สมุนไพรชาใบขลู่

ขลู่

ขลู่ ชื่อสามัญ Indian marsh fleabane

ขลู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Pluchea indica (L.) Less. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Baccharis indica L., Conyza foliolosa Wall. ex DC., Conyza corymbosa Roxb., Conyza indica (L.) Blume ex DC.[5]) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)

สมุนไพรขลู่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน), หนาดวัว หนาดงัวหนวดงั่ว หนวดงิ้ว (อุดรธานี), ขลู่ (ภาคกลาง), เพี้ยฟาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขลู คลู (ภาคใต้), หลวนซี (จีนกลาง), หล่วงไซ (แต้จิ๋ว) เป็นต้นไม้ประจำถิ่น อยู่ในป่าชายเลน เป็นต้น

ลักษณะของต้นขลู่

  • ต้นขลู่ จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ขึ้นเป็นกอ ๆ แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นความสูงประมาณ 0.5-2 เมตร ลำต้นกลม เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเขียว ที่ลำต้นและกิ่งก้านมีขนละเอียดขึ้นปกคลุม โดยเป็นพรรณไม้ที่ชอบดินเค็มมีน้ำขังตามหนองน้ำ มักขึ้นตามที่ลุ่มชื้นแฉะ ตามริมห้วยหนอง หรือตามหาดทราย ด้านหลังป่าชายเลน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และวิธีการปักชำ ด้วยการตัดลำต้นชำลงดิน แล้วรดน้ำให้ชุ่ม สามารถปลูกขึ้นได้ง่ายและไม่ต้องการการดูแลรักษาแต่อย่างใด

การทำชาขลู่

  1. เก็บใบอ่อนขลู่ ตอนเช้าล้างให้สะอาด อย่าให้ช้ำ ใส่ตะกร้าพลาสติก
  2. ผึ่งลมหรือแดด ประมาณ 10 – 15 นาที ให้แห้ง
  3. คั่วในกระทะอลูมิเนียม ไฟเบาถึงไฟกลาง โดยใช้มือใส่ถุงมือผ้าคั่วให้แห้งนาน 30 นาที
  4. เก็บในภาชนะจำพวกอัดสูญญากาศหรือกระป๋องทึบแสง