ข้าวต้มมัดโบราณ ดงน้อย

ข้าวต้มมัดโบราณ ตำบลดงน้อย

ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ) 

       อันซอม เป็นขนมพื้นบ้านของชนพื้นเมืองเขมรถิ่นไทย ในพื้นที่ตำดงน้อยก็เช่นเดียวกัน โดยวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในชนบทจะวัสดุตามธรรมชาติที่อยู่รอบตัว ใช้ใบไม้ ใบของต้นกล้วย ใบมะพร้าว ดอกผล รากเหง้าของต้นไม้ มาประกอบเป็นอาหาร และเมื่อต้องการเพิ่มรสชาติ หรือสีสัน ก็ใช้ยอด ใบ ผลของพืชต่างๆ นำมาผสมปรุงแต่งให้มีรสชาติสีสัน ตามต้องการ 

ขนมพื้นบ้านไทยไม่เพียงแต่ มีรสชาติที่อร่อยกลมกล่อม หลากหลายรส แต่ยังเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของคนพื้นถิ่น ในแต่ละท้องถิ่นที่ปรุงแต่งให้เป็นอาหารพื้นบ้าน ดังเช่น อันซอม หรือข้าวต้มมัด มีลักษณะคล้ายข้าวต้มมัด หรือข้ามต้มผัดของไทยในภาคกลาง หากแต่มีความหวานน้อยกว่า มีทั้งแบบคาว คืออันซอม จรุ๊ก หรือข้าวต้มมัดไส้หมู เป็นข้าวเหนียวผสมกับถั่วลิสง เนื้อหมูและมันหมู ปรุงรสให้ออกเค็มแล้วห่อด้วยใบตอง รสเค็ม มัน กลิ่นหอมจากใบตอง แบบหวานก็จะเป็น "อันซอม เจก" หรือข้าวต้มมัดกล้วย ชาวบ้านจะใช้ใบมะพร้าวอ่อน "สะเลิกโดง" ห่อ ส่วนผสมมีข้าวเหนียวแช่น้ำไว้ ใส่เกลือเล็กน้อย มะพร้าวขูด มีใส้ข้างในทำด้วยกล้วยสุกแล้วห่อด้วยเชือกฟาง สมัยแต่ก่อนจะห่อด้วยตอกไม้ไผ่ (คนูจ)ห่อเสร็จแล้วก็นำไปต้มในหม้อใบใหญ่หรือปิ๊ปก็ได้ 

เวลารับประทานจะมีรสหวานของกล้วยสุก และ"อันซอม กบ็อง" หรือข้ามต้มด่าง ใช้ข้าวเหนียว ผสมด้วยน้ำด่าง ทำจากเปลือกนุ่นนำไปเผา (สะมอก เฎิม กัวร..) แล้วนำขี้เถ้าผสมน้ำ กรองเอาน้ำใส ห่อด้วยใบกล้วย ห่อเป็นรูปสามเหลี่ยม อันซอม เจก และอันซอม จรุ๊ก มีลักษณะเป็นท่อนยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร จะสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับความยาวของใบมะพร้าว ที่สำคัญต้องเหลือปลายของใบมะพร้าวไว้ให้ยาวพอสมควร เพื่อใช้สำหรับจับหรือมัดเป็นพวง และนำไปต้มให้สุก หากต้องการเก็บไว้นานจะนำไปปิ้งหรืออบ ก็เป็นการถนอมอาหารเก็บไว้ได้ประมาณ 1 อาทิตย์

อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น)

