วัฒนธรรมภาคเหนือ

ตำบลริมปิง

วัฒนธรรม : การฟ้อนรำภาคเหนือของตำบลริมปิง

นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ หรือ การฟ้อนรำภาคเหนือ


   ภาคเหนือ มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่าทางนุ่มนวล อ่อนช้อย เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้น จึงมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ


      นาฏศิลป์ของภาคเหนือ

       เช่น ฟ้อนเมือง(ฟ้อนเล็บ ฟ้อนก๋ายลาย)ฟ้อนเทียน ฟ้อนจ้อง ฟ้อนวี ฟ้อนขันดอก ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง)ตีกลองสะบัดไชย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนน้อยไจยา ฟ้อนหริภุญชัย ฟ้อนล่องน่าน ฟ้อนแง้น เป็นต้น นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น


ดังนั้น นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือนอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนกำเบ้อ ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก (กิงกาหล่า - ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว) ระบำซอ ระบำเก็บใบชา(ชาวไทยภูเขา) ฟ้อนไต ฟ้อนไตอ่างขาง ฟ้อนนกยูง เป็นต้น

ภาพการฟ้อนรำภาคเหนือของตำบลริมปิง

ภาพประกอบจากเทศบาลตำบลริมปิง

ภาพแสดงการฟ้อนรำภาคเหนือ โดยกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลริมปิง

ภาพแสดงการฟ้อนรำภาคเหนือ โดยกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลริมปิง

การตีกลองสะบัดชัย กลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลริมปิง

กลองสะบัดชัย 

     การตีกลองสะบัดชัย เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง แสดงออกและสื่อถึงความยินดี ความีโชค มีชัย ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป การแสดงลีลาในการตีกลอง  มีลักษณะโลดโผน เร้าใจ มีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน 

  การตีกลองสะบัดชัย สมัยล้านนา เดิมเป็นการตีที่บ่งบอกถึงลักษณะการบอกถึงสัญญาณต่าง ๆ มากมาย การตีกลองเป็นการใช้เป็นสัญญาณหลายลักษณะ ดังนี้

  1.การใช้เป็นสัญญาณ

ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับวัดพระงาม ผูกที่ 2 กล่าวถึงสมัยพระญามังราย ตอนขุนครามรบพระญาเบิกที่เมืองเขลางค์ ขุนครามแต่งกลให้ขุนเมือง เชริงเป็นปีกขวา ขุนเมืองฝางเป็นปีกซ้ายยกพลเข้าโจมตี กล่าวว่า ‘' เจ้าขุนครามแต่งกลเส็กอันนี้ แล้วก็หื้อสัญญาริพลเคาะคล้องโย้ง ( ฆ้อง ) ตีกลองชัย ยกสกุลโยธาเข้าชูชนพระญาเบิก ยู้ขึ้นมาวันนั้นแล กลองชัยในที่นี้ คือกลองสะบัดชัยนั่นเอง เพราะในบริบทที่ใกล้เคียงกันนี้มีคำว่า

‘' สะบัดชัย ตีคู่กับฆ้องอยู่ด้วย กล่าวคือในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ พระยาลุ่มฟ้าห้อยกพลเข้าตีเชียงแสนชาวเมืองแต่งกลศึกโดยขุดหลุมพรางฝังหลาว แล้วตีปีกทัพล้อมไล่ทัพห้อให้ถูกกล (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย )

2.การใช้เป็นสัญญาณบอกข่าวในชุมชน

3.การใช้เป็นมหรสพ

4.การใช้เป็นเป็นเครื่องประโคมฉลองชัยชนะ

5.เครื่องประโคมเพื่อความสนุกสนาน


บทบาทสะบัดชัยในสมัยปัจจุบัน 

บทบาทกลองสะบัดชัย ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา กลองสะบัดชัยในสมัยปัจจุบันได้มีการแสดงการตีกลองสะบัดชัยเข้าสู่การเดินขบวน การแสดงในงานขันโตก และงานพิธีต้อนรับแขกเมืองขบวนแห่ ฯลฯเป็นต้น

ภาพการตีกลองสะบัดชัย โดยกลุ่มผู้สูงอายุตำบลริมปิง

กลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลริมปิง

ภาพการตีกลองสะบัดชัย โดยกลุ่มผู้สูงอายุตำบลริมปิง

ข้อมูลเนื้อหา : นางสาวศศิธร เลือดชัยพฤกษ์ ครูกศน.ตำบลริมปิง

เรียบเรียงข้อมูล/เนื้อหา : นางสาวศศิธร เลือดชัยพฤกษ์ ครูกศน.ตำบลริมปิง

ภาพถ่าย : กลุ่มผู้สูงอายุเทศบาลตำบลริมปิง 

    : เทศบาลตำบลริมปิง

ข้อมูล : เวบไซต์ วิกิพีเดีย