วัดบ้านแม่ลานเหนือ

ประวัติความเป็นมา ของบ้านแม่ลานเหนือไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน มีเพียงเรื่องเล่าขาน สืบทอดกันมาหลายช่วงอายุคนแล้วว่า มีชนกลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในป่าลึกห่างจากหมู่บ้าน ( หมู่ที่ 11 ในปัจจุบัน ) ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 10 กิโลเมตร ชื่อลำห้วยแม่ปะหลวงได้อพยพล่องไปตาสมลำห้วยแม่ปะหลวง มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านแม่ลานใต้ ( หมู่ที่ 12 ในปัจจุบัน ) และส่วนหนึ่งได้อพยพขึ้นมาอยู่ทางทิศเหนือของที่นา ชื่อว่านาโป่ง และได้ตั้งรกรากอยู่ร่วมกับพวกที่มาจากตำบลห้วยอ้อ และขนานนามว่าบ้านหัวนาโป่ง อีกส่วน หนึ่งก็มาจาก พะเยา – เชียงราย และลำปาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางทิศเหนือของบ้านหัวนาโป่ง และขนานนาม ว่าบ้านนาตองิ้ว ( หมู่ที่ 14 ในปัจจุบัน ) ประชากรเพิ่มขยายขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้มีชาวตำบลห้วยอ้ออพยพเข้ามา อยู่ด้วยตามตำนานผีหม้อและกลุ่มบ้านห้วยนาโป่งก็เข้ามาผสมด้วย ต่อมาในยุกต์การปกครองโดยพระยา ได้มีพระยามาปกครองเมืองลอง ได้มาสร้างบ้านอยู่ที่บ้านหัวนาโป่ง ปกครองเมืองลองเมื่อปี พ.ศ. 2398 ขึ้นกับขังหวัดลำปาง มณฑลพายัพ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระยา คนนี้ชื่อว่า “ พระยาคันธสีมา โลหะกิจ ” เป็นคนมาจากตำบลห้วยอ้อ ได้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึง ได้สร้างวัดขึ้น เป็นวิหารไม้ทั้งหลังเมื่อปี พ.ศ. 2408 เพื่อบำเพ็ญกุศล ชาวบ้านก็เรียกชื่อวัดนี้ตามผู้ชื่อผู้สร้างว่า “ วัดคันธารส “ ตั้งอยู่ห่างจากบ้านพะยาคันธสีมา โลหะกิจ ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 300 เมตร พระยาคันธสีมา โลหะกิจ ขึ้นปกครองเมืองลองได้เพียง 10 ปี ในปี พ.ศ. 2048 ขบถเงี้ยวเข้ามาปล้น เมืองแพร่และเมืองลอง ได้เข้าปล้นบ้านเจ้าพระยา และถูกขบถเงี้ยวใช้ดาบฟันคอขาดสะพายแล่ง คุณตาของ นายสุนทร นาระกันทา ( อายุประมาณ 16 – 17 ปี ) บวชเป็นสามเณรจำพรรษาอยู่ที่วัดคันธารส ได้ไปช่วยเจ้าพระยา โดยใช้ผ้าจีวรและสายประคต ไปห่อร่างเจ้าพระยา หมู่บ้านก็ขยายขึ้นเรื่อย ๆ จนมีการรวมบ้านหัวนาโป่งและบ้านนาตองิ้ว เรียกชื่อหมู่บ้านเสียใหม่ ว่าบ้าน แม่ลานเหนือ คือเรียกตามชื่อแม่น้ำแม่ลาน ที่ไหลผ่านหมู่บ้านทางทิศตะวันออกห่างจากหมู่บ้านและวัดประมาณ 500 เมตรวัดก็ถูกเปลี่ยนชื่อตามชื่อหมู่บ้านเป็น “วัดแม่ลานเหนือ” เหตุเพราะง่ายต่อการปฏิบัติงานทางฝ่าย พุทธจักรและอาณาจักรลำรับพระราชทาน “วิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2481” ในระยะการขยายตัวของหมู่บ้าน พ.ศ. 2474 ได้มีชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งประมาณ 20 คน มีนายแก้ว - นางมุ่ย นาระกันทา และพรรค พวกได้อพยพออกจากหมู่บ้านแม่ลาน กลุ่มบ้านนาตองิ้ว ไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ที่แถบลุ่มแม่น้ำแม่ลาน อาชีพทำไร่ ทำนา หาปลา อยู่ได้ไม่นานนักลูกหลานที่เกิดมาป่วยเป็นไข้ชักกระตุกล้มตายกันเป็นจำนวนมากโดย เฉพาะเด็กเล็ก ชาวบ้านทีอยู่ประมาณ 11 หลังคาก็เชื่อกันว่าผีป่าดุ บริเวณนั้นเป็นป่าอุดมสมบูรณ์มาก มีต้นไม้ ขนานใหญ่จำนวนมากและมีต้นไม้ใหญ่ชื่อว่า “ต้นเฉลียง” อยู่ต้นหนึ่ง จึงเชื่อว่าเป็นเพราะผีป่าคร่าชีวิตเด็ก ๆ ชาวบ้านทนไม่ไหวก็อพยพกลับเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านแม่ลานเหนืออีกครั้งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2480 ต่อมาก็มีการ เลือกผู้ใหญ่บ้านคนแรก ชื่อว่า “ปู่หล้าหลักหล้า” คนที่ 2 ชื่อว่า “ปู่หลักจันต๊ะ สอนแก้ว” อยู่บ้านนาตองิ้ว ตั้งโรงเรียนวัดแม่ลาน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2481 โดยใช้ศาลาวัดเป็นอาคารเรียน สอนโดย ครูชุ่ม สุภาแก้ว และ ครูล่วง ศิริช่าง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ได้ย้าย โรงเรียนวัดไปอยู่ทางทิศใต้ของวัดแม่ลานเหนือประมาณ 200 เมตร บนพื้นที่ 3 ไร่ 40 ตารางวา โดยนายคำน้อย ปิ่นไชยเขียว บริจาคที่ให้จึงได้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนบ้านแม่ลาน (ราษฎร์อุทิศ)” ตั้งแต่นั้นมา หมู่บ้านมีบ้านเลขที่เป็นครั้งแรก พ.ศ. 2496 โดยผู้ใหญ่บ้านชื่อว่า “นายอาจ กรรณิการ์” และได้เริ่ม นับบ้านเลขที่ของตนเป็นเลขที่ 1 หมู่ 11 ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และเรื่มนับบ้านแถบหัวนาโป่ง ก่อนแล้วจึงเรียงไปหาแถบบ้านนาตองิ้ว บ้านเรือนก็ได้ขยายขึ้นมาทางทิศเหนือเรื่อย ๆ ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2499 โรงเรียนบ้านแม่ลาน (ราษฎร์อุทิศ) ได้ย้ายมาตั้งอยู่บริเวณป่าทางทิศเหนือของหมู่บ้านแม่ลานเหนือ หมู่ 11 โดยมีครูใหญ่ชื่อว่า “นายสุเทพ ไชยมา” และผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้นคือ “นายอาจ กรรณิการ์” มีศูนย์กลาง การปกครองอยู่ทางตอนใต้ของหมู่บ้าน หมู่ 11 (บ้านหัวนาโป่ง) เป็นส่วนใหญ่ ต่อมาหมู่บ้านตอนเหนือ (บ้านนาตองิ้ว) มีความเจริญขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีคนเข้ามาอาศัยอยู่จำนวนมาก หมดยุคของผู้ใหญ่อาจ กรรณิการ์ ชาวบ้านทั้งหมดมีความเห็นชอบเลือกผู้ใหญ่บ้านใหม่ คือ “นายชุม พลเสริม” และ “นายศรีเมือง รินทา” และ หมู่บ้านก็ขยายขึ้นเรื่อย ๆ จนมีการรวมบ้านหัวนาโป่งและบ้านนาตองิ้ว เรียกชื่อหมู่บ้านเสียใหม่ ว่าบ้าน แม่ลานเหนือ คือเรียกตามชื่อแม่น้ำแม่ลาน ที่ไหลผ่านหมู่บ้านทางทิศตะวันออกห่างจากหมู่บ้านและวัดประมาณ 500 เมตรวัดก็ถูกเปลี่ยนชื่อตามชื่อหมู่บ้านเป็น “วัดแม่ลานเหนือ” เหตุเพราะง่ายต่อการปฏิบัติงานทางฝ่าย พุทธจักรและอาณาจักรลำรับพระราชทาน “วิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2481” ในระยะการขยายตัวของหมู่บ้าน พ.ศ. 2474 ได้มีชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งประมาณ 20 คน มีนายแก้ว - นางมุ่ย นาระกันทา และพรรค พวกได้อพยพออกจากหมู่บ้านแม่ลาน กลุ่มบ้านนาตองิ้ว ไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ที่แถบลุ่มแม่น้ำแม่ลาน อาชีพทำไร่ ทำนา หาปลา อยู่ได้ไม่นานนักลูกหลานที่เกิดมาป่วยเป็นไข้ชักกระตุกล้มตายกันเป็นจำนวนมากโดย เฉพาะเด็กเล็ก ชาวบ้านทีอยู่ประมาณ 11 หลังคาก็เชื่อกันว่าผีป่าดุ บริเวณนั้นเป็นป่าอุดมสมบูรณ์มาก มีต้นไม้ ขนานใหญ่จำนวนมากและมีต้นไม้ใหญ่ชื่อว่า “ต้นเฉลียง” อยู่ต้นหนึ่ง จึงเชื่อว่าเป็นเพราะผีป่าคร่าชีวิตเด็ก ๆ ชาวบ้านทนไม่ไหวก็อพยพกลับเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านแม่ลานเหนืออีกครั้งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2480 ต่อมาก็มีการ เลือกผู้ใหญ่บ้านคนแรก ชื่อว่า “ปู่หล้าหลักหล้า” คนที่ 2 ชื่อว่า “ปู่หลักจันต๊ะ สอนแก้ว” อยู่บ้านนาตองิ้ว ตั้งโรงเรียนวัดแม่ลาน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2481 โดยใช้ศาลาวัดเป็นอาคารเรียน สอนโดย ครูชุ่ม สุภาแก้ว และ ครูล่วง ศิริช่าง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ได้ย้าย โรงเรียนวัดไปอยู่ทางทิศใต้ของวัดแม่ลานเหนือประมาณ 200 เมตร บนพื้นที่ 3 ไร่ 40 ตารางวา โดยนายคำน้อย ปิ่นไชยเขียว บริจาคที่ให้จึงได้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนบ้านแม่ลาน (ราษฎร์อุทิศ)” ตั้งแต่นั้นมา หมู่บ้านมีบ้านเลขที่เป็นครั้งแรก พ.ศ. 2496 โดยผู้ใหญ่บ้านชื่อว่า “นายอาจ กรรณิการ์” และได้เริ่ม นับบ้านเลขที่ของตนเป็นเลขที่ 1 หมู่ 11 ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และเรื่มนับบ้านแถบหัวนาโป่ง ก่อนแล้วจึงเรียงไปหาแถบบ้านนาตองิ้ว บ้านเรือนก็ได้ขยายขึ้นมาทางทิศเหนือเรื่อย ๆ ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2499 โรงเรียนบ้านแม่ลาน (ราษฎร์อุทิศ) ได้ย้ายมาตั้งอยู่บริเวณป่าทางทิศเหนือของหมู่บ้านแม่ลานเหนือ หมู่ 11 โดยมีครูใหญ่ชื่อว่า “นายสุเทพ ไชยมา” และผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้นคือ “นายอาจ กรรณิการ์” มีศูนย์กลาง การปกครองอยู่ทางตอนใต้ของหมู่บ้าน หมู่ 11 (บ้านหัวนาโป่ง) เป็นส่วนใหญ่ ต่อมาหมู่บ้านตอนเหนือ (บ้านนาตองิ้ว) มีความเจริญขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีคนเข้ามาอาศัยอยู่จำนวนมาก หมดยุคของผู้ใหญ่อาจ กรรณิการ์ ชาวบ้านทั้งหมดมีความเห็นชอบเลือกผู้ใหญ่บ้านใหม่ คือ “นายชุม พลเสริม” และ “นายศรีเมือง รินทา” และ “นายหวัน สุรินทร์” ตามลำดับต่อมา