สมุนไพร ใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ
การนำเสนอผลงาน/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
(Best Practices)
ชื่อผลงาน สมุนไพร ใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ
๑.ชื่อผลงาน วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practices) สมุนไพร ใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ
๒.หน่วยงาน กศน.ตำบลในเมือง สังกัด สกร.อำเภอเมืองลำพูน
สำนักงานส่งเสริมการศึกษาจังหวัด ลำพูน
โทรศัพท์ 053-510395 โทรสาร 053-560545
E-mail address lpn.aml_nfedc@nfe.go.th
๓.ผู้พัฒนาแนวปฏิบัติที่ดี : นางอรพรรณ สิทธิใหญ่ ครูกศน.ตำบลในเมือง
๔.ความสอดคล้อง
นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖
สอดคล้องกับ จุดเน้นการดำเนินงาน ข้อ ๒ การยกระดับคุณภาพการศึกษา ข้อ ๓.๓ พัฒนา ทักษะฝีมือ พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจกลุ่มผู้สูงอายุ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ สามารถดําเนินชีวิต ได้เต็มตามศักยภาพ โดยเน้นการดําเนินกิจกรรมใน ๔ มิติ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยี
สอดคล้องการมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในการประเมินคุณภาพ
มาตรฐานการศึกษาต่อเนื่อง มาตรฐานที่ ๒ การจัดการเรียนรู้การศึกษาต่อเนื่อง
๕. ความเป็นมาและความสำคัญ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำพูน โดยกศน.ตำบลในเมือง ได้จัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องให้กลุ่มเป้าหมายได้แก่ประชาชนในชุมชน ได้รับการศึกษาพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ ที่มีคุณภาพและเท่าเทียมกัน และมีความเป็นอยู่ในสังคมอย่างราบรื่น ด้วยความรักใคร่ ปรองดอง และสามัคคี ตลอดจนส่งผลให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ ดังนั้น จึงต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะคนในชุมชนเน้นให้กลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นเป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รู้จักคิด รู้จักการคิดค้น มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักการแก้ปัญหา วิเคราะห์ สังเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่ต้องเผชิญในสถานการณ์ต่างๆได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นทักษะในการดำรงชีวิต มีความสำคัญและเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพแก่คนในชุมชนได้
กศน.ตำบลในเมือง ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้จัดเวทีประชาคม เพื่อทราบถึงความต้องการ ตลอดจนชี้แจงความเข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านอาชีพให้กับประชาชนในตำบลในเมือง จึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเรียนรู้ในเรื่องของสมุนไพร และการทำยาหม่องสมุนไพร ลูกประคบสมุนไพร ครีมนวดสมุนไพร และให้ความรู้เรื่องสมุนไพรที่ใช้ในชีวิตประจำวันให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลในเมือง ขึ้น เพื่อสนองต่อความต้องการในด้านการเรียนรู้ด้านการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เพื่อใช้ในครัวเรือนและจัดจำหน่ายเพื่อสร้างอาชีพ ให้กับกลุ่มเป้าหมายซึ่งได้แก่ประชาชน กลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ ตำบลในเมือง ตลอดจนผู้ว่างงาน ผู้สนใจทั่วไป ทั้งนี้โดยให้มีการดำเนินงานโครงการตามหลักสูตรการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อไปสู่ช่องทางในการประกอบอาชีพและการเรียนรู้อาชีพเพื่อการมีงานทำเป็นรูปธรรมและนำไปสู่การมีอาชีพที่ยั่งยืนมีงานทำของกลุ่มเป้าหมาย
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น การบริหารจัดการ กศน.ตำบลในเมืองจะสัมฤทธิ์ผลนั้น ต้องมาจากพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกๆ ด้าน ทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาสภาพแวดล้อม และการสนับสนุนงบประมาณ เพราะในชุมชนมีทรัพยากรต่างๆ ที่พร้อมจะให้การสนับสนุนตลอดจนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านอาชีพให้กับประชาชนในตำบลในเมือง จึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรม การทำสมุนไพร ขึ้น
6. ขั้นตอนการดำเนินงาน
โดยเริ่มแรกจะมีสมาชิกที่สนใจร่วมกลุ่มที่จะทำสมุนไพร ๕ คนต่อมามีได้มีคนในชุมชนได้นำสินค้าไปทอลองใช้และได้ผลดีจึงกลับมาซื้อซ้ำและขอมาเรียนรู้การทำสมุนไพรและเข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นโดยทางชุมชนมีการ่วมกลุ่มกันทำ ครีมสมุนไพร ยาหม่องสมุนไพร ยาดมสมุนไพรกันอาทิตย์ละครั้งเพื่อนำไปจำหน่าย ณ ข่วงพันปี ซึ่งจะมีการจัดจำหน่ายสินค้าของชุมชนทุกวัน เสาร์ และ วันอาทิตย์ และจะมีสินค้าว่าจำหน่ายในวัดมหาวันตรงจุดรับจองพระของวัดอีก๑ จุดซึ่งได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวซื้อกลับไปใช้และมีการโทรมาสั่งซื้อเพิ่ม ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับกลุ่มได้อีก ๑ ช่องทาง
7. ความสำเร็จเป็นจุดเด่นของโครงการ/กิจกรรม
