พิธีปู่จาข้าวลดเคราะห์

พิธีปู่จาข้าวลดเคราะห์


“ปู่จา” เป็นภาษาเมืองล้านนา แปลเป็นภาษากลางว่า “บูชา” คือ การแสดงความเคารพด้วยเครื่องสักการะ ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใส “ข้าวลดเคราะห์” คือ การทำพิธีทางความเชื่อโดยการใช้ข้าวเพื่อทำพิธีสะเดาะเคราะห์หรือลดเคราะห์ให้หายไป พิธีปู่จาข้าวลดเคราะห์ ในโบราณชาวล้านนาเชื่อกันว่าเป็นพิธีกรรมการบูชาข้าวเพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้า และขอพรจากพระพุทธเจ้าพึงเอาบุญคุณแก้ว 3 ประการ (พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์) อันมีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน และอีกนัยหนึ่งก็คือการสะเดาะเคราะห์ ส่งเสริมดวงชะตาให้ดีขึ้นมักรวมไปถึงการต่ออายุ หรือแก้ไขสิ่งเลวร้ายจากหนักกลายเป็นเบา จากเบากลายเป็นหาย จากหายกลายเป็นดี และเป็นความเชื่ออีกอย่างหนึ่งในการกระตุ้นทางจิตใจทำให้คนที่ทำพิธีเกิดจิตใจที่เข้มแข็ง จึงส่งผลให้ร่างกายกลับมาสมบูรณ์เป็นปกติ การเริ่มทำบุญตั้งแต่ต้นปีก็จะสามารถเพิ่มดวง เสริมสง่าราศีให้ชีวิตมีความสุขและประสบความสำเร็จตลอดทั้งปีและตลอดไป 

ในช่วงเช้าของวันปากปีพิธีกรรมจะเริ่มต้นที่วัดของแต่ละหมู่บ้านซึ่งเรียกว่า การบูชาข้าวลดเคราะห์ เป็นการนำเอาข้าวมาปั้นเป็นก้อน จำนวน ๙ ก้อนหรือตามอายุของแต่ละบุคคล ต่อจากนั้นนำไปถวายแด่พระประธานและพระสงฆ์ในพระวิหารซึ่งบางแห่งเรียกพิธีกรรมนี้ว่าการบูชาเคราะห์ปีใหม่หรือบูชาสระเคราะห์ในบางชุมชนหรือบางหมู่บ้านจะกระทำกันที่บ้านเรือนของตนโดยมีปู่อาจารย์จะมาทำพิธีให้ที่บ้านซึ่งเป็นอันเสร็จพิธีช่วงเช้าของวันปากปีแต่บางแห่งก็ไม่มีปรากฏพิธีกรรมดังกล่าวนี้เลย 

(โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา, ๒๕๕๑, หน้า ๓๑)

      ปัจจุบันพิธีปู่จาข้าวลดเคราะห์ จะจัดขึ้นทุกในวันที่ ๑๖ หรือ ๑๗ เดือนเมษายนของทุกปี (วันปากปี) ในตอนเช้าตรู่ ช่วงเวลา ๖ โมงเช้า ชาวบ้านหรือคณะศรัทธาจะจัดเตรียมข้าวของเพื่อมาทำพิธีลดเคราะห์ โดยถือว่าวันปากปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวล้านนา ดังนั้นเพื่อความเป็นสิริมงคลในวันขึ้นปีใหม่ จึงมีการจัดพิธีกรรมที่จะปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้หมดไป และขอพรให้เกิดสิ่งดี ๆ ในปีใหม่ที่จะมาถึงนี้


สิ่งของเตรียมเข้าพิธีการ

สิ่งของเตรียมเข้าพิธีการ

อุปกรณ์ วัสดุ สื่อ วัตถุดิบ ในการประกอบพิธีกรรม

1. สะตวง จำนวน 1 ใบ ในสะตวงประกอบด้วย 

ใบก้ำใบหนุน (ต้นขนุน)  9ใบ 

ใบเดื่อเกลี้ยง ใบเดื่อป่อง ใบโชค (ต้นโชค)  9ใบ 

 ใบแก้ว (ต้นดอกแก้ว)   9ใบ 

ใบมะยม  9 ใบ 

ข้าวแต๋น 9 ชิ้น 

ข้าวเหนียว  9 ก้อน 

กล้วย 9 ชิ้น 

อ้อย 9 ชิ้น 

 ธูป 9 ดอก 

 บุหรี่ 9 มวน 

หมาก 9 คำ 

 ดอกทับทิม 9 ดอก 

ดอกไม้ 9 ดอก 

ข้าวต้มข้าวหนม 9 ชิ้น

เมี่ยง 9 คำ


2. ตะกร้าหรือถาดใส่เสื้อผ้าของทุกคนในบ้าน เท่าจำนวนสมาชิก

3. ขี้สาย (ทำจากฝ้ายสายสิญจน์ ขนาดยาวเท่ากับ 1 วาของสมาชิกในบ้านแต่ละคน วัดจากปลายนิ้วกลางข้างซ้ายจนถึงปลายสุดของนิ้วกลางข้างขวา แล้วนำไปแช่ในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำพืชไว้ 1 คืน)

4. เทียน , ไฟแช็ค และไม้สำหรับพาดขี้สาย ควรเป็นไม้เนื้อดิบเพราะจะไม่ไหม้ไฟในระหว่างเผาขี้สาย หรือฝ้ายสายสิญจน์ 

ขั้นตอนพิธีกรรม

1. เช้าวันที่ 16 เมษายน เวลาประมาณ 06.00 น. นำเสื้อผ้าและข้าวของไปวางไว้หน้าพระประธานในวิหารวัด และนำไม้ไปพาดกับกิ่งไม้ในบริเวณวัด คลี่ขี้สายออกเป็นเส้นพาดกับไม้ ให้ห่างกันประมาณ 3 นิ้ว )

2. นิมนต์พระสงฆ์จำนวน 1 รูป มัคทายกนำกล่าวสวดมนต์ไหว้พระ และอาราธนาศีล พระสงฆ์ให้ศีล มัคทายกกล่าวคำบูชาข้าวลดเคราะห์ (ในระหว่างที่กล่าวคำบูชา ชาวบ้านจะออกไปเผาขี้สายหรือฝ้ายสายสิญจน์ )

3. จุดเทียนเพื่อนำไปจุดเผาขี้สายหรือฝ้ายสายสิญจน์ ที่นำไปพาดไม้ไว้ โดยจุดจากปลายขี้สายหรือฝ้ายสายสิญจน์  เพื่อให้ไฟไหม้ขึ้นไปทางด้านบน และให้เฝ้าอยู่จนกระทั่ว เผาขี้สายหรือฝ้ายสายสิญจน์ ทุกเส้นให้หมด (นัยว่าเป็นการเผาเคราะห์ร้าย เสนียดจัญไรให้หมดไปจากตัว) เสร็จแล้วกลับไปบนวิหาร

4. จากนั้นจะนำสะตวงไปวางบนฐานกู่กุฏ แล้วจุดเทียนถวายเป็นพุทธบูชา พระสงฆ์พรมน้ำมนต์เสื้อผ้า นัยว่าเป็นการขับไล่เคราะห์ร้ายให้หมดไป แล้วพระสงฆ์ให้พร เป็นอันเสร็จพิธีสงฆ์

5. นำเสื้อผ้า ออกไปนอกบริเวณวัด ทำการสะบัดเสื้อผ้าให้หมดทุกชิ้น เพื่อให้เคราะห์ร้ายที่ยังติดมากับเสื้อผ้าให้ออกไปให้หมด ก่อนนำกลับบ้าน

พระสงฆ์สวดขณะทำพิธีกรรมปูจา เผาขี้สาย  

โดยท่านพระครูประสิทธิ์วีรศาสน์ (ครูบาบุญค้ำ) เจ้าอาวาสวัดหนองเกิด ตำบลท่าตุ้ม 

ข้อมูลเนื้อหาที่มา 

ว็บไซต์และฐานข้อมูลประเพณีล้านนา โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเชียงใหม

      https://shorturl.asia/q4xCz

รียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวอรพินธ์ ไชยยอง ครูกศน.ตำบลท่าตุ้ม

าพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวอรพินธ์ ไชยยอง ครูกศน.ตำบลท่าตุ้ม

วิดิโอประกอบ โดย  นางสุจิตรา รินนวล