STEM Challenge

ที่มาและความสำคัญ

STEM Challenge เป็นกิจกรรมการแข่งขันแก้ปัญหาภายใต้ข้อจำกัดโดยการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ ความคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิทยาศาสตร์ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น นับเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อันจะทำให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้

กิจกรรม STEM Challenge มีจุดเริ่มต้นจากกิจกรรม Problem solving ในรายวิชาฟิสิกส์ ซึ่งต้องการให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในรายวิชามาแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน อันเป็นการฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ ซึ่งจัดเป็นกิจกรรมการแข่งขันในระดับชั้นเดียวกัน ต่อมา นโยบายการศึกษาของชาติให้ความสำคัญกับ STEM education เป็นพิเศษ โรงเรียนจึงพัฒนาหลักสูตรให้มีรายวิชา ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และการบูรณาการความรู้ เพื่อฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะด้านนวัตกรรมและสามารถแก้ปัญหาโดยการบูรณาการความรู้ได้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของกิจกรรม STEM Challenge โดยนับผลงานการแก้ปัญหา STEM Challenge เป็นส่วนหนึ่งของการวัดและประเมินผลของรายวิชาด้วย จึงเป็นการบูรณารายวิชากับกิจกรรม แต่ยังไม่ได้นับเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ในหลักสูตรปี 2562 โรงเรียนเห็นว่า กิจกรรม STEM Challenge เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ และช่วยพัฒนาทักษะผู้เรียนในหลายด้าน จึงได้กำหนดให้เป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีเกณฑ์ขั้นต่ำ รวม 30 ชั่วโมง ตลอดหลักสูตร (ปีการศึกษาละ 10 ชั่วโมง)

จุดมุ่งหมายเฉพาะ

เพื่อฝึกทักษะการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหาภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ และฝึกการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น

รูปแบบ/รายละเอียดของกิจกรรม

  • การแข่งขัน แบ่งออกเป็นระดับชั้น ม.4 ม.5 และ ม.6

  • แต่ละระดับชั้นจะได้รับโจทย์/ปัญหาของการแข่งขันที่แตกต่างกัน

  • การแก้ปัญหาเป็นการทำงานร่วมกันของห้อง เพื่อสร้าง/ประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับแก้ปัญหาของการแข่งขัน ซึ่งทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการทำงาน

  • การตัดสินผลการแข่งขัน พิจารณาจากคะแนนการแข่งขันของแต่ละห้องในระดับชั้นเดียวกัน เพื่อให้รางวัลพิเศ