- สมาชิกได้มีรายได้เสริมจากการจำหน่ายสมุนไพรและมีสมาชิกในกลุ่มเพิ่มขึ้น
- มีลูกค้าต่างจังหวัดกลับมาซื้อซ้ำ
- ฐานลูกค้าเริ่มมีมากขึ้น
- เพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อยอดสั่งของลูกค้า
ผลการดำเนินงาน
การบริหารจัดการของ กศนตำบลในเมืองและกลุ่มศูนย์เรียนรู้วัดมหาวัน โดยใช้หลัก 5 ก ซึ่งประกอบด้วย
Øกลุ่ม ต้องสร้างการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ แม่บ้าน เยาวชน ให้เกิดขึ้น ทั้งที่เป็นกลุ่มแกนนำคณะทำงาน และกลุ่มสมาชิก ซึ่งเป็นเป้าหมายของการทำงาน ในขั้นนี้อาจมีกลยุทธ์ในการสร้างความเป็นกลุ่มก้อนได้หลายวิธี เช่น การเปิดรับสมัครสมาชิกหรือผู้ที่สนใจ การต่อยอดจากกลุ่มเดิมที่เคยมีอยู่ในชุมชน เช่น ชมรมผู้สูงอายุกลุ่มแม่บ้าน เยาวชน การสร้างสัญลักษณ์ของความเป็นกลุ่มสมาชิก อาทิ มีสัญลักษณ์ ของศูนย์เรียนรู้วัดมหาวัน และมีเสื้อสัญลักษณ์เป็นต้น
Ø กรรมการ ถือเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มที่จะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการกลุ่มให้การทำงานประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ควรสร้างกระบวนการคัดเลือกผู้ที่จะทำหน้าที่ดังกล่าว แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ช่วยกันขับเคลื่อนการทำงานให้ประสบความสำเร็จ เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้การบริหารจัดการในศูนย์เรียนรู้วัดมหาวันมีประสิทธิภาพ
Øกติกาหรือข้อตกลงร่วมกัน ต้องเกิดจากความเห็นพ้องต้องกันของสมาชิกในกลุ่มศูนย์เรียนรู้วัดมหาวัน เหมือนเป็นสัญญาใจที่มีต่อกันว่าจะร่วมกันยึดถือและปฏิบัติตาม ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ทำให้การดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้วัดมหาวันใช้มีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน แม้ว่าเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการชุดใหม่จะยังคงมีแนวทางการทำงานเดิมให้เห็นและพัฒนาต่อยอดได้
Ø กิจกรรม ในระยะเริ่มแรกอาจเน้นไปที่การสร้างกิจกรรมในการแก้ไขปัญหาง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เช่นการจัดให้มาพบปะกันทุกเดือน มีกิจกรรมร่วมกันทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อจัดจำหน่ายภายในวัด กิจกรรมนันทนาการรูปแบบอื่น ๆ กิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับเด็กและเยาวชนหรือการรวมกลุ่ม เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น จึงเคลื่อนไปสู่การทำกิจกรรมที่ตอบสนองปัญหาและความต้องการที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น การบูรณาการร่วมกัน มีการนำครูภูมิปัญญาด้านสมุนไพรมาให้ความรู้อยู่เสมอ มีการประชุมสรุปรายรับรายจ่ายประจำเดือนของกลุ่มเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้รับรู้
Øกองทุน การขับเคลื่อนงานของกลุ่มศูนย์เรียนรู้วัดมหาวันให้เป็นไปอย่างมั่นคงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการหางบประมาณเพื่อการดำเนินงานด้วยตนเอง วิธีการหางบประมาณเข้ากองทุนของกลุ่ม อาจจำแนกได้เป็น การสร้างกองทุนของตนเองการเก็บค่าสมาชิก การขอรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม การเขียนโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงาน แหล่งทุนต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม งบประมาณไม่ใช่หัวใจของการขับเคลื่อนงานได้เท่ากับการมีจิตอาสาหรือจิตสาธารณะที่จะสร้างสรรค์สวัสดิการทางสังคมในการดูแลสมาชิกในกลุ่มศูนย์
ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมจากการร่วมกลุ่มของกลุ่มศูนย์เรียนรู้วัดมหาวัน
1. เป็นพื้นที่เรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้ดำรงสืบทอดเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
2. เป็น “เวที” ที่เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุ กลุ่มแม่บ้านและเยาวชนมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม รวมทั้งอาจเป็นแรงผลักดันให้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในชุมชนตลอดจนสร้างอาชีพใหม่ให้กับคนในชุมชน
ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้ดำเนินงานอาชีพเสริม เพื่อหารายได้เสริม
- ได้มีประสบการณ์ในการลงพื้นที่ร่วมกับชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่สนใจ
- เพื่อฝึกฝนการทำงานเป็นกลุ่มและได้กลุ่มที่เข้มแข็ง
ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ
มีทักษะในการประกอบอาชีพ และการพัฒนารูปแบบของสินค้าสร้างจุดเด่น ดึงดูดความสนใจ และเพิ่มมูลค่าสินค้าได้ สามารถสร้างรายได้จากการประกอบอาชีพเสริม มีความพร้อม ที่จะเรียนรู้และพัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลายและโดดเด่น ตลอดจนรู้จักสามัคคี ปรองดอง แก่คนในชุมชนและสังคมอีกด้วยและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนและผู้ที่สนใจเรียนรู้ได้
(ขอกราบขอบพระคุณท่านครูบาประกอบบุญ เจ้าอาวาสวัดมหาวัน ที่ให้การสนับสนุน ขอบคุณคุณป้า คุณยาย ชมรมผู้สูงอายุ )