คำต่อไปนี้ลงเสียงหนักที่พยางค์แรก แต่ยังคงเพิ่มพยัญชนะท้ายตัวหนึ่งก่อนเติม ing คือ

worship --- worshipping บูชา,นับถือ

handicap --- handicapping ต่อแต้มให้,เป็นอุปสรรค

kidnap --- kidnapping ลักพาตัว

คำพิเศษ

picnic --- picnicking ไปเที่ยวปิคนิค

panic --- panicking ตื่นกลัว

mimic --- mimicking ล้อเล่น

4. คำลงท้ายด้วย l (แอล) มีสระตัวเดียว ต้องเพิ่ม l เข้าอีกตัวหนึ่งเเล้วจึงเติม ing เช่น

travel --- travelling เดินทาง

control --- controlling ควบคุม

fulfil --- fulfilling ทำให้สำเร็จ

ยกเว้น

parallel --- paralleling ทำให้ขนานกัน

5. คำลงท้ายด้วย e เเละไม่ออกเสียง e ให้ตัด e ออกเเล้วจึงเติม ing

hope --- hoping หวัง

take --- taking หาไป,เอาไป

move --- moving เคลื่อนไหว

lose --- losing ท้าทาย

make --- making ทำ

have --- having มี

come --- coming มา

pursue --- pursuing ติดตาม

6. คำลงท้าย ie เปลี่ยน ie นั้นเป็น y ก่อน แล้วจึงเติม ing

die --- dying ตาย

tie --- tying ผูก,มัด

lie --- lying นอนลง

ยกเว้น

dye dyeing ย้อมสี

ski skiing เล่นสกี

คำกริยาห้ามเติม ing ใน Present Continuous Tense

ส่วนใหญ่แล้วคำกริยาสามารถเติม ing เพื่อแสดงถึงการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นได้ แต่ยังมีคำศัพท์กลุ่มหนึ่งที่ห้ามเติม ing เพื่อแสดงการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นทั้งนี้เป็นเพราะว่า กริยาที่เติม ing นั้น ต้องสามารถทำได้ต่อเนื่องยาวนาน เช่น เดิน วิ่ง นอน ยืน เราสามารถที่จะ เดิน วิ่ง นอน ยืน เป็นชั่วโมงหรือเป็นวันก็ได้ คำเหล่านี้จึงสามารถนำมาใช้ใน Present Continuous Tense ได้

กริยาที่ห้ามเติม ing นั้น ไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน เช่น เห็น ชอบ รู้จัก ฝรั่งไม่พูดว่า

“กำลังรู้จัก กำลังเห็น กำลังรัก กำลังชอบ” บางคำคนไทยอาจพูด แต่ฝรั่งบอกว่า No ครับ

คำที่ควรทำความรู้จักไว้ได้แก่

believe = บิลิฝ / เชื่อ belong = บิลอง / เป็นของ

cost = คอสท / ราคา dislike = ดิสไลค์ / ไม่ชอบ

envy = เอ็นวิ / อิจฉา fear = เฟีย / กลัว

forget = ฟอเก็ท / ลืม hate = เฮท / เกลียด

have* = แฮฝ / มี, กิน hear = เฮีย / ได้ยิน

know = โน / รู้จัก like = ไลค / ชอบ

love = เลิฟ / รัก need = นีด / ต้องการ

prefer = พริเฟอ/ ชอบ…มากกว่า see* = ซี / เห็น, พบ

seem = ซีม/ ดูเหมือน smell* = สเม็ล /มีกลิ่น, ดม

sound = ซาวด / ดูเหมือน taste* = เทสท / มีรสชาติ, ชิม

ตัวอย่างการใช้ที่ผิดและถูก

I hate a snake. ฉันเกลียดงู (ถูก)

I am hating a snake. ฉันกำลังเกลียดงู (ผิด)

She know him. หล่อนรู้จักเขา (ถูก)

She is knowing him. หล่อนกำลังรู้จักเขา (ผิด)

We like dogs. พวกเราชอบสุนัข (ถูก)

We are liking dogs. พวกเรากำลังชอบสุนัข (ผิด)

They want water. พวกเขาต้องการน้ำ (ถูก)

They are wanting water. พวกเขากำล้งต้องการน้ำ (ผิด)

They need help. พวกเขาต้องการความช่วยเหลือ (ถูก)

They are needing help. พวกเขากำลังต้องการความช่วยเหลือ (ผิด)

คนไทยใช้ แต่ฝรั่ง No

คำพิเศษ

คำที่ว่าคือคำที่มีเครื่องหมายดอกจัน คำเหล่านี้มีสองความความหมาย ถ้าใช้ความหมายหนึ่ง ห้ามเติม ing แต่ถ้าใช้อีกความหมายหนึ่งสามารถเติมได้ เช่น

I am seeing the doctor tomorrow. ผมกำลังจะพบหมอพรุ่งนี้ (ถูก)

I see John jogging everyday. ผมเห็นจอนวิ่งเหยาะๆทุกวัน (ถูก)

I am seeing Jonh jogging. ผมกำลังเห็นจอนวิ่งเหยาะๆ (ผิด) เห็นก็เห็นเลย ไม่ใช่กำลัง


She is smelling the fish. หล่อนกำลังดมปลา (ถูก)

The fish smell bad. ปลาส่งกลิ่นเหม็น (ถูก)

The fish are smelling bad. ปลากำลังส่งกลิ่นเหม็น (ผิด)


She is tasting the curry. หล่อนกำลังชิมแกง (ถูก)

The curry tastes good. แกงมีรสชาติดี (ถูก)

The curry is tasting good. แกงกำลังมีรสชาติดี (ผิด)