ผลการปฏิบัติดีเด่นฺ

Best practice

          ผลการปฏิบัติงานที่ดี

            (Best  Practice)

                                                         (การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ)

1.BEST PRACTICE นางสาวจุฑารัตน์ ปล้องเงิน.pdf

1. ที่มาและความสำคัญของปัญหาของการทำ Best  Practice การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  “บราวนี่ เบาหนี้”

จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล การสำรวจความต้องการ การเข้าร่วมประชุมประชาคมหมู่บ้านหมู่ที่2 

บ้านเกษมสุข ตำบลเทพนิมิต อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด โดยการสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนเพื่อนำมาวางแผนจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับสภาพบริบท ศักยภาพของชุมชน ปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียนและคนในชุมชน

ซึ่งจากการประชาคมภายในหมู่บ้าน ความต้องการของประชาชน ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่ต้องทำงานเป็นแม่บ้านดูแลครอบครัว จึงต้องการฝึกอาชีพเพื่อเป็นรายได้เสริม โดยอาชีพนั้นเป็นทำเบเกอรี่ที่นิยมและสามารถจำหน่ายได้ทั้งในชุมชนและออนไลน์ได้                                                                                                                                                                                                                                                                                                    

จึงนำผลการประชาคมมาวิเคราะห์งานตามบทบาทหน้าที่และวิเคราะห์ความสอดคล้องที่เกี่ยวข้องเช่น ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี  ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. ประเด็นการพัฒนาศึกษาจังหวัดตราด ของ ศึกษาธิการจังหวัดตราด ระบบประกันคุณภาพสถานศึกษา ซึ่งจากการวิเคราะห์จะได้เห็นว่า เป็นไปตามบทบาทหน้าที่ของครู กศน. ที่จะต้องจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่องและการศึกษาตามอัธยาศัย ส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน ภายใต้การดำเนินงาน ๔ ศูนย์การเรียนรู้ ซึ่งเป็นภารกิจหลัก


วิธีการดำเนินงาน

1. ดำเนินการรายงานผลการประชาคมหมู่บ้าน เพื่อรายงานความต้องการของชุมชนบ้านเกษมสุข ตำบลเทพนิมิต อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด


 2. ดำเนินการนำความต้องการของประชาชนมาจัดทำแผนจุลภาคในการจัดการศึกษานอกระบบและการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยในรูปแบบกลุ่มสนใจ


3. ดำเนินการขออนุญาตจัดการศึกษาต่อเนื่องรูปแบบกลุ่มสนใจหลักสูตรการทำ เบเกอรี่จำนวน 30 ชั่วโมง

4. ดำเนินการขออนุมติหลักสูตรเบเกอรี่จำนวน 30 ชั่วโมง


5. ดำเนินการจัดหาวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านในการทำเบเกอรี่


6. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเขาสมิงดำเนินการแต่งตั้งวิทยากรการศึกษาต่อเนื่อง


7. จัดกิจกรรมโครงการการทำเบเกอรี่ (คุกกี้,บราวนี่)  โดยวิทยากรบรรยายให้ความรู้เรื่องการประกอบอาชีพการทำ

เบเกอรี่ (คุกกี้,บราวนี่) การสาธิตและให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ โดยเน้นการผลิตที่มีคุณภาพ สะอาด ถูกสุขลักษณะและ

สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้ซื้อ ให้มีทางเลือกที่หลากหลาย และสามารถจัดจำหน่ายได้หลายช่องทาง


8. วิทยากรบรรยายให้ความรู้และให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ การบัญชีรายการสินค้า บัญชีรายรับ รายจ่ายเพื่อให้รู้ต้นทุน กำไร และสามารถวางแผนการดำเนินงานได้


9.ปลูกฝังจิตสำนึกโดยครูเพิ่มเติมความรู้ในการรักและเห็นคุณค่าของทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรในท้องถิ่น ลดรายจ่าย แบ่งปันและพึ่งพาตนเองได้


3.ผลการดำเนินงาน

                         ซึ่งจากการจากการติดตามประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการพบว่า ผู้เรียนสามารถนำความรู้จากโครงการการทำเบเกอรี่ (คุกกี้,บราวนี่)ไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้ โดยการจำหน่ายในชุมชนและการจำหน่ายทางออนไลน์ได้


4.การพัฒนาอาชีพเพื่อต่อยอด

1.ได้จัดทำโครงการการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล(การเข้าใจดิทัลชุมชน/การค้าออนไลน์) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดิจิทัลและการการค้าออนไลน์ และเพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ ความเข้าใจไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต

2.ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการทางกฏหมายออนไลน์ 

3.ผู้เรียนได้เรียนรู้การสร้างโลโก้ผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างจุดเด่น

3.ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการการสร้างเพจ  การเพิ่มยอดขายสู่ตลาดออนไลน์

ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

               1 การมีส่วนร่วมของครู ผู้เรียน และชุมชนในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ทำให้รู้สภาพปัญหา และความต้องการพัฒนาชุมชนของตนเองให้ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้

            2 การนำเอาวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนทรัพยากรในชุมชน เป็นองค์ความรู้พื้นฐานในการต่อยอดความรู้ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

            3 โครงการฝีกอาชีพระยะสั้น โครงการการทำเบเกอรี่ (คุกกี้,บราวนี่) ครั้งนี้ ดำเนินการตามแนวทางวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Demming Cycle : PDCA) ซึ่งเป็นการดำเนินการอย่างเป็นระบบ สามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์สภาพ ปัญหา ความต้องการของชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของครู ผู้เรียน ชุมชน รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการวางแผนและออกแบบกิจกรรมของครู ผู้เรียน ชุมชน ตลอดจนมีการติดตามประเมินผลทุกขั้นตอน จึงทำให้สามารถพัฒนาผู้เรียนทั้งสองกลุ่มได้บรรลุตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ


ภาพประกอบ