3.2 สิทธิและการคุ้มครองผลงาน

สิทธิและการคุ้มครองผลงาน

              เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้ถึงแนวทางการสร้างประโยชน์จากผลงานแล้ว สิ่งที่ควรนึกถึงต่อมาคือการให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผลงานต่าง ๆ ซึ่งจัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้สร้างด้วย โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้แบ่งทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property : IP) ออกแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial property)  และลิขสิทธิ์ (Copyright)

         นักเรียนสามารถศึกษาถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property : IP) รวมทั้งสิทธิและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อจำกัดต่าง ๆ ได้จากเอกสาร

4_05ทรัพย์สินทางปัญญา.pdf

สิทธิและการคุ้มครองผลงาน 1 : สิทธิบัตรการประดิษฐ์

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (invention patent) คือ การให้ความคุ้มครองการคิดค้นเกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การเก็บรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ 

สิทธิและการคุ้มครองผลงาน 2 : สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (design patent) คือ การให้ความคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรมได้ และแตกต่างไปจากเดิม

ศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมของความรู้พื้นฐานได้จากวีดิทัศน์ตัวอย่างการสอนเนื้อหาและกิจกรรมในห้องเรียนต่อไปนี้

สิทธิและการคุ้มครองผลงาน 3 : อนุสิทธิบัตร

อนุสิทธิบัตร (petty patent) คือ การให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์ ซึ่งเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การรักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น กลไกของเครื่องยนต์ ยารักษาโรค วิธีการในการเก็บรักษาพืชผัก ผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป