วัดนางเกิ้ง (ร่องห้า)

     

แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

ชื่อวัด : วัดนางเกิ้ง

ประเภทวัด : วัดราษฎร์/พัทธสีมา

ที่ตั้ง 78 หมู่ที่ 4 บ้านร่องห้า ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

พระครูโกศลบุญนิวิฐ เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นเอก จร .ชอ. 

รองเจ้าคณะตำบลท่าตุ้ม เจ้าอาวาสวัดนางเกิ้ง 

วัดนางเกิ้ง  ตั้งอยู่เลขที่ 78  บ้านร่องห้า หมู่ที่ 4 ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน  วัดนางเกิ้งเป็นวัดขนาดเล็กตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน  จากการสอบถาม ตามประวัติเล่าว่า วัดนางเกิ้ง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2375 ตามประวัติวัดแจ้งว่าเมื่อครั้งที่พระนางเจ้าจามเทวีได้ขึ้นครองนครลำพูน การคมนาคมในสมัยนั้นไม่ค่อยเจริญจะต้องเดินทางด้วยเท้า ล่องเรือล่องแพ และผ่านป่าดงซึ่งมีสัตว์ดุร้ายและอันตรายมากมาย พระนางประสงค์ที่จะทำการสร้างเมืองลำพูน และได้มาหยุดพักที่บ้านศรีชุม ได้หันพระพักตร์ และยกพระหัตถ์ขึ้นป้อง (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่าเกิ้งหน้า) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างวัดขึ้น ณ ที่นั้นเพื่อเป็นสักขีพยานว่า  พระนางเจ้าจามเทวีได้เคยมาที่แห่งนี้แล้ว  และให้เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนให้สืบพระศาสนาต่อไป  และแต่นั้นมาไม่นานวัดนี้ ได้ชื่อว่า วัดนางเกิ้ง ชาวบ้านเรียกว่าวัดร่องห้า ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2385

รูปปั้นตำนานพระนางเจ้าจามเทวี ปางนางเกิ้ง

 บริเวณหน้าประตูวัด

         ภาพถ่ายโดย นางสาวอรพินธ์ ไชยยอง

     ที่มา : หนังสือพุทธจักร(ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร)                          เล่ม9 กรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

             ภาพถ่ายโดย นางสาวอรพินธ์ ไชยยอง


จุดที่หนึ่ง สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดแห่งนี้ เริ่มที่อนุสาวรีย์พระนางเจ้าจามเทวี ที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าวัด เป็นอนุสาวรีย์พระนางเจ้าจามเทวี ที่เราไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก เนื่องจากอนุสาวรีย์ดังกล่าว มีลักษณะที่พระองค์ได้หันพระพักตร์ และยกพระหัตถ์ขึ้นป้อง (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่าเกิ้งหน้า) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากอนุสาวรีย์ตรงนี้แล้ว ตรงประตูทางเข้าวัดก็มีรูปปูนปั้นเล็กลักษณะเดียวกันด้วย

ด้านหน้ากำแพงวัดอีกฝั่ง มีพระเจ้าทันใจ พระพุทธรูปที่สามารถสร้างเสร็จภายใน 1 วัน พุทธศาสนิกชนจึงเชื่อว่ามีพระพุทธานุภาพ ที่จะสามารถบันดาลให้เกิดโชคลาภและความสมปรารถนาได้ทันอกทันใจเมื่ออธิษฐานขอพรและมีพระพุทธไสยาสน์แสนสุขประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้ากำแพงวัดอีกด้วย



พระเจ้าทันใจ   พระพุทธไสยาสน์แสนสุข และ อนุสาวรีย์พระนางเจ้าจามเทวี

                                                  ภาพถ่ายโดย นางสาวอรพินธ์ ไชยยอง

จุดที่สองจากนั้นเข้ามาด้านในมีเจดีย์ทรงปราสาท คล้ายรูปทรงปราสาทหรือที่อยู่ของกษัตริย์ เจดีย์รูปทรงนี้เชื่อว่าพัฒนาการมาจากเจดีย์ทรงศิขรของอินเดีย ในช่วงต้นของวัฒนธรรมล้านนา นิยมสร้างเจดีย์ทรงปราสาทที่มีการซ้อนชั้นมีซุ้มประดิษฐานโดยรอบทุกชั้น ตัวอย่างเช่นเจดีย์เหลี่ยมที่วัดจามเทวี และเจดีย์เหลี่ยมที่วัดพระธาตุหริภุญไชย จ.ลำพูน เป็นต้น ต่อมาจึงพัฒนาการเป็นเจดีย์ทรงปราสาทที่มีเรือนธาตุและมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปภายในชั้นเดียว และมีส่วนยอดทำเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็กซ้อนชั้นขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์ทรงปราสาทล้านนา


นอกจากนี้มีอาคารเสนาสนะประกอบอื่นๆ ที่เหลือ มีอุโบสถทรงล้านนา  วิหารล้านนา กุฏิสงฆ์และศาลาอเนกประสงค์ ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูป ซึ่งเป็นพระประธานภายในพระวิหารของวัด


เจดีย์ทรงปราสาท คล้ายรูปทรงปราสาทหรือที่อยู่ของกษัตริย์

มีลักษณะคล้ายกับพระบรมธาตุหริภุญชัย( เจดีย์เหลี่ยม)ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยังหวัดลำพูน 


จุดที่สาม. จะเป็นที่ตั้งของพระวิหารโดยทางขึ้นจะเป็นบันไดนาคขดถูกมังกรคาบ เราจะสังเกตเห็นว่าในวัดมีการสร้างพญานาคไม่ว่าจะเป็นทางขึ้นวิหาร ศาลา อาคารเสนาสนะต่าง ๆ ซึ่งแท้จริงแล้วชาวพุทธมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของพญานาคว่าเป็นสัตว์ที่มีอิทธิฤทธิ์โดยเห็นได้จากตำนานเมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์พระองค์ได้ทรงเสวยวิมุติสุขเป็นเวลา 7 วันโดยมีพระยา มุจรินท์ พญานาคทรงแผ่พังพานป้องกันแดด ฝน มิได้ตกมากระทบพระวรกายของพระองค์  เป็นต้นหรืออีกหลาย ๆ ช่วงตอนพญานาคจะมีความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ เช่น ตำนานของการบวชนาค เป็นต้น จึงน่าจะถือว่านาคมีความเกี่ยวข้อง และอยู่คู่กับพระพุทธศาสนามาเนิ่นนาน เราสามารถเข้าไปกราบขอพรพระประธานในพระวิหารได้

            พระวิหาร  บันไดนาคดถูกมังกรคาบ

         ภาพถ่ายโดย นางสาวอรพินธ์ ไชยยอง

               พระวิหาร  บันไดนาคขดถูกมังกรคาบ

             ภาพถ่ายโดย นางสาวอรพินธ์ ไชยยอง

จุดที่สี่ พระอุโบสถมีลวดลายปูนปั้นประดับสวยงามทางขึ้นจะเป็นบันไดนาคสีขาว (เก่ามาก) สำหรับอุโบสถนี้จะใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานอุปสมบท (บวชพระ) สวดปาฏิโมกข์ เป็นต้นก็จะใช้พื้นที่ภายในพระอุโบสถ ซึ่งทางภาคเหนือถือว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ (ห้ามผู้หญิงเข้า) 

ระอุโบสถมีลวดลายปูนปั้นทางขึ้นเป็นบันไดนาค

สีขาว (เก่ามาก)  อุโบสถเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ห้ามผู้หญิงเข้า

    ภาพถ่ายโดย นางสาวอรพินธ์ ไชยยอง

จุดที่ห้า หอระฆังหอระฆัง เป็นหอสูง 2 ชั้นประดับด้วยลวดลายดอกที่ทำมาจากเกร็ดแก้วหลายสีห้าจั่วประดับด้วยปูนปั้นเป็นตัวพญานาคสีทอง และด้านบนสุดจะมีฉัตรสีทองประดับสวยงามมากเป็นหอระฆังนี้ใช้สำหรับตีบอกเวลา เช่น ในช่วงเช้ามือเพื่อเป็นการปลุกให้พระภิกษุสามเณรได้ตื่นเพื่อเตรียมตัวปฏิบัติกิจของสงฆ์ (ทำวัตร สวดมนต์ ออกบิณฑบาตร เป็นต้น) หรือเพื่อบอกถึงเวลาแต่ละขณะหรือในบางครั้งหากมีภัยก็จะมีการส่งสัญญาณโดยการตีระฆังบอกถึงเหตุหรือภัยนั้นก็ได้ (ในอดีตจะใช้เยอะแต่ปัจจุบันความสำคัญค่อนข้างลดลงเพราะมีนาฬิกา) 

         ภาพถ่ายโดย นางสาวอรพินธ์ ไชยยอง

จุดสุดท้าย  พระเจดีย์ทองเป็นพระเจดีย์สีทองทั้งองค์ด้านบนจะเป็นเหมือนระฆังคว่ำปลายปนสุดมียอดฉัตรสวยงาม ประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวถ้ามาถึงบริเวณวัดจะต้องมากราบไหว้ขอพร และจะมีประเพณีสรงน้ำพระ ตรงกับวัน ขึ้น 8 ค่ำ เดือนแปด (8) ของทุกปี

บราณสถานและโบราณวัตถุ ภายในบริเวณวัดนางเกิ้ง(ร่องห้า) และบริเวณลานอนุสาวรีย์พระนางเจ้าจามเทวี ปางนางนางเกิ้งที่สวยงามและศักดิ์สิทธิ์ อีกแห่งหนึ่งของอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

อ้างอิง

บุคคลอ้างอิง    : พระครูโกศลบุญนิวิฐ  เจ้าอาวาส วัดนางเกิ้ง (ร่องห้า)

ข้อมูลอ้างอิง   :  https://creators.trueid.net/@24752   

ด               https://creators.trhttps://creators.trueid.net/@24752ueid.net/@24752 

ผู้เรียบเรียง /ข้อมูลเนื้อหา บทความ /ถ่ายภาพ

ปรับปรุงเนื้อหาล่าสุ  : 19  มิถุนายน 2566

นางสาวอรพินธ์  ไชยยอง  ครูกศน.ตำบลท่าตุ้ม