หัตถกรรมไทย หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้นด้วยฝีมือมนุษย์ หรือกระบวนการผลิตสิ่งของด้วยมือ ที่ใช้แรงงานฝีมือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต วัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์โดยเฉพาะ มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ขึ้นมาเพื่อสนองความจำเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยอาศัยแรงงานจากมือของตน ดัดแปลงวัตถุดิบที่มีอยู่ในธรรมชาติใกล้ตัว เพื่อให้มีรูปร่างประโยชน์ใช้สอยได้เหมาะสม จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างงานหัตถกรรม เมื่อมีการผลิตซ้ำๆ กันมากจนเกิดความชำนาญ และถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง มีการใช้เทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นตามความก้าวหน้าของยุคสมัยนั้นๆ มาพัฒนากระบวนการผลิตหัตถกรรมให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ตลาดจนการปรุงแต่งความงามของศิลปะในงานหัตถกรรมเพื่อสนองความต้องการทางจิต ใจ และคตินิยมความเชื่อ รวมทั้งประโยชน์ใช้สอยให้สอดคล้องกัน ผลงานอันเกิดจากการกระทำด้วยฝีมือมนุษย์ โดยนำวัตถุดิบที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน งานหัตถกรรมจะมีการพัฒนารูปแบบไปตามการพัฒนาฝีมือของช่าง ที่สั่งสมประสบการณ์ และสืบทอดความรู้ ความชำนาญ จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาและทักษะ ส่งผลให้งานหัตถกรรมมีความงามและมีคุณค่าทางศิลปะ งานหัตถกรรมจึงกลายเป็นงานศิลปหัตถกรรม ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันจนไม่อาจแยกออกจากกันได้ศิลปหัตถกรรม มีความสัมพันธ์ ที่มีคุณค่าทางศิลปะ วิทยาศาสตร์ สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ สืบทอดเป็นมรดกของคนในชาติไทย อาชีพงานหัตถกรรมจากผ้าพื้นเมือง จึงเป็นอาชีพหนึ่งที่จะเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้โดยการใช้เวลาว่างจากการประกอบอาชีพมาสร้างรายได้ และการมีงานทำอย่างยั่งยืนให้กับประชาชน ในชุมชน ตำบลห้วยอ้อ ได้ฝึกอาชีพงานหัตถกรรมจากผ้าพื้นเมือง และสามารถทำออกมาจำหน่ายได้ด้วยเองในครัวเรือน สามารถการจำหน่ายได้ สรุปกิจกรรมโครงการอบรมการจัดการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบชั้นเรียนระยะสั้น ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 1 อำเภอ 1 อาชีพ วิชา หัตถกรรมจากผ้าพื้นเมือง ชุมชนบ้านแม่ลานเหนือ เป็นชุมชนที่ตะหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการเรียนรู้ของคนในชุมชน จึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ตามความต้องการของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั่งที่เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากคนในชุมชนด้วยกัน จากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนต่างๆ เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ความสามารถของคนในชุมชนให้ได้รับโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับศักยภาพ วิถีชีวิตและบริบทของชุมชน ในการดำเนินงานที่ผ่านมา กศน.อำเภอลอง ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะด้านอาชีพผ่านโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งอาชีพ หลักสูตร หัตