แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
สําหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่ง ครู วิทยฐานะ -
ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2565


ระหว่างวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึง วันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2565

ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแห่งครู ไม่มีวิทยฐานะ ซึ่งเป็นตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

 1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 17 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์ดังนี้

      1.1.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

      1.1.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

      1.1.3 กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์

      1.1.4 ส่งเสริมวิชการ ชุมนุม A - MATH ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6     จำนวน  50 นาที/สัปดาห์

      1.1.5 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลูกเสือ - เนตรนารี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3     จำนวน  50 นาที/สัปดาห์

   1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน  4 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์

1.2.1 PLC กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์

  1.2.2 งานตรวจการบ้าน/งานที่ปรึกษา/งานโฮมรูม จำนวน  2 ชั่วโมง/สัปดาห์  

  1.2.3 ระบบดูแล จำนวน  50  นาที/สัปดาห์

   1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน  30 ชั่วโมง/สัปดาห์

    1.3.1 ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ จำนวน  12  ชั่วโมง/สัปดาห์

  1.3.2 หัวหน้าานเอกสารสิ่งพิมพ์ จำนวน  8  ชั่วโมง/สัปดาห์

  1.3.3 หัวหน้างานรับสมัครนักเรียน จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

  1.3.4 งานสวัสดิการโรงเรียน จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

  1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน  -  ชั่วโมง/สัปดาห์

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 15 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

      1.1.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

      1.1.3 กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

      1.1.4 ส่งเสริมวิชการ ชุมนุม A - MATH ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6     จำนวน  50 นาที/สัปดาห์

      1.1.5 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลูกเสือ - เนตรนารี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3     จำนวน  50 นาที/สัปดาห์

   1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน  4 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์

1.2.1 PLC กลุ่มสาระการเรียนรู้   จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์

  1.2.2 งานตรวจการบ้าน/งานที่ปรึกษา/งานโฮมรูม จำนวน  2 ชั่วโมง/สัปดาห์  

  1.2.3 ระบบดูแล จำนวน  50  นาที/สัปดาห์

   1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน  30 ชั่วโมง/สัปดาห์

    1.3.1 ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ จำนวน  12  ชั่วโมง/สัปดาห์

  1.3.2 หัวหน้าานเอกสารสิ่งพิมพ์ จำนวน  8  ชั่วโมง/สัปดาห์

  1.3.3 หัวหน้างานรับสมัครนักเรียน จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

  1.3.4 งานสวัสดิการโรงเรียน จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

  1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน  -  ชั่วโมง/สัปดาห์

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

       ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู ยังไม่มีวิทยฐานะ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะ ยังไม่มีวิทยฐานะ คือ การแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิด  การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น

       ทั้งนี้ ผู้จัดทำข้อตกลงขอเสนอประเด็นท้าทายที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่า ตำแหน่ง ครู  คือ การแก้ไขปัญหา

 

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจเรื่องพื้นที่ผิว และปริมาตร เพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาคณติศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23101 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี

 

     1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

       หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ได้กำหนดคุณภาพของผู้เรียนที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ไว้ว่าจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระวิชาคณิตศาสตร์มีทักษะกระบวนการ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ มีความตระหนักในคุณค่าของวิชาคณิตศาสตร์และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

       ผู้จัดทำข้อตกลงในฐานะที่เป็นครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในรายวิชาคริตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ปฏิบัติการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จากการศึกษาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งในระดับชั้นเรียน ระดับรายวิชา ระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับสถานศึกษา และระดับชาติ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ต่ำ ลงโดยเฉพาะในสาระการเรียนรู้เรื่อง พื้นที่ผิว และปริมาตร ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์/ค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ แสดงให้เห็นว่ามีปัญหาการเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาเรื่อง พื้นที่ผิว และปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23101 ผู้จัดทำข้อตกลงได้พิจารณาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น พบว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจาก การวิเคราะห์จากรูป และการคำนวณ ซึ่งหากปัญหาเช่นนี้หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือพัฒนาจะก่อให้เกิดผลเสียต่อประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ในรายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23101  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้คุณภาพผู้เรียนไม่บรรลุเป้าหมายตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และค่าเป้าหมายในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ได้กำหนดไว้

จากปัญหาข้างต้น ผู้จัดทำข้อตกลงได้ทำการศึกษาวิธีการแก้ปัญหาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า สื่อการสอนเป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ใน การแก้ไขปัญหา คุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนได้ เพื่อให้การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในรายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23101  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคุณภาพตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติหรือคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ รวมถึงสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตลอดจนเพื่อให้เป็นไปตามค่าเป้าหมายในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ได้กำหนดไว้

       ผู้จัดทำข้อตกลง จึงขอเสนอประเด็นท้าทายที่แสดงให้เห็นถึงสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งครู วิทยฐานะ - เรื่อง การแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจเรื่องพื้นที่ผิว และปริมาตร เพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

 

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

     จากการที่ผู้จัดทำข้อตกลงได้เสนอประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจเรื่องพื้นที่ผิว และปริมาตร เพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยวิธีการดำเนินการตามประเด็นท้าทายดังกล่าวให้บรรลุผลตามข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผู้จัดทำข้อตกลงได้ดำเนินการตามกระบวนการคุณภาพ PDCA ดังนี้  

 

ขั้น วิธีการดำเนินการ ระยะเวลา

Plan

1. สร้างและพัฒนาหลักสูตรรายวิชาโดยวิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี เพื่อนำไปจัดทำรายวิชาคณิตศซาสตร์พื้นฐาน และจัดทำหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง พื้นมี่ผิว และปริมาตรโดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง พื้นที่ผิว และปริมาตร และ GPAS 5 Steps เพื่อยกผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23101ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา นักเรียนและท้องถิ่น      ตุลาคม 2564


Plan

 2. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ โดยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ ตลอดจนสร้าง/พัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และสร้าง/พัฒนาเครื่องมือการวัดและประเมินผลโดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง พื้นที่ผิว และปริมาตร และ GPAS 5 Steps เพื่อยกผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23101

 3. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของกลุ่มคณิตศาสตร์เพื่อร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหาและจุดประสงค์   การเรียนรู้ ในด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนรู้ที่เป็นนวัตกรรม และเครื่องมือการวัดและประเมินผล พร้อมทั้งนำข้อเสนอแนะจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาพัฒนาและปรับปรุงให้เกิดความสมบูรณ์ก่อนนำไปใช้

 

Do

4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ ในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ดำเนินการใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง พื้นที่ผิว และปริมาตร เพื่อยกผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23101 ในรูปแบบ Onsite / Online / On Air / On Demand / On Hand โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับผลที่ได้จากการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ตลอดจนบริบทของโรงเรียนและเปิดชั้นเรียนให้สมาชิกในกลุ่ม PLC ได้เข้าร่วมสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันแล้วสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ของครูพิจารณาว่านำไปใช้สอนจริงในเทอม 1/2565


Check

5. วัดและประเมินผลการเรียนรู้หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ โดยจัดทำสารสนเทศข้อมูล ให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อให้นักเรียนปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองให้นักเรียนพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 

 

Act

6. บันทึกผลการเรียนรู้ สรุปผลการวัดและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนในภาคเรียน/ปีการศึกษาต่อไป

 7. รายงานผลการดำเนินการตามข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา      กันยายน 2565

 

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

       3.1 เชิงปริมาณ

             3.1.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 90 คน ที่เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23101 ได้รับการแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจ เรื่อง พื้นที่ผิว และปริมาตรโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ และ GPAS 5 Steps ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในระดับ 2 ร้อยละ 60 ขึ้นไป  

       3.2 เชิงคุณภาพ

3.2.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 90 คน ที่เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 23101  มีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา  คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตรสูงขึ้น       

                3.2.2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 90 คน ที่เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 23101  ได้รับการแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจ เรื่องพื้นที่ผิว และปริมาตร

            3.2.3 ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจ เรื่องพื้นที่ผิว และปริมาตรโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 23101  ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการแก้ไขปัญหาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ตลอดมีแรงบันดาลใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้


ผลลัพธ์จากการเรียนรู้ของนักเรียน

ผลการทดสอบก่อนเรียน

ผลการทดสอบหลังเรียน

สรุปผลการประเมิน

เชิงปริมาณ

      นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 23101 ได้รับการแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ และ GPAS 5 Steps ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในระดับ 2 ได้ร้อยละ 80.15

เชิงคุณภาพ

1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 23102  มีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา  คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตรสูงขึ้น       

   2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 23101  ได้รับการแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร

   3. มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ และ GPAS 5 Steps ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 23101  ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการแก้ไขปัญหาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ตลอดมีแรงบันดาลใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

เอกสารบันทึกข้อตกลงในการพัฒนางาน 

นายกิตติพงษ์ พลเจียก.pdf