การเพาะเห็ดโคนน้อย 

กลุ่มเพาะเห็ดโคนน้อย บ้านศรีสองเมือง

           กลุ่มเพาะเห็ดโคนน้อย บ้านศรีสองเมือง หมู่ 10 ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน  ซึ่งมีการรวมกลุ่มเพาะเห็ดโคนภายในศูนย์เรียนรู้เรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้ จากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลำพูน และ สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน สามารถลดรายจ่ายสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน 

          เห็ดโคนน้อย หรือ เห็ดโคนเพาะ ซึ่งแท้จริงแล้วก็คือ "เห็ดถั่ว" นั่นเอง แต่เป็นคนละชนิดกับเห็ดโคนปลวก เห็ดถั่วเป็นเห็ดที่เรารู้จักกันมานานแล้ว และสามารถที่จะนำไปเพาะเพื่อเป็นการค้าก็ได้ เห็ดโคนน้อยนี้จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด เช่น เห็ดถั่วทอง (กาญจนบุรี) เห็ดโคนน่านหรือเห็ดโคนขาว (ลำปาง แม่ฮ่องสอน) เห็ดคราม (ขอนแก่น มหาสารคาม) เป็นต้น การตั้งชื่อเห็ดโคนน้อย ก็เพื่อเป็นจุดขาย และปัจจุบันก็เป็นที่ยอมรับกันในวงการเพาะเห็ด

          เห็ดโคนน้อย (เห็ดถั่ว) เป็นเห็ดที่เพาะง่าย และให้ผลผลิตที่สูง มีรสชาติอร่อย จึงเริ่มเป็นที่นิยมในวงกว้างมากขึ้น จากเดิมที่บริโภคเฉพาะในท้องถิ่น เราสามารถนำมาบริโภคได้ภายใน 5-7 วันนับจากวันที่เริ่มเพาะเห็ด โดยใช้ ฟางข้าว เป็นวัสดุเพาะ นอกจากนี้ยังสามารถที่จะใช้วัสดุเพาะอื่น ๆ เพาะได้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นต้นและใบถั่วต่าง ๆ ต้นและซังข้าวโพด ทะลายปาล์มน้ำมัน ผักตบชวา ต้นและใบกล้วยที่นำมาหมักให้ย่อยสลายบางส่วน ซึ่งสามารถที่จะนำมาเป็นวัสดุเพาะได้ทั้งสิ้น และเป็นวัสดุเพาะที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น การเพาะเพื่อการบริโภคในครัวเรือนสามารถทำได้ง่ายๆโดยวิธีการเพาะแบบกอง ไม่จำเป็นต้องเพาะในโรงเพาะเห็ด

ข้อมูลเนื้อหา :   นางสาวธวัลพร ศรีมันตะ ครู กศน.ตำบลเหมืองง่า

เรียบเรียงข้อมูล/เนื้อหา : นางสาวธวัลพร ศรีมันตะ ครู กศน.ตำบลเหมืองง่า

ภาพถ่าย : นางสาวธวัลพร ศรีมันตะ ครู กศน.ตำบลเหมืองง่า

ร.ปริญญา จันทรศรี.การเพาะเห็ดโคนน้อยแบบกอง.(ม.ป.ป).ค้นจากhttps://stri.cmu.ac.th/article_detail.php?id=27

              แหล่งข้อมูล : ร.ปริญญา จันทรศรี.การเพาะเห็ดโคนน้อยแบบกอง.(ม.ป.ป).ค้นจากhttps://stri.cmu.ac.th/article_detail.php?id=27