ประวัติ อำเภอลองเป็นเมืองเก่ามาแต่ก่อนพุทธกาลไม่สามารถว่าชนชั้นใดปกครองจับเอาความได้ว่าเริ่มสมัยชนชาติละว้า (ลัวะ) เข้ามามีอำนาจในดินแดนสุวรรณภูมิ ตามตำนานพระธาตุแหลมลี่กล่าวว่า เมื่อสมัยพระพุทธเจ้ามีพระชนมายุ 65 พรรษาได้เสด็จมาเมื่องนี้พร้อมด้วยพระอรหันต์ และตรัสว่าเมืองนี้ตั้งแต่เดิมชื่อว่า "กุกุฎไก่เอิก" (เมืองไก่ขัน) ต่อมาราวปีพุทธศักราช 1078 พระนางจามเทวีพระราชธิดากษัตริย์ผู้ครองเมืองละโว้ซึ่งเป็นพระมเหสี ของพระยารามัญผู้ครองเมืองอยุธยา (เมืองรามบุรี) ได้เสด็จมาครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน)ได้นำพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาทางชลมารค (ทางน้ำ) แต่แทนที่จะตามลำน้ำปิงขึ้นไปกลับมาทางแยกขึ้นตามลำน้ำยมมาขึ้นบกที่บ้านปากลอง (หมู่ที่ 5 ต.ปากกาง) และเหตุที่หลงทางได้ถกเถียงกันในเรื่องเส้นทางไปเมืองหริภุญชัยจึงขนานนามเมืองนี้ว่า "เมืองเววาภาสิต" และ จากการที่พระนางจามเทวีทรงตรัสว่า "ลองขึ้นไปก่อนเถอะ" คำว่า "ลอง" ที่พระนางจามเทวีทรงตรัสขึ้นมานั้นถูกนำมาเรียกชื่อเมืองใหม่ว่า "เมืองลอง" อีกชื่อหนึ่งอำเภอลองในยุคแรกๆ จึงตั้งอยู่ตำบลปากกางเดี๋ยวนี้ในขณะเดียวกันนี้พระนางจามเทวีได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นที่บริเวณ ห้วยอ้อ ซึ่งเป็น วัดศรีดอนคำ ในปัจจุบันต่อมา ในราวประมาณปีพุทธศักราช 1824 พระเจ้าเม็งรายมหาราชผู้ครองเมืองเชียงรายได้ทำสงคราม รบชนะเมืองต่างๆ ในล้านนาจนถึงเมืองลองและได้เมืองลองป็นเมืองขึ้นทรงเปลี่ยนชื่อเมืองลองใหม่เป็นชื่อ "เมืองเชียงชื่น" (สันนิษฐานว่าเนื่องจากมีแร่เหล็กและแร่ตะกั่ว ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า"จืน" มาก) และได้ตั้งพระยาเชิญเมือง เป็นผู้ครองนครขึ้นของเขลางค์นคร (ลำปาง) มีผู้ครองนครสืบต่อมาคือ พระยาหูหิ้น พระยายุธิฐิระมาหมื่นดังนคร พระยาหัวเมืองแก้ว ราวปีพุทธศักราช 2020 สงครามสงบพระยาหัวเมืองแก้วได้พาผู้คนย้ายจากเมืองเชียงชื่นมาตั้งใหม่ที่บ้านนาบ้านก่อน(บริเวณโรงเรียนห้วยอ้อปัจจุบัน) ราวปีพุทธศักราช 2030 ก็ได้ ย้ายเมืองใหม่อีกครั้งหนึ่ง มาตั้งที่เหล่าเวียง (ปัจจุบันคือบริเวณลำห้วยแม่กางบ้านนาจอมขวัญ) ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลับมาใช้ชื่อ "เมืองลอง" เหมือนเดิมต่อนั้นมามีผู้ครองเมือง คือ พระยาช้างแก้ว พระยาฟ้าป้อม พระยาฟ้าใหม่ ราวจนปี พุทธศักราช 2134 พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ ลำปาง และเลยมาถึงเมืองลอง พระยาฟ้าป้อมและพระยาฟ้าใหม่ตายในสนามรบ เมืองลองแตกและว่างผู้ครองเมืองอยู่ระยะหนึ่ง ราวปี พุทธศักราช 2140 เจ้าผู้ครองนครลำปางได้ตั้งบุรุษผู้หนึ่งซึ่งอาสาจับช้างลายเสือนำไปถวายเจ้าเมืองลำปาง และตั้งให้เป็นเจ้าเมืองลองให้ชื่อว่า พระยาช้างปาน ครองเมืองลอง ต่อมาราวปี พุทธศักราช 2160 ได้มีเจ้าผู้ครองเมืองสืบต่อมาคือ พระยาครุธราช พระยาจอมหัวค่ำ พระยาขุนท่า พระยาชัย พระยาคำลิ่มราวปี พุทธศักราช 2318 พระยาคำลิ่มถึงแก่อสัญกรรม ไม่มีผู้ปกครอง ลำปางจึงให้พระยาชื่นสมบัติมาครองเมืองโดยมีผู้ครองเมืองสืบต่อกันมาตลอด เพราะเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรล้านนาจนตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดจนสืบมา จนกระทั่งปีพ.ศ. 2445 พญาขัณฑสีมาโลหะกิจ เจ้าเมืองลองคนสุดท้าย ถูกพวกเงี้ยวฟันจนถึงแก่พิราลัยถือเป็นอันสิ้นสุดการปกครองแบบเจ้าเมือง เดิมอำเภอเมืองลองขึ้นกับนครลำปาง จนกระทั่งวันที่ 25 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2474 โอนอำเภอลองเข้ามาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่โดยแยกพื้นบางส่วนจัดตั้งเป็นอำเภอวังชิ้นและย้ายบ้านบ่อแก้วไปขึ้นกับอำเภอเด่นชัยจนถึงปัจจุบัน โดยมี ร.ต.อ.วิชิตชนบทวิบูลย์ (ทัศ สุชาเนนย์) เป็นนายอำเภอคนแรกอาณาเขต/ลักษณะทางกายภาพ ตำบลห้วยอ้อเป็นตำบลเก่าแก่มาตั้งแต่ปี พ.ศ.1824 ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาไทยเหนือ นับถือศาสนาพุทธตั้งอยู่ในเขตการปกครองอำเภอลอง จังหวัดแพร่ ประกอบไปด้วย 14 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแม่เกี่ยม บ้านแม่จองไฟ บ้านนาแก บ้านนาหลวง บ้านนาจอมขวัญ บ้านนาหม้อ บ้านดอนทราย บ้านห้วยอ้อ บ้านขวางเปา บ้านดอนมูล บ้านแม่ลานเหนือ บ้านแม่ลานใต้ บ้านนาไผ่ บ้านแม่ลานพัฒนา 1. พื้นที่ ของตำบลห้วยอ้อ - ทิศเหนือ ติดกับ ต.บ้านปิน อ.ลอง จ.แพร่ - ทิศใต้ ติดกับ ต.ปากกาง อ.ลอง จ.แพร่ - ทิศตะวันออก ติดกับ ต.แม่ปาน อ.ลอง จ.แพร่ - ทิศตะวันตก ติดกับ ต.หัวทุ่ง อ.ลอง จ.แพร่

2. แหล่งน้ำที่สำคัญ/แหล่งทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ -ลำน้ำยม
3. ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศของตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ จัดอยู่ในลักษณะแบบฝนเมืองร้อน เฉพาะ ฤดูฝนหรือแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน บริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตร่องอากาศเขตร้อน ปริมาณและการกระจายของฝน จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม 2 ประเภท คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุกและลมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่นำเอาอากาศหนาวและแห้งแล้ง จากประเทศจีนมาปกคลุมทั่วบริเวณภาคเหนือ ของประเทศไทย นอกจากนี้เนื่องมาจากลักษณะพื้นที่ของตำบลห้วยอ้อ เป็นแอ่งคล้ายก้นกระทะลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา จึงทำให้สภาพอากาศแตกต่างกันมาก ลักษณะภูมิอากาศของตำบลห้วยอ้อ แบ่งเป็น 3 ฤดูกาล ฤดูหนาว เริ่มในเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ร้อน เริ่มประมาณเดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม
4. การปกครอง - บริหารงานชุมชน โดยเทศบาลตำบลห้วยอ้อ- บริหารงานชุมชน โดยเทศบาลแม่ลานนา5. ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน 5.1 การคมนาคม 5.1.1 กศน.ตำบลมีระยะห่างจาก ศูนย์ กศน.อำเภอลอง ..........200................เมตร 5.1.2 กศน.ตำบลมีระยะห่างจาก สำนักงาน กศน.จังหวัดแพร่....40................กิโลเมตร 5.1.3 ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก...........11...........................สาย 5.1.4 ถนนลาดยาง...............................4...........................สาย 5.1.5 ถนนลูกรัง...................................1...........................สาย 5.2 ด้านสาธารณสุข 5.2.1 สถานพยาบาล จำนวน........................-...................แห่ง 5.2.2 คลินิก จำนวน......................................6..................แห่ง 5.2.3 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล........1..................แห่ง 5.2.4 โรงพยาบาล 5.2.4.1 โรงพยาบาลของรัฐ..................1............. แห่ง 5.2.4.2 โรงพยาบาลเอกชน..................-............ แห่ง 5.3 ด้านศาสนา 5.3.1 วัด จำนวน.........................................10....................แห่ง 5.3.2 โบสถ์ จำนวน....................................10....................แห่ง 5.3.3 สำนักสงฆ์/สถานปฏิบัติธรรม............-....................แห่ง
6. สภาพทางสังคมในตำบลห้วยอ้อ 6.1 จำนวนหมู่บ้านในตำบลห้วยอ้อมี 1๔ หมู่บ้าน 1 บ้านแม่เกี่ยม 2 บ้านแม่จองไฟ 3 บ้านนาแก 4 บ้านนาหลวง5 บ้านนาจอมขวัญ 6 บ้านนาหม้อ 7 บ้านดอนทราย 8 บ้านห้วยอ้อ 9 บ้านคอกช้าง 10 บ้านดอนมูล 11 บ้านแม่ลานเหนือ 12 บ้านแม่ลานใต้ 13 บ้านนาไผ่ 14 บ้านแม่ลานพัฒนา 7. สภาพด้านการศึกษาในชุมชน/ตำบล 7.1 สถานศึกษาในตำบลห้วยอ้อ มี.........................4.............................แห่ง ของรัฐบาล........3..........แห่ง เอกชน...........1.............แห่ง -ระดับประถมศึกษา................3................แห่ง -ระดับมัธยมศึกษา..................1................แห่ง 7.2 บ้านหนังสือชุมชนในตำบล มี........6.....แห่ง 7.3 ผู้ไม่รู้หนังสือในตำบลห้วยอ้อมี..........13.............คน ชาย..........7.........คน หญิง.......6.......คน 7.4 ผู้ไม่จบชั้นประถมศึกษาในตำบล มี.......1,650....คน ชาย........830........คน หญิง......820....คน 7.5 ผู้ไม่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในตำบลมี....2,050..คน ชาย....1,000.....คน หญิง...1050...คน 7.6 ผู้ไม่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มี.......1250........คน ชาย... 600......คน หญิง........65...คน
8. สภาพทางเศรษฐกิจในชุมชน/ตำบล 8.1 อาชีพหลักของคนในตำบลห้วยอ้อ - ทำไร่ - ทำสวน - ทำนา - ค้าขาย - ปศุสัตว์ - รับจ้าง
9. แหล่งเรียนรู้และภาคีเครือข่าย แหล่งเรียนรู้1.วัดศรีดอนคำ สิ่งเรียนรู้ทางภูมิปัญญา2.วัดดอนมูล สิ่งเรียนรู้ทางภูมิปัญญา3.โรงงานตะเกียบ ศึกษาขั้นตอนการผลิตตะเกียบจากไม่ไผ่4.ศูนย์เรียนรู้ผ้าตีนจก ด้านวัฒนธรรมและความเป็นมาของผ้าตีนจก5.ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติ MOA บ้านแม่ลานเหนือ ด้านการเกษตร6.ศูนย์เรียนรู้ผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ ด้านการอนุรักษ์หัตถกรรมพื้นบ้าน
ภาคีเครือข่าย1.โรงพยาบาลอำเภอลอง2.สถานีตำรวจภูธรอำเภอลอง3.วัดและสำนักสงฆ์4.โรงเรียนประถมศึกษาและขยายโอกาส5.เทศบาลตำบลห้วยอ้อ6.เทศบาลตำบลแม่ลานนา


ข้อมูลทั่วไปชื่อกศน.ตำบล : กศน.ตำบลห้วยอ้อสังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลอง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดแพร่ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการสถานที่ตั้ง : ม.6 ถนนจรูญลองรัฐ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ รหัสไปรษณีย์ 54150 E-Mail : 254ed000125@dei.ac.thWebsite : http://huayor.longnfe.go.thชื่อ ครู กศน.ตำบล : นางสาวขวัญฤทัย เขื่อนจะนะ วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ โทรศัพท์ 093-2458949 E-Mail : Kwan_tp1@hotmail.co.comลักษณะอาคาร : ( ) เอกเทศ ( / ) อาศัยแต่มีสัดส่วนชัดเจน ( ) อาศัยแต่ไม่มีสัดส่วนชัดเจน

บริบททั่วไป