ทำบายศรี
ผลิตภัณฑ์
ประวัติความเป็นมา
กล่าวกันว่าพิธีบายศรีสู่ขวัญมาพร้อมกับพราหมณ์ทมิฬชานอินเดียที่อพยพมาสู่สุวรรณภูมิ หนังสือเก่าที่พบซึ่งออกในสมัยพระเจ้าอู่ทองกล่าวไว้ว่า บายเป็นภาษาเขมรแปลว่าข้าว ข้าวอันเป็นสิริมงคล ข้าวขวัญ กล่าวคือข้าวที่หุงปรุงรสโอชาอย่างดีเหมาะสมที่จะเป็นเครื่องสังเวยให้เทวดาโปรด พิธีใดเป็นพิธีเทวดาโดยตรง หรือต้องการที่จะอัญเชิญเทวดามาเป็นประธาน ต้องหาของสังเวยที่ดีและมีสีสะดุดตา ชาวทมิฬจึงมีเคล็ดลับความเชื่อในข้าวที่ย้อมสีตามสีประจำองค์เทวดา รวมถึงใช้สีล่อเทวดาฝ่ายร้ายให้ไปรวมต่างหากไม่ให้มาทำอัปมงคลให้โทษแก่มณฑลพิธีและบุคคล ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยกับทมิฬได้มีความเป็นมาอย่างเดียวกัน เนื่องจากได้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมต่าง ๆแก่กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีบวงสรวงเทวดา มีขนมต้มขาว มะพร้าวอ่อน กล้วย ข้าวย้อมสี เช่นข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียวแดง ก็นำมาใช้ในพิธีไทยอย่างชัดเจน นอกจากนี้ภาชนะบายศรีตองเป็นกระทงที่สำหรับบรรจุอาหาร ภายหลังเอาพานซ้อนกันขึ้นไปแล้วเอาของตั้งบนปากพาน เมื่อมีการถ่ายทอดมาที่ประเทศไทย ซึ่งมีศิลปศาสตร์ที่เจริญขึ้น กระทงใบตองก็ถูกประดิดประดอยให้สวยงามเป็นกระทงเจิม ซึ่งประดับประดาตกแต่งที่ปากกระทงให้มีความงดงามมีกระจัง มียอดแหลมตามศิลปะแบบไทย ๆพิธีบายศรีสู่ขวัญหรือหลายท้องถิ่นในภาคเหนือจะเรียกว่าการเรียกขวัญหรือสูดขวัญ ตามความเชื่อของคนไทยเชื่อกันว่าคนที่เกิดมามีขวัญประจำกายมีหน้าที่ในการพิทักษ์รักษา ขวัญเป็นเหมือนพี่เลี้ยง ที่คอยดูแลประคับประคองชีวิต คอยเลี้ยงดู และติดตามไปทุกหนทุกแห่ง เป็นสิ่งไม่มีตัวตนคล้ายจิตหรือวิญญาณแฝงอยู่ในตัวคนและสัตว์ ซึ่งขวัญตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่าในร่างกายเรามี 2 สิ่งรวมกัน คือร่างกายและจิตใจหรือขวัญ
ขวัญ คือความรู้สึก ถ้าขวัญของผู้ใดอยู่กับตัวผู้นั้นจะมีความสุขกายสบายใจเป็นปกติ แต่ถ้าขวัญของผู้ใดหลบลี้หนีหาย ผู้นั้นจะมีลักษณะอาการตรงกันข้ามคนไทยจึงเชื่อว่าพิธีสู่ขวัญเป็นพิธีหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมเพิ่มพลังใจให้เข้มแข็ง เมื่อมีขวัญที่มั่นคง พลังใจที่เข้มแข็งดีแล้ว ย่อมส่งผลให้การประกอบภารกิจหน้าที่นั้น ๆ บรรลุผลสำเร็จได้ตามความมุ่งหมาย ซึ่งให้กำลังใจกันเมื่อมีความทุกข์ใจ หรือเสริมให้มีความสุขยิ่ง ๆขึ้นไป เมื่อมีความสุขความพอใจอยู่แล้วก็สามารถทำได้ การทำพิธีสู่ขวัญ อาจทำได้ทั้งพิธีทางพระพุทธศาสนา และพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงยึดถือปฏิบัติสืบ ต่อกันมา
อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
๑.๒.๒ การพับจีบบายศรีที่ละเอียดและคม
๑.๒.๓ การเลื้อยของลายบายศรีที่เอื้อต่อค่านิยมของท้องถิ่น เช่น รูปแบบพญานาคความอ่อนช้อยในการเข้ากลีบใบตองสด
๑.๒.๔ บายศรีที่มีชั้นหรือรูปแบบที่สามารถสั่งได้ว่าจะใช้กี่ชั้น ใช้เท่าใด ตามความต้องการของผู้สั่งทำ
มาตรฐาน
เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาของชุมชนที่สืบทอดกันมา และมีการพัฒนา การบริหารจัดการ ซึ่งนำมาสู่การสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้สู่ชุมชน ประเป็นการลักษณะที่โดโยชน์ที่เอื้อต่อสมาชิกหรือชาวบ้าน คือ แรงงานที่ใช้ในการผลิตทั้งหมดเป็นคนในชุมชน โดยทำในรูปของกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในแต่ละคน
ความสัมพันธ์กับชุมชน
ทำให้คนในชุมชนเกิดการสร้างงานสร้างอาชีพและร่วมกันอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมการทำงานใบตอง
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
๒.๑.๑. โฟมหนา ๒ นิ้ว ตัดเป็นขนาดต่าง ๆ ตามต้องการ
๒.๑.๒ ใบตองตานี ประมาณ ๑๔ กิโลกรัม ช่วงขนาดกลาง
๒.๑.๓ ลวดเย็บตัว U ขนาด ๒ นิ้ว ๒๐๐ ตัว ใช้ลวดเบอร์ ๑๖
๒.๑.๔ กาบกล้วย, กาบพลับพลึง, เนื้อมะละกอดิบ
๒.๑.๕. ดอกพุดและดอกไม้ตกแต่งตรงชั้นของบายศรี
๒.๑.๖ ด้าย เข็ม เข็มหมุด
๒.๑.๗ ขัน, ชาม, พานทำยอดบายศรี
๒.๑.๘ แม๊ก กรรไกร
ขั้นตอนการผลิต
๒.๒.๑ การเตรียมใบตอง
๑) ฉีกใบตอง กว้าง ๒ นิ้ว ยาว ๙ นิ้ว ๒) ฉีกใบตอง กว้าง ๑.๕ นิ้ว ยาว ๖ นิ้ว
๒.๒.๒ วิธีทำกลีบชั้นใน หรือนิ้วนาง
๑) ม้วนใบตองจากดานริมเข้าด้านใน (ใบตอง ๒ นิ้วยาว ๙ นิ้ว) ๒) ม้วนให้เป็นกรวยเล็กๆ ๓) ม้วนให้แน่น ๔) จากนั้นใช้ลวดแม็คเย็บ จะใช้ ๙-๑๐ ชิ้นต่อ ๑ กลีบ
๒.๒.๓ วิธีทำกลีบชั้นนอก หรือผ้านุ่ง
๑) หาจุดกึ่งกางใบตอง พับด้านซ้าย พับด้านขวา พับทับ ๒) นำกลีบชั้นนอกหุ้มกลีบชั้นใน ด้านซ้าย ด้านขวา โดยให้กลีบชั้นในสูง ประมาณ ๒ นิ้ว)
๓) นำกลีบชั้นในวางทับ ให้ความห่างกลีบชั้นใน ตรงโคนดอกชั้นที่ ๑ หุ้มด้วยกลีบชั้นนอก เย็บตรึง
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
๒.๓.๑ การทำกลีบขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ทำว่าจะเอาขนาดเท่าใด เล็กหรือใหญ่
๒.๓.๒ รูปแบบบายศรีมีหลากหลายขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ในโอกาสใด ๒.๓.๓ ต้องใช้ใบกล้วยตานีถึงจะแข็งและมันแต่งทรงได้สวยงามสดนาน
กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
กลุ่มแม่บ้านชุมชนสันดอนรอม
ที่อยู่ ที่ทำการชุมชนสันดอนรอม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
นางปราณี ไชยาพรรณ
ที่อยู่ที่ทำการชุมชนสันดอนรอม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ที่ทำการชุมชนสันดอนรอม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน