วัดพระธาตุแสงแก้ว

ที่มาของชื่อ พระธาตุแสงแก้ว

พระธาตุแสงแก้ว หมายถึง พระธาตุออกแสง ชื่อเสียงจะขจรขจายไปทั่ว ตั้งชื่อโดย ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน 

การเดินทางไปวัดจริญญาวนาราม (พระธาตุแสงแก้ว) 

ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ (ลำพูน-ลี้) โดยมีเส้นทางแยกเข้าสู่อำเภอทุ่งหัวช้าง ๒ เส้นทาง ดังนี้

๑. เข้าทางแยกแม่เทย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๑๙ (บ้านแม่เทย-ทุ่งหัวช้าง)

๒. เข้าทางแยกแม่อาว ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๘๔ (บ้านแม่อาว-ทุ่งหัวช้าง)


เอกลักษณ์

เจดีย์รัตนชัยยะมงคล วัดจริญญาวนาราม ประดิษฐานพระธาตุแสงแก้ว ซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓) ในภัทรกัปป์ บรรจุไว้ที่คอระฆังพระเจดีย์องค์ใหญ่ และพระเจดีย์องค์เล็ก ๘ องค์ ล้อมรอบทั้งสี่ทิศพระเจดีย์องค์ใหญ่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ หรือ องค์ปัจจุบัน) ในภัทรกัปป์ พระอรหันตธาตุ พระพุทธรูป พระเครื่อง และวัตถุมงคลต่างๆ

ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน ได้มาบริกรรมชี้จุดสถานที่ให้สร้างพระมหาธาตุเจดีย์ และยังบอกอีกว่า “สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้ากัสสปะ พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓” (ที่ตั้งพระธาตุแสงแก้วในปัจจุบัน

พระพุทธรูป ๓ องค์ ประดิษฐานภายใน ซุ้มพระพุทธรูป ฐานองค์พระธาตุแสงแก้ว วัดจริญญาวนาราม 

เริ่มดำเนินการก่อสร้างพระเจดีย์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๘ โดย พระสมุห์สง่า สนฺตจิตโต ลูกศิษย์ของครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา ได้ออกแบบรูปแบบพระเจดีย์ และมาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ อาจารย์จรูญ สุริยวงศ์ เป็นฝ่ายฆราวาสควบคุมดูแลการก่อสร้าง และท่านสัตวแพทย์สุรจิต ทองสอดแสง พร้อมคณะผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านเทคโนโลยีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานฝ่ายอุปถัมภ์การก่อสร้าง

วัดจริญญาวนาราม ตั้งชื่อโดย อาจารย์จรูญ สุริยวงศ์ ผู้ริเริ่มการสร้างพระธาตุแสงแก้ว ซึ่งตั้งตามชื่อของ นายจริญญา พึ่งแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ในสมัยนั้น 

ซุ้มพระพุทธรูป ๓ องค์ 

รูปเหมือนครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา 

รูปปั้นพญานาค 

คำนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์

(กล่าวนะโม ๓ จบ) วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อะระหันตา ธาตุโย เจติยัง คันทะกุฏิง จะตุละสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธ สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ ทุระโส อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ สิระสาฯ