บทที่ 2 โครงงานกับการแก้ปัญหา


การเขียนเค้าโครงโครงงาน

ชื่อโครงงาน

ชื่อโครงงานควรเป็นข้อความที่กระชับ ชัดเจน สื่อความหมายตรงประเด็น เฉพาะเจาะจงและสอดคล้องกับ แนวทางการเลือกวิธีการแก้ปัญหา

รายชื่อคณะผู้ทำโครงงาน

       ชื่อนักเรียน

ชื่อครูที่ปรึกษา
      ชื่อครู

ที่มาและความสำคัญ (หน้า 39)

      นำข้อมูลจากขั้นระบุปัญหาในกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งประกอบด้วยระบุปัญหาจากสถานการณ์ปัญหา วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เพื่อตัดสินใจเลือก

ปัญหาจากสถานการณ์ แล้วกำหนดกรอบแนวคิดและขอบเขตของปัญหา ในการเขียนที่มา

และความสำคัญควรมีส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

        1) ส่วนนำหรือภาพรวม 2) เนื้อหา 3) ส่วนสรุปถึงแนวทางการเลือกปัญหา กรอบแนวคิดและขอบเขตของปัญหา โดยเขียนเนื้อหาทั้งหมดเป็นความเรียง

จุดประสงค์ของโครงงาน

เขียนจุดประสงค์ให้สอดคล้องกับแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งต้องเขียนให้ชัดเจนและตรงประเด็นกับปัญหา

  1.เพื่อ.......

  2.เพื่อ.......

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (หน้า 39)

       นำข้อมูลและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี หรือศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา แนวทางการแก้ปัญหาซึ่งได้ดำเนินการในขั้นรวบรวมข้อมูล มาประเมินความเป็นไปได้    ข้อดีและข้อจำกัด นำไปสู่การเลือกแนวทางแก้ปัญหา เพื่อการพัฒนาหรือออกแบบวิธีการ

แก้ปัญหา

แผนผัง หรือภาพร่างของแนวทางแก้ปัญหาและวิธีดำเนินงาน (หน้า 51)

ผลที่ได้จากการดำเนินงานในขั้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหา อาจเป็นภาพร่างหรือภายฉายของชิ้นงานที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาพร้อมรายละเอียดขั้นตอนในการสร้าง หรือแผนผังแสดง

ลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหา โดยระบุชนิดและจำนวนของวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้

แผนดำเนินงานและงบประมาณ (หน้า 55)

นำเสนอขั้นตอนในการดำเนินงานซึ่งมีกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาเสร็จของงานในแต่ละขั้นตอน และงบประมาณที่ใช้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

นำเสนอสิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากผลของการดำเนินโครงงาน

   1.สามารถ/ได้.......

   2.สามารถ/ได้.......

บรรณานุกรม

เอกสารที่ใช้เป็นข้อมูล โดยเขียนอ้างอิงตามหลักการเขียนบรรณานุกรม