       อันซอม หรือข้าวต้มมัด มีลักษณะคล้ายข้าวต้มมัด หรือข้ามต้มผัดของไทยในภาคกลาง หากแต่มีความหวานน้อยกว่า มีทั้งแบบคาว คืออันซอม จรุ๊ก หรือข้าวต้มมัดไส้หมู เป็นข้าวเหนียวผสมกับถั่วลิสง เนื้อหมูและมันหมู ปรุงรสให้ออกเค็มแล้วห่อด้วยใบตอง รสเค็ม มัน กลิ่นหอมจากใบตอง แบบหวานก็จะเป็น "อันซอม เจก" หรือข้าวต้มมัดกล้วย ชาวบ้านจะใช้ใบมะพร้าวอ่อน "สะเลิกโดง" ห่อ ส่วนผสมมีข้าวเหนียวแช่น้ำไว้ ใส่เกลือเล็กน้อย มะพร้าวขูด มีใส้ข้างในทำด้วยกล้วยสุกแล้วห่อด้วยเชือกฟาง สมัยแต่ก่อนจะห่อด้วยตอกไม้ไผ่ (คนูจ)      ห่อเสร็จแล้วก็นำไปต้มในหม้อใบใหญ่หรือปิ๊ป

ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ

ชาวบ้านในตำบลใจดี นิยมห่อข้ามต้มมัดเพื่อทำบุญ ในโอกาสต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลแซนโฏนตา ชาวบ้านจะนำอันซอม ไปใช้ประกอบในพิธีกรรมแซนโฏนตา ทำบุญเดือน 10 ทำเพื่อเซ่นผีปู่ย่าตายาย ตามความเชื่อของชาวเขมร ที่ว่าเมื่อถึงเดือนเทศกาลแซนโดนตาแล้วต้องทำพิธีแซนโดนตา ถ้าใครไม่ทำพิธีนี้ผีปู่ย่าตายายจะสาปแช่งให้ทำมาหากินไม่ขึ้น อันซอม หรือข้าวต้มมัดจะเป็นส่วนหนึ่ง    

ที่จะขาดไม่ได้เพื่อประกอบพิธีกรรม แต่ละครัวเรือนจะห่อข้าวต้มมัดจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเพื่อใส่ใน บายตะเบิ๊ดตะโบร เพื่อนำไปวัด และบายเบ็ญไว้สำหรับโฎนตาที่บ้านเรือนของตน และเตรียม กันจือเบ็น(กระเชอเบ็น) ไปที่บ้านพ่อแม่ของตนหรือที่บ้านบรรพบุรุษเรียกว่า จูนกันจือเบ็น (ส่งกระเชอเบ็น) การห่อข้าวต้มมัดจำนวนมาก ส่วนใหญ่ชาวบ้านนิยมห่อเองไม่นิยมซื้อหาในตลาด การห่อข้าวต้มจะต้องช่วยกันทั้งคนเฒ่าคนแก่ และบุตรหลาน จะได้เห็นบรรยากาศการล้อมวงห่อข้าวต้มพร้อมฟังเรื่องเล่าจากคนเฒ่าคนแก่ พบปะพูดคุยกัน เป็นบรรยากาศที่อบอุ่น กว่าจะห่อข้าวต้มจนแล้วเสร็จ รอต้มข้าวต้มจนสุกใช้เวลาไม่น้อย นับเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวได้เป็นอย่างดี  

วิธีการทำ

1. แช่ข้าวเหนียวในน้ำทิ้งไว้ 1 ชม.

2. นำมะพร้าวแก่สดมาคั้น แยกน้ำและกากออก

3. เทน้ำกะทิที่ได้ใส่กระทะ ตั้งไฟอ่อน ใส่เกลือ น้ำตาล คนจะละลาย

4. ชิมรสชาติตามใจ แล้วค่อยๆใส่ข้าวเหนียวที่แช่ไว้ลงไปกวน พร้อมกับใส่ถั่วดำ

5. พอข้าวได้ที่ปิดแก๊ส

6. นำใบมะพร้าวอ่อนค่อยๆห่อแล้วนำไปต้ม หรือ นึ่ง

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวรสิกา พรหมคุณ

         ภาพถ่าย/ภาพประกอบโดย นางสาวรสิกา พรหมคุณ

                            ข้อมูล TKP อ้างอิง https://sites.google.com/dei.ac.th/tkp-dongnoi/home