ประเพณียี่เป็ง

ความหมายและความสำคัญ

ประเพณีเดือนยี่ คือ ประเพณีลอยกระทงแบบล้านนาโดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย

งานประเพณีจะมีสามวัน

  • วันขึ้นสิบสามค่ำ หรือ วันดา เป็นวันซื้อของเตรียมไปทำบุญที่วัด
  • วันขึ้นสิบสี่ค่ำ จะไปทำบุญกันที่วัด พร้อมทำกระทงใหญ่ไว้ที่วัดและนำของกินมาใส่กระทงเพื่อทำทานให้แก่คนยากจน
  • วันขึ้นสิบห้าค่ำ จะนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ

ในช่วงวันยี่เป็งจะมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน ทำประตูป่า ด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา และมีการจุดถ้วยประทีป(การจุดผางปะตี๊บ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และมีการจุดว่าวไฟปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ประเพณียี่เป็งของชาวล้านนานั้นอยู่บนรากฐานความเชื่อเดียวกับประเพณีลอยกระทงในภูมิภาคอื่น วัตถุประสงค์สำคัญคือ ขอขมาแม่พระคงคา บูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวล้านนา การเฉลิมฉลองงานประเพณีลอยกระทงแบบล้านนานจะเป็นการประดับตกแต่งโคมตามบ้านเรือน จัดซุ้มประตูป่าหรือซุ้มประตูเข้าสู่ปรัมพิธีประกอบพิธีกรรมของหมู่บ้าน เข้าวัดทำบุญทำทาน ฟังเทศน์มหาชาติ ซึ่งจะต่างจากการฉลองของภูมิภาคอื่นที่เน้นกิจกรรมยามค่ำคืน เช่น การเผาเทียนเล่นไฟ การลอยประทีบ ลอยกระทงประเพณีปฏิบัติของชาวล้านนาในเทศกาลยี่เป็ง หลักๆ แล้ว จะพาเข้าวัดทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลกับตนเองและครอบครัว มีการตกแต่งสถานที่ด้วย ซุ้มประตูป่า ประดับไฟสีต่างๆ ตอนหัวค่ำจะพากันไปบูชาเทียนพระประธานในวิหารโบสถ์เพื่อสืบชะตา รับโชค และสะเดาะเคราะห์ โดยเทียนนี้จะใช้ไส้เทียนเท่าอายุของตัวเองหรืออาจจะเผื่อไว้เล็กน้อย กระดาษสาที่เขียนคาถา วันเดือนปีเกิดของคนๆ นั้น เมื่อกลับมาบ้านก็จะจุดบูชาพระพุทธรูปที่บ้าน จุดประทีบหน้าบ้าน จุดดอกไม้ไฟ ปล่อยโคมลอย

กิจกรรมฟังเทศน์มหาชาติ

การปล่อยโคมไฟ

การลอยกระทง

การลอยกระทง