แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
สําหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2566


ระหว่างวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง วันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2566

ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแห่งครู ไม่มีวิทยฐานะ
ซึ่งเป็นตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 15 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

1.1.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.1.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

1.1.3 ส่งเสริมวิชการ ชุมนุม A - MATH ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน  50 นาที/สัปดาห์

1.1.4 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลูกเสือ - เนตรนารี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3     จำนวน  50 นาที/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 11 ชั่วโมง 10 นาที/สัปดาห์

1.2.1 PLC กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์

1.2.2 PLC ฝ่ายบริหาร จำนวน 3 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

1.2.3 PLC วิชาการ จำนวน 3 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

1.2.4 งานตรวจการบ้าน/งานที่ปรึกษา/งานโฮมรูมจำนวน  2 ชั่วโมง/สัปดาห์  

1.2.5 ระบบดูแล จำนวน  50  นาที/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 30 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3.1 ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ จำนวน  12  ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3.2 หัวหน้าานเอกสารสิ่งพิมพ์ จำนวน  8  ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3.3 หัวหน้างานรับสมัครนักเรียน  จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3.4 งานสวัสดิการโรงเรียน  จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน  -  ชั่วโมง/สัปดาห์

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 15 ชั่วโมง 50 นาที/สัปดาห์ดังนี้

1.1.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์

1.1.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์

1.1.3 ส่งเสริมวิชการ ชุมนุม A - MATH ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน  50 นาที/สัปดาห์

1.1.4 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลูกเสือ - เนตรนารี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3     จำนวน  50 นาที/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 11 ชั่วโมง 10 นาที/สัปดาห์

1.2.1 PLC กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์

1.2.2 PLC ฝ่ายบริหาร จำนวน 3 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

1.2.3 PLC วิชาการ จำนวน 3 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

1.2.4 งานตรวจการบ้าน/งานที่ปรึกษา/งานโฮมรูมจำนวน  2 ชั่วโมง/สัปดาห์  

1.2.5 ระบบดูแล จำนวน  50  นาที/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 30 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3.1 ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ จำนวน  12  ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3.2 หัวหน้าานเอกสารสิ่งพิมพ์ จำนวน  8  ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3.3 หัวหน้างานรับสมัครนักเรียน  จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3.4 งานสวัสดิการโรงเรียน  จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน  -  ชั่วโมง/สัปดาห์

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

        ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการ คือ การแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิด  การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น

         ทั้งนี้ ผู้จัดทำข้อตกลงขอเสนอประเด็นท้าทายที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่า ตำแหน่ง ครู  คือ การแก้ไขปัญหา

 

ประเด็นท้าทาย เรื่อง แก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วงกลม โดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการสอนแบบระดมสมอง เพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา
ค 23102 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี

 

       1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

       หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ได้กำหนดคุณภาพของผู้เรียนที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ไว้ว่าจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระวิชาคณิตศาสตร์มีทักษะกระบวนการ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ มีความตระหนักในคุณค่าของวิชาคณิตศาสตร์และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

       ผู้จัดทำข้อตกลงในฐานะที่เป็นครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในรายวิชาคริตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ปฏิบัติการสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จากการศึกษาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งในระดับชั้นเรียน ระดับรายวิชา ระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับสถานศึกษา และระดับชาติ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ต่ำ ลงโดยเฉพาะในสาระการเรียนรู้เรื่อง วงกลม ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์/ค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ แสดงให้เห็นว่ามีปัญหาการเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาเรื่อง วงกลม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23102 ผู้จัดทำข้อตกลงได้พิจารณาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น พบว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจาก การวิเคราะห์จากรูป และการคำนวณ ซึ่งหากปัญหาเช่นนี้หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือพัฒนาจะก่อให้เกิดผลเสียต่อประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ในรายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23102  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้คุณภาพผู้เรียนไม่บรรลุเป้าหมายตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และค่าเป้าหมายในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ได้กำหนดไว้

จากปัญหาข้างต้น ผู้จัดทำข้อตกลงได้ทำการศึกษาวิธีการแก้ปัญหาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า สื่อการสอนเป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ใน การแก้ไขปัญหา คุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนได้ เพื่อให้การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในรายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23102  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3       มีคุณภาพตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติหรือคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ รวมถึงสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตลอดจนเพื่อให้เป็นไปตามค่าเป้าหมายในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ได้กำหนดไว้

       ผู้จัดทำข้อตกลง จึงขอเสนอประเด็นท้าทายที่แสดงให้เห็นถึงสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการ เรื่อง การแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วงกลม โดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการสอนแบบระดมสมอง เพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

 

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

จากการที่ผู้จัดทำข้อตกลงได้เสนอประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง วงกลม โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะและเทคนิคการสอนแบบระดมสมอง เพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยวิธีการดำเนินการตามประเด็นท้าทายดังกล่าวให้บรรลุผลตามข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ผู้จัดทำข้อตกลงได้ดำเนินการตามกระบวนการคุณภาพ PDCA ดังนี้

 

ขั้นวิธีการดำเนินการระยะเวลา

Plan

1. สร้างและพัฒนาหลักสูตรรายวิชาโดยวิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551             (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี เพื่อนำไปจัดทำรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน และจัดทำหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วงกลม โดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะและเทคนิคการสอนแบบระดมสมอง เพื่อยกผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา
ค 23102 ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา นักเรียนและท้องถิ่น  ตุลาคม 2565

Plan

 2. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ โดยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ ตลอดจนสร้าง/พัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และสร้าง/พัฒนาเครื่องมือการวัดและประเมินผลโดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง วงกลม และ เทคนิคการสอนแบบระดมสมอง เพื่อยกผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23102

 3. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของกลุ่มคณิตศาสตร์เพื่อร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหาและจุดประสงค์   การเรียนรู้ ในด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนรู้ที่เป็นนวัตกรรม และเครื่องมือการวัดและประเมินผล พร้อมทั้งนำข้อเสนอแนะจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาพัฒนาและปรับปรุงให้เกิดความสมบูรณ์ก่อนนำไปใช้

 

Do

4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ ในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ดำเนินการใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง วงกลม เพื่อยกผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23102 ในรูปแบบ Onsite โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับผลที่ได้จากการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ตลอดจนบริบทของโรงเรียนและเปิดชั้นเรียนให้สมาชิกในกลุ่ม PLC ได้เข้าร่วมสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันแล้วสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ของครู     มกราคม 2566

Check

5. วัดและประเมินผลการเรียนรู้หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ โดยจัดทำสารสนเทศข้อมูล ให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อให้นักเรียนปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองให้นักเรียนพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 

 

Act

6. บันทึกผลการเรียนรู้ สรุปผลการวัดและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนใน
ภาคเรียน/ปีการศึกษาต่อไป

 7. รายงานผลการดำเนินการตามข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา    กันยายน 2566

 

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

       3.1 เชิงปริมาณ

             3.1.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 90 คน ที่เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23102 ได้รับการแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วงกลม โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะและเทคนิคการสอนแบบระดมสมอง ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในระดับ 2 ร้อยละ 60 ขึ้นไป  

       3.2 เชิงคุณภาพ

3.2.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 90 คน ที่เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 23102  มีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา  คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตรสูงขึ้น       

               3.2.2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 90 คน ที่เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 23102  ได้รับการแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วงกลม

               3.2.3 ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วงกลม โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะและเทคนิคการสอนแบบระดมสมอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 23102  ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการแก้ไขปัญหาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ตลอดมีแรงบันดาลใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้


ผลลัพธ์จากการเรียนรู้ของนักเรียน

ผลการทดสอบก่อนเรียน

ผลการทดสอบหลังเรียน

สรุปผลการประเมิน

เชิงปริมาณ

      นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23102 ได้รับการแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วงกลม โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะและเทคนิคการสอนแบบระดมสมอง ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในระดับ 2 ได้ร้อยละ 64.73

เชิงคุณภาพ

1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 23102  มีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา  คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตรสูงขึ้น       

   2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 23102  ได้รับการแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วงกลม

   3. มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วงกลม โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะและเทคนิคการสอนแบบระดมสมอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 23102  ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการแก้ไขปัญหาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ตลอดมีแรงบันดาลใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

เอกสารบันทึกข้อตกลงในการพัฒนางาน