สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดสตูล

 ข้อมูลพื้นฐาน
1. ที่ตั้งหน่วยงาน
  สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดสตูล ตั้งอยู่หมู่ที่ 11  ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล รหัสไปรษณีย์ 91130 โทรศัพท์ติดต่อ 0 - 1801 - 9243 
พิกัด  UTM 47 NPH 226568
พิกัด UPS N 60 50' 50" E 1000 6' 40" 
2. พื้นที่รับผิดชอบ
  สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดสตูล มีพื้นที่รับผิดชอบรวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 1,670,336.70 ไร่ เป็นพื้นที่ป่า 613,162.50 ไร่ พื้นที่รับผิดชอบ ของสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดสตูล 350,491 ไร่(ตามแผน) ซึ่งสามารถแยกเป็นพื้นที่หลัก พื้นที่รองได้ดังนี้
   1. พื้นที่หลัก
   - อุทยานแห่งชาติทะเลบันเนื้อที่ 122,500 ไร่
   - เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด เนื้อที่ 30,495.75 ไร่ (เฉพาะส่วนในจังหวัดสตูล)
  - เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง เนื้อที่ 23,250 ไร่ (เฉพาะส่วนในจังหวัดสตูล)
2. พื้นที่รอง
  - ป่าสงวนแห่งชาติป่าควนโต๊ะอม - ควนขี้หมา - ควนท่าหิน เนื้อที่ 11,306 ไร่
  - ป่าสงวนแห่งชาติป่าควนบารายี - ควนโรงพัก - ควนสังหยุด เนื้อที่ 9,687.50 ไร่
  - ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยป่วง - เขาแดเขาโต๊ะดู เนื้อที่ 1,875 ไร่
  - ป่าสงวนแห่งชาติป่าตระ - ห้วยหลอด - เขาขุมทรัพย์ เนื้อที่ 93,750 ไร่
  - ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงเชือกช้าง เนื้อที่ 28,625 ไร่
  - ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาค้อม - เขาแดง เขาใหญ่ เนื้อที่ 55,408 ไร่
  - ป่าสงวนแห่งลาติป่าเขาหมาไม่หยก เนื้อที่ 13,125 ไร่
  - ป่าสงวนแห่งชาติป่าพยอมงาม เนื้อที่ 4,187.50 ไร่
  - ป่าสงวนแห่งชาติป่าควนทัง - เขาขาว เนื้อที่ 23,619 ไร่
  - เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองปลักพระยาและเขาระยาบังสา เนื้อที่ 12,270 ไร่
  - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา (เฉพาะในส่วนจังหวัดสตูล) เนื้อที่ 308,987 ไร่
  - อุทยานแห่งชาติตะรุเตา เนื้อที่ 931,250 ไร่
3. ลักษณะภูมิประเทศ
  จังหวัดสตูลมีสภาพเป็นพื้นที่ราบสลับกับภูเขาชัน เป็นแนวยาวสลับซับซ้อนตามแนวชายแดนที่ทีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลยเซีย จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุงและจังหวัดตรัง มีเทือกเขาที่สำคัญ ๆ คือ เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาสันกะลาคีรีทอดตัวลงทางทิตใต้แบ่งเขตระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลยเซีย พื้นที่ค่อย ๆ ลาดเอียงลงสู่ทะเลทางทิศตะวันตกและทิศใต้มีที่ราบแคบ ๆ ขนาดไปกับชายฝั่งทะเล ถัดจากที่ราบลงไปเป็นป่าชายเลน มีต้นแสม และต้นโกงกางอยู่เป็นจำวนมาก ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของตัวอ่อนหรือเป็นที่วางไข่ของสัตว์ทะเล
4. ลักษณะภูมิอากาศ
  สภาพภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น (แบบมรสุม) ในเขตร้อนแบ่งเป็น 2 ฤดู คือ
  1. ฤดูฝน ปริมาณน้ำฝนจะมากในเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม
  2. ฤดูร้อน อากาศจะร้อนจัดในช่วงเดือนภุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 31.5 - 38.4 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 78% ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยวันละ 6.23 มิลลิเมตร เฉลี่ยปีละ 2,275.4 มิลลิเมตร
5. ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
   ป่าพรุ (Peatswamp Forest) เป็นป่าชุ่มน้ำ (Wetland forest) ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว คือ มีต้นไม้ขึ้นอยู่บนชั้นพีท (Peat) ในพื้นที่ทีมีน้ำท่วมขังเกือบตลอดปี ถือเป็นป่าดงดิบชนิดหนึ่ง จากการสำรวจพบว่าในปัจจุบันมีพื้นที่ป่าพรุสมบูรณ์เหลืออยู่ในประเทศไทยเพียง 56,000 ไร่ อยู่ในท้องที่อำเภอสุไหงโกลก อำเภอตากใบ อำเภอสุไงปาดี อำเภอเมือง และอำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ประชาชนโดยทั่วไปเรียกป่าพรุแห่งนี้ว่า "ป่าพรุโต๊ะแดง"
ป่าพรุโต๊ะแดงประกอบด้วยเขต  (Zone) 3 เขตค่อนข้างชัดเจน คือ เขตชั้นในสุดซึ่งเป็นใจกลางของป่าพรุเรียกว่าเขตสงวน ยังคงมีสภาพเป็นป่าดั้งเดิม มีเนื้อที่ประมาณ 56,00 ไร่ (ปี 2525) พบพรรณไม้ในเขตนี้ขึ้นปะปนกันมากกว่า 500 ชนิด บางต้นมีความสูงถึง 40 เมตร ไม้ยืนต้นที่เด่นคือ หว้าหิน สะเตียว ขี้หนอนพรุ มะฮังใหญ่ ตังหนใบใหญ่ ช้างไห้ อกปลาช่อน อ้ายบ่าวและระไมป่า เป็นต้น ถัดออกมาเป็นเขตอนุรักษ์ มีเนื้อที่ประมาณ 110,000 ไร่ พรรณไม้เด่นที่พบส่วนใหญ่มี 2 ชนิด คือ เสม็ด และมะฮังใหญ่ ไม้ทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นไม้เบิกนำแต่มักจะไม่ขึ้นปนกันรวมทั้งบางบริเวณของพื้นที่ในเขตนี้เป็นพื้นที่ทุ่งหญ้า หรือพรุเสื่อมโทรม เขตอนุรักษ์นี้เดิมเป็นเขตสงวนมาก่อน ทั้งนี้เนื่องจากพบไม้ขนาดใหญ่ที่เป็นชนิดเดียวกับพรรณไม้ในเขตสงวนล้มฝังดินในเขตนี้อยู่เป็นจำนวนมาก สาเหตุหลักที่ทำให้พื้นที่ชั้นในสุด (เขตสงวน) กลายสภาพเป็นเขตอนุรักษ์คือ ไฟป่า ส่วนเขตนอกสุดเป็นเขตพัฒนา เขตนี้ป่าพรุได้เปลี่ยนสภาพไปโดยสิ้นเชิงแล้ว เนื่องจากไฟไหม้ซ้ำซากจนทำให้ชั้นพีทหมดไป
สำหรับสัตว์ป่าพรุโต๊ะแดงซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตชั้นในสุด (เขตสงวน) นั้นได้มีการสำรวจศึกษาเมื่อประมาณ 12 ปีมาแล้ว พบสัตว์ทั้งหมดประมาณ 325 ชนิด เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 62 ชนิด นก 196 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 50 ชนิด และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 17 ชนิด นอกจากนี้ยังสำรวจพบสัตว์ที่ไม่เคยมีรายงานการพบในประเทศไทยมาก่อนจำนวน 6 ชนิด แบ่งเป็นนก 3 ชนิด และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 3 ชนิด และกรมประมงยังได้มีการสำรวจพบว่ามีปลาที่อาศัยอยู่ในป่าพรุโต๊ะแดงอีกจำนวน 86 ชนิด
6. สภาพเชื้อเพลิง
  ในช่วงฤดูแล้งจะเกิดสภาวะแห้งแล้งไปทั่วจังหวัดสตูล ประกอบกับมีลมมรสุมกรรโชกแรงอาจทำให้เกิดไฟไหม้ป่าได้ง่าย เชื้อเพลิงหลัก ได้แก่ เศษใบไม้ กิ่งไม้ ดอกหญ้า หรืออินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่อาจกลายสภาพเป็นเชื้อเพลิงได้
7. สภาพแหล่งน้ำ
  แหล่งน้ำที่สำคัญในท้องที่จังหวัดสตูล มีฝายดุสน ตั้งอยู่อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล และทะเลอันดามันเป็นแหล่งน้ำสำคัญ
ผลการปฏิบัติงาน
  การปฏิบัติงานตามแผนงาน
  1) การประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่า
      - ประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่จำนวน 17 ครั้ง
      - วันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า 24 กุมภาพันธ์ จำนวน 1 ครั้ง
  2) การปฏิบัติงานดับไฟป่า
      - สำรวจพื้นที่ปฏิบัติงาน  จำนวน 350,491 ไร่
     - เตรียมพนักงานดับไฟป่า  จำนวน 2 หมู่ดับไฟป่า 30 คน
    - เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือดับไฟป่าจำนวน 2 ชุด
                   - จัดการเชื้อเพลิง  จำนวน 6,250 ไร่
  3) การป้องกันไฟป่า
      - ตรวจไฟป่าและตรวจปราบปรามการลักลอบเผาป่า จำนวน 350,491 ไร่
ปัญหาและอุปสรรค 
  ไม่มี