การทำโคมไฟล้านนา

การทำโคมไฟล้านนา ตำบลแม่ลาน

        ศาสนาและประเพณีวัฒนธรรม  นับว่าเป็นแหล่งที่ยึดเหนี่ยวจิตของประชากรในพื้นที่นั้นถ้าหากกกล่าวถึง ประเพณีวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะพื้นที่ เชียงใหม่ ลำพูน จะมสีอยู่ประเพณีอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "ประเพณียี่เป็ง" ซึ่งประเพณีดังกล่าวผู้คนมักจะมีความเชื่ออย่า่งหนึ่งในการถวายโคมไฟให้แก่พระแม่ธรณีพื้นที่บ้านของตนเองโดยความเชื่อดังกล่าวจะปฏิบัติโดยแขวนโคมไว้ที่หน้าจุดเทียนด้านในเกิดแสงสว่างตามความเชื่อว่าเมื่อลายกระทงแล้วเท่ากับการส่งเคราะห์แล้วต้องมีการแขวนโคมเพื่อให้ชีวิตมีแสงสว่าง พอห้วงเวลาหลังคล้อยตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุควิถีก็มีความเชื่อว่าการแขวนโคมนั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแขวนในช่วงสิื้นปีหรืองานพิธีการทางศาสนา

       

       จากประเพณีวัฒนธรรมในพื้นที่ดังกล่าว  ประชาชนบ้านเด่นเหม้าจึงได้รวมกลุ่มกันทำกลุ่มโคมไฟฟล้านนาขึ้นเพื่อประกอบอาชีพเสริม  โดยจากการที่พื้นที่ดังกล่าวมีไม้ไผ่ที่เหมาะสมแก่การทำโครงของโคมจึงได้ทดลองทำและเรียนรู้ร่วมกับ กศน. ผลที่ได้คือกลุ่มสามารถผลิตโคมจำหน่ายส่งให้แก่วัดพระธาตุหริภุญชัย เพื่อใช้ประกอบในการแขวนโคมของผู้มีจิตศรัทธาในการบูชาพุทธศาสนา

      ขั้นตอนการขึ้นโครงโคมล้านนา

       ขั้นตอนที่ 1

1.1 นำไม้ไผ่ตัดเป็นทอนๆ ซุบน้ำยาเซนไดรท์ที่ผสมน้ำ (เซนไดรท์ครึ่งกระป๋องเล็ก ต่อน้ำ 1 ถัง ) และป้องกันปลวก และนำทอนไม้ที่ซุบน้ำยาเซนไดรท์ผสมน้ำ นำมาผึ่งแดด

       1.2 นำ มีด ผ้าไม้ ไผ่ให้เป็นเส้นบางๆยาวประมาณ 1 เมตร หรือ  20 เซนติเมตร


         1.3 นำไม้มาหักตามแบบฐาน (Handmade) ทีตั้งไว้ โดยส่วนประกอบของโครงล้านนาล้านนานั้นจะมีด้วยกัน 4 ส่วนได้แก่

3. ขั้นตอนการวางแนวโครงเป็นแนวตั้ง 4 ชิ้น นำไม้ที่หักตามแบบฐานที่ตั้งไว้ขนาดยาว 6.5 เซนติเมตร และยาว 8 เซนนติเมตร โดยหักห่าง กัน อยู่ 4 ดังนี้

1.ช่วง 8 เซนติเมตร 1 ครั้ง

2. ช่วง 6.5 เซนติเมตร 3 ครั้ง

3. ช่วง 8 เซนติเมตร 1 ครั้ง

4. ช่วง 6.5 เซนติเมตร 1 ครั้ง

6. เสร็จแล้วให้ทากาวติดประกบรอให้แห้ง

       4. ขั้นตอนการทำโครงส่วนแนวนอน 2 ชิ้น

นำไม้ไผ่ มาหักตามแบบฐานที่ตั้งไว้มีขนาดยาว 6.5 เซนติเมตร ทั้ง 8 ครั้ง และเสร็จแล้วให้ทากาวติดประกบรอให้แห้ง

5. ขั้นตอนการทำโครงส่วนก้นล้านนา 1 ชิ้น และนำไม้มาหักตามแบบฐานที่ตั้งไว้มีขนาด 6 เซนติเมตร ทั้ง 4 ครั้ง

เสร็จแล้วให้ทากาวติดประกบรอให้แห้ง

6. ขั้นตอนการทำโครง ล้านนาส่วน หัว 1 ชิ้น

      7. ขั้นตอนเหมือนการทำโครงส่วนที่ 1 ชิ้น

7.1 นำมาไม้หักตามแบบฐานที่ตั้งไว้มีขนาดยาว 8 เซนติเมตร ทั้ง 8 ครั้ง ให้เป็นทรงมงกุฏ

      7.2 นำโครงทั้ง 2 ส่วน มาทากาว (กาวลาเท็กซ์ และ กาวยางไม้) มาประกอบให้ตัวหนีบยึดมุม 4 มุม

แล้วนำไปผึ่งแดแจนแห้งสนิท

วิธีการประกอบโครง

1. นำส่วนของโครง โคมแนวตั้ง 4 ชิ้น ประกอบกันโดยให้มุมที่หักไว้บรรจบกัน ให้หนีบมุมทุกๆมุม

2. นำส่วนของโครงโคมแนวนอน 2 ชิ้น สอดเข้าไปในโครงแนวตั้ง ใช้ตัวหนีบหนีบทุกมุม และติดกาวผึ่งแดดให้แห้งสนิท

3. นำส่วนก้น 1 ชิ้น และส่วนหัว 1 ชิ้น มาประกอบกันและติดกาวผึ่งแดดให้แห้งสนิท

        นำเชือกมามัดติดกับโครงโคมส่วนบน

                    โครงล้านนาแบบสมบูรณ์

วิธีการตัดผ้า การตัดผ้า และตกแต่งผ้าโทรเร ใช้กรรไกรตัดและตกแต่งผ้าโทรเรให้เป็นไปตามแบบที่ต้องการ ในการตัดผ้าโทรเรนั้นจะมีส่วนประกอบ 3 ส่วน ดังนี้

1.       ส่วนตัว (ยาว) 4 ชิ้น ขนาดประมาณ 7*32 ชม.

2.       ส่วนตัว (ยาว) 4 ชิ้น ขนาดประมาณ 8*24 ชม.

3. ส่วนหาง (ยาว) 4 ชิ้น ขนาดประมาณ 7*32 ชม.

การตัดส่วนหาง  นำส่วนของหาง 4 ชิ้น มาพับครึ่งยาว นำแบบส่วนหางมาประกบกับผ้าส่วนหางที่พับครึ่งนำตัวหนีบยึด แล้วใช้กรรไกรตัดตามแบบ

การติดผ้าโทเร (ส่วนตัวและหาง) กับโครงล้านนา นำผ้าส่วนของตัวดคม(สั้น) ติดกับโครงส่วนคอ ถึงส่วนก้นโครง โดยใช้กาวลาเท็กซ์ที่ผสมกับกาวยางไม้(เล็กน้อย) เพื่อเพิ่มความเหนียว และการยึดติดที่แข็งแรงขึ้น  และนำผ้าส่วนตัว (ยาว) ใช้กาวติดกับตัวโครงส่วนหัวถึงส่วนก้นโครง ดึงให้ตึงเรียบ และ ใช้กาวติดส่วนหาง

นำกระดาษทองลวดลายต่างๆมาติดตกแต่งและตัดเป็นแนวเส้นยาว ติดตามขอบโคมล้านนา


2.3 ขั้นการตอนการดูแลรักษา การบริโภคหรือจำหน่าย และการบรรจุผลิตภัณฑ์

วิธีการบรรจุล้านนาเพื่อจำหน่าย นำส่วนหัวของล้านนามาประกบกันนำล้านนาใส่ถุงขนาด 24*43 นิ้ว วางตามแนวถุงละ 10 ลูกม้วนพับปลายถุงให้แน่นตึง

      ตัวอย่างผลงานโคมไฟแบบประยกต์ต่างๆ



รูปแบบของโคมที่แตกต่างกันไป

ทรงแปดเหลี่ยมสีแดง

แปดเหลี่ยมทรงสีขาว

ทรงเงี้ยวเล็ก

ทรงเงี้ยวใหญ่

ทรงบัวเพชร

ข้อมูลเนื่อหา  โดย นายสุทธิพงษ์  มูลกันทา

เรียบเรียงเนื้อหาโดย  นายสุทธิพงษ์  มูลกันทา

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นายสุทธิพงษ์  มูลกันพทา