สายเจ้าทางอีสาน

  • พรมประกาย ณ นครพนม
  • โพธิเสน สืบสายมาจาก พระยาวุฒิธรรมมประดิษฐ์ เป็นต้นตระกูล โพธิเสน
  • โพธิเสน ณ หนองคาย ลูกหลานของพระยาวุฒาธิคุณ (แพ) เป็นผู้ขอใช้นามสกุล
  • สูตรสุคนธ์ ณ นครพนม
  • พิมพานนท์ ณ นครพนม
  • สิงหะวาระ (สายนครพนม)
  • นาครทรรภ (สายนครพนม)
  • กิติศรีวรพันธุ์ (เจ้าเมืองท่าอุเทน นครพนม)
  • แก้วมณีชัย (เจ้าเมืองเรณูนคร นครพนม)
  • เตโช (อุปราชเมืองเรณูนคร นครพนม)
  • รามางกูร (ตาแสงธาตุพนม นครพนม)
  • พรหมสาขา ณ สกลนคร
  • จันทรสาขา (เจ้าเมืองมุกดาหาร)
  • สิทธิรัตน์ (สายนครพนม)
  • ยอดเพ็ช (พระยอดเมืองขวาง หรือขำ เจ้าเมืองคำม่วน ลาว)
  • ณ หนองคาย
  • ณ ร้อยเอ็จ
  • ณ กาฬสินธุ์
  • ณ จำปาสัก
  • ณ พล ( เจ้าเมืองพล ขอนแก่น)
  • ดีบุญมี ณ ชุมแพ (ขุนบริบาลบำรุง หรือเลี้ยง กำนันชุมแพ ขอนแก่น)
  • สุวรรณเลิศ (เจ้าเมืองกันทรวิชัยหรือคันธารวิไชย์ มหาสารคาม)
  • สุวรรณวงศ์ (สมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ราชอาณาจักรลาว)
  • เรืองสุวรรณ (เจ้าทางอีสานที่มีเชื้อพระเจ้าไชยเชษฐามหาราช ล้านช้าง)
  • ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม
  • ณ เมืองแปะ (เจ้าเมืองบุรีรัมย์)
  • ราชาโคตร (เจ้าเขมรหนีมาอยู่อีสานล่าง)
  • วรบุตร (เจ้าเมืองแก่นท้าว เลย ปัจจุบันอยู่ลาว นามสกุลหลวงปู่หลุย จันทสโร)
  • แก่นแก้ว ( เพียแก่นท้าวเปนต้นตระกูล นามสกุลหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
  • ลาวัณบุตร (เจ้าเมืองจตุรัสสี่มุม ชัยภูมิ)
  • มังคละคีรี ( เจ้านครพนม)
  • หงษ์ภักดี (เจ้านครพนม)
  • พรหมวงศานนท์ (เจ้าอุบล)
  • เสนจันทฒิไชย (เจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการเมืองไชยบุรี นครพนม)
  • ณ ยโสธร
  • ณ จำปาศักดิ์
  • อินทร์เอี่ยม
  • อินทร์เอี่ยม ณ จำปาศักดิ์
  • ณ หนองคาย - คือ พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย) มีพระยาวุฒาธิคุณ(แพ) รับพระราชทานนามสกุล จาก ร.6
  • รักขพันธ์ ณ หนองคาย - คือ ลูกหลานพระยาวุฒาธิคุณ (แพ) ซึ่งจัดตั้งนามสกุลนี้ขึ้นมาใหม่
  • วุฒาธิวงศ์ ณ หนองคาย - คือ บุตรชายของพระยาวุฒาธิคุณ(แพ) ได้จัดตั้งใหม่ โดยนำนามของบิดาคือ พระยาวุฒาธิคุณ(แพ)มาบวกกับคำว่า อนุวงศ์
  • มหาศิริพันธุ์ - คือ พระยามหาเสนา (คง มหาศิริพันธุ์) ผู้ช่วยในการปราบกบฎฮ่อ ที่เมืองหนองคาย
  • สกุลคู - คือ ขุนพิพัฒน์โภคา (ชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งทำคุณประโยชน์แก่จังหวัดหนองคายในอดีต ตอนช่วงน้ำท่วม)
  • สกุลมีฤทธิ์ - (ผู้ที่ทำความดีความชอบผู้หนึ่ง ในเมืองหนองคายในอดีตเป็นต้นสกุล)
  • ระวิวรรณ - (ผู้ที่ทำความดีความชอบผู้หนึ่ง ในเมืองหนองคายในอดีตเป็นต้นสกุล)
  • ภมรศิริ - หลวงนครนิคมพิทักษ์
  • สุริยวงศ์ - พระปทุมสุริยวงศ์ บุตรชายคือ เจ้าคุณพระนคร มีบุตรสาวคือ สุข สุริยวงศ์ (หม่อมสุข ทองใหญ่) ซึ่งเป็นหม่อมใน กรมหลวงประจักษ์ฯ
  • สาริโก - ตระกูลพ่อค้าร่ำรวยในหัวเมืองโพนพิสัย
  • พุฒคำ - ตระกูลพ่อค้าร่ำรวยในหัวเมืองหนองค่าย
  • สิงหศิริ - พระยาสุนทรธรรมธาดา (ผู้บริหารราชการในหัวเมืองโพนพิสัย)
  • นาครทรรพ - เจ้าคุณอุ้ย นาคทรรรพ
  • วัฒนสุข - เจ้าคุณสุข วันสุข
  • สีมะสิงห์ - ขุนธนาภาลบริรักษ์ ภูไท
  • ณ อุบล- สกุลนี้สืบเชื้อสายพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ และเจ้าอุปราชธรรมเทโวแห่งนครจำปาสัก ทางฝ่ายพระมารดา สายอุปฮาด (สุดตา) และอุปฮาด (โท) ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุลสายนี้คือ พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) กรมการเมืองพิเศษเมืองอุบลราชธานีในสมัยรัชกาลที่ 5
  • สุวรรณกูฏ - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่3 บุตรของพระประทุมฯ ,พระบริคุฏคามเขต (โหง่นคำ สุวรรณกูฏ) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล
  • สิงหัษฐิต - สายนี้สืบเชื้อสายมาจากพระเกษโกมลสิงห์ขัตติยะ หลานของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล คือ พระวิภาคย์พจนกิจ (หนูเล็ก สิงหัษฐิต - บิดาของเติม วิภาคย์พจนกิจ ผู้เขียนหนังสือ ประวัติศาสตร์อีสาน)
  • ทองพิทักษ์ - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางอุปฮาด (สุดตา) พี่ชายของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) บุตรของพระประทุมฯ ท้าวไกรยราช (พู) บุตรของอุปฮาด (สุดตา) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล
  • อมรดลใจ - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระอมรดลใจ (ท้าวสุริยวงศ์ อ้ม) เจ้าเมืองตระการพืชผลคนแรก ท่านนี้เป็นบุตรพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 และเป็นเขยเจ้าครองนครจำปาสัก
  • โทนุบล - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าเมืองมหาชนะชัย (คำพูน สุวรรณกูฏ) ผู้ซึ่งเป็นบุตรของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามท้าวคำพูนว่า "พระเรืองชัยชนะ" เมืองมหาชนะชัยขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี โดยต่อมาภายหลังเมืองมหาชนะชัยได้ถูกลดฐานะเป็นอำเภอภายใต้เมืองอุบลราชธานี โดยหลวงวัฒนวงศ์ โทนุบล (โทน สุวรรณกูฏ) ผู้เป็นหลานของพระเรืองชัยชนะ เป็นนายอำเภอคนแรก
  • บุตโรบล - สายนี้สืบมาจากเจ้าราชบุตร (สุ่ย) และราชบุตร (คำ) บุตรของเจ้าสีหาราช (พลสุข) และเจ้าโครต (ท้าวโคต) ทั้งสองท่านเป็นบุตรของเจ้าพระตา และเป็นอนุชาของพระปทุมฯ ผู้รับพระราชทานสกุลคือ พระอุบลกิจประชากร (บุญเพ็ง บุตโรบล) สายสกุลนี้เป็นสายสกุลของอัญญานางเจียงคำ บุตโรบล (หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
  • ไกรศรีวรรธนะ - ต้นสกุล คือ อำมาตย์โท พระศรีทรงไชย ผู้ว่าราชการเมืองภูเวียง ร.ศ.๑๑๙ ตรงกับ พ.ศ.๒๔๔๓ ( บรรดาศักดิ์เดิม คือ ท้าวสุทธิสาร ( พร ไกรศรีวรรธนะ ) บุตรของ พระรัตนราชภักดี จางวาง ( พระศรีทรงไชย เจ้าเมืองภูเวียง )
  • วงศ์ปัดสา - สายสกุล วงศ์ปัดสา สืบสายสกุลมาจากเจ้าครองนครเขมราฐ คือพระเทพวงศา (พ่วย) ต้นปฐมสายนี้คืิอพระเทพวงศา (ก่ำ) ผู้เป็นบุตรพระวอ
  • สายสกุลทายาทเจ้าแก้วมงคล
  • ธนสีลังกูร (พระราชทาน)
  • ณ ร้อยเอ็จ (พระราชทาน)
  • ขัติยวงศ์
  • ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม (พระราชทาน)
  • สุวรรณเลิศ
  • เรืองสุวรรณ
  • เจริญศิริ
  • อัตถากร
  • รักษิกกะจันทน์ หรือ รักษิกจันทร์ (พระราชทาน)
  • รัตนะวงศะวัต (พระราชทาน)
  • รัตนวงศา
  • ประจันตเสน (พระราชทาน)
  • เสนอพระ
  • นครศรีบริรักษ์
  • อุปฮาด
  • สุนทรพิทักษ์
  • สุนทรพิพิธ
  • สุวรรณธาดา (พระราชทาน)
  • สิงหศิริ (พระราชทาน)
  • สิงคศิริ
  • สิงคสิริ
  • สิมะสิงห์
  • สิริสิงห์
  • สิระสิงห์
  • สังขศิลา
  • พิสัยพันธ์
  • พงษ์สุวรรณ
  • ไชยสุกา
  • เรืองสนาม
  • วลัยศรี
  • แสงสุระ
  • รักษาเมือง
  • พิทักษ์เขื่อนขันธุ์
  • วรฉัตร
  • วงศ์ณรัตน์
  • อ้างอิง "คลิกดูแหล่งที่มาสายสกุลทายาทเจ้าแก้วมงคล"