ตั้งอยู่ที่ : หมู่ที่ 4 บ้านท่าหลุก ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน

ผู้นำชุมชน : นายชูชาติ สีหล้า ผู้ใหญ่บ้านท่าหลุก

นับตั้งแต่อดีตมาสู่ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนานและนับวันยิ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทุกปีตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน ในขณะเดียวกันปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำ แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ทั้งการจัดเก็บ เคลื่อนย้าย รวมทั้งการกำจัด ถึงแม้จะได้รับการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับปริมาณขยะมูลฝอยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

หมู่บ้านท่าหลุก ได้ตระหนักถึงความสำคัญและเห็นประโยชน์จากจัดการด้านขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดตั้งชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายแบบบูรณาการขึ้น โดยการกระตุ้นให้องค์กรประชาชน รู้สภาพปัญหาของหมู่บ้านและสามารถวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาได้เอง รวมทั้งการกระตุ้นให้ประชาชนรู้จักช่วยตนเอง และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

  1. การจัดการประชุมชาวบ้าน

  2. การริเริ่มและสนับสนุนการตำเนินงานพัฒนา โดยเป็นทีปรึกษากลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี กลุ่มอาสาสมัคร ตลอดจนองค์กรประขาชนและกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ

  3. ด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ โดยการนำแนวคิดมาขยายผลการดำเนินงานในพื้นที่ และนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ เพื่อส่งเสริมชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

การจัดการประชุมชาวบ้าน "บ้านท่าหลุก"

การจัดการขยะในครัวเรือนบ้านท่าหลุก

การทำป้ายรณรงค์ให้คัดแยกขยะของชุมชนบ้านท่าหลุก

ชาวบ้านร่วมกันทำกระถางจากยางรถยนต์

ชาวบ้านร่วมกันปลูกผักปลอดสารพิษในกระถางจากยางรถยนต์

มีการส่งเสริมอาชีพเพื่อยกระดับในครัวเรือน

- ด้านการเกษตร การปลูกพืชผักสวนครัว ลำไย หอมแดง การขยายพันธุ์พืช การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

- ด้านหัตถกรรมในครัวเรือน เช่น การทำกระถางจากยางรถยนต์ เป็นต้น

มีกลุ่มอาชีพที่เกิดจากการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

สร้างกลุ่มสัมมาชีพชุมชนที่เป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก คือรายได้ ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีความมั่นคงและยั้งยืน สังคมอยู่รวมกันอย่างมีความสุข ด้วยการสร้างอาชีพผ่านกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน ประกอบกับการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวคิด กลุ่มสัมมาชีพในหมู่บ้าน ดังนี้

- การทำกระถางจากยางรถยนต์

- การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์


กลุ่มอาชีพหรือกลุ่มกิจกรรมมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

- การสร้างงาน สร้างรายได้ให้เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมชุมชนปลอดขยะในชุมชน ในกิจกรรมการประดิษฐ์จากเศษวัสดุต่างๆ สามารถสร้างรายได้ต่อครอบครัว


การบูรณาการกองทุนต่าง ๆ ในหมู่บ้าน โดยใช้กองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้านเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง เช่น

- กองทุนขยะชุมชน นำรายได้ที่ได้จากการจำหน่ายขยะรีไชค์เคิล มาจัดซื้อเมล็ดผักพันธุ์พืชให้กับประชาชนในหมู่บ้าน และส่งเสริมด้านอาชีพการแปรรูปจากขยะที่เหลือใช้ในชุมชนมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว

- กองทุนหมู่บ้าน เดือนละ 10 บาทต่อครัวเรือน สามารถนำไปช่วยเหลือสนับสนุน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส โดยไม่ใช้งบประมาณจากส่วนราชการหรือภาครัฐ

ผลการดำเนินงาน

1. มีกลุ่มสัมมาชีพในชุมชน

2. ชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ประชาชนมีอาชีพเสริมมีรายได้เพิ่มขึ้น

4. สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร และการถนอมอาหารท้องถิ่น

5. เกิดศูนย์เรียนรู้ในชุมชน ที่สามารถศึกษาดูงานได้

- ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

- จุดเรียนรู้การแปรรูปขยะ


ผลงานดีเด่นเป็นที่ประจัก

ได้รับประกาศเกียรติคุณ จากกระทรวงมหาดไทย “ได้รับรางวัลชมเชย ระดับจังหวัด ตามโครงการคัดเลือกหมู่บ้านดีเด่น (บ้านสวย เมืองสุข) ประจำปี 2558" ให้ไว้ ณ วันที่ 11 มีนาคม 2558

รางวัลชมเชย ระดับจังหวัด ตามโครงการคัดเลือกหมู่บ้านดีเด่น (บ้านสวย เมืองสุข) ประจำปี 2558

บ้านท่าหลุกชุมชนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน

ตั้งอยู่ที่ : หมู่ที่ 4 บ้านท่าหลุก ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน

ข้อมูลเนื้อหา

ชูชาติ สีหล้า. ชุมชนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน. (2565). สัมภาษณ์, 18 กรกฎาคม.

จักริน สุกใส. (2556). บ้านท่าหลุก หมู่ที่ 4 ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน. สืบค้นจาก

https://www.nonglong.go.th/th/index.php?name=blog&file=readblog&id=16

ณัฐวุฒิ กะมุตะเสน. (2560). โครงการรณรงค์ประชาชนร่วมใจแยกขยะในครัวเรือน องค์การบริหารส่วนตำบลโพนสว่าง. สืบค้นจาก

http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER19/DRAWER030/GENERAL/DATA0000/00000104.PDF

เรียบเรียงข้อมูล/เนื้อหา : นายวุฒิชัย ภิมาลย์

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ : นายชูชาติ สีหล้า