การจัดการศึกษาพิเศษในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

การจัดการศึกษาพิเศษในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้จัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการระดับอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้ารับการศึกษา ตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียนเป็นต้นไป สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงมีนโยบายส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการโดยมีการจัดทำยุทธศาสตร์ มาตรการและแผนงานโครงการต่าง ๆ เพื่อรองรับนักศึกษาที่จะเข้ามาศึกษาในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ ทั้งในระบบการสอบคัดเลือก และระบบการคัดเลือกตรง จากโรงเรียนการศึกษาพิเศษ ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีจำนวน 4 ด้าน ดังนี้

ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างโอกาสทางการศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาการจัดการการเรียนรู้ของผู้พิการ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาองค์ความรู้

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการมีงานทำของบัณฑิตผู้พิการ

จากยุทธศาสตร์ดังกล่าว มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้ดำเนินการ จัดตั้งหน่วยงานรองรับคือ หน่วยงานบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (Disability Support Services : DSS) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการให้การช่วยบริการสนับสนุนแก่นักศึกษาพิการที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย ซึ่งในระยะแรกมีเฉพาะนักศึกษาพิการด้านบกพร่องทางการมองเห็น ต่อมาในปีการศึกษา 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลามีนโยบายในการรับนักศึกษาพิการด้านความบกพร่องทางการได้ยินเข้าศึกษาต่อ โดยใช้ระบบการคัดเลือกตรงจากโรงเรียนโสตศึกษาเขตภาคใต้ เข้ามาศึกษาในคณะศิลปกรรมศาสตร์อีกทั้งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาด้านบุคลากร สำหรับงบประมาณด้านอื่น ๆ ได้รับการจัดสรรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปัจจุบันงานบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการอยู่ในการรับผิดชอบ ของงานการศึกษาพิเศษ ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ดำเนินภารกิจด้านการศึกษา สำหรับนักศึกษาพิการภายใต้นโยบาย ยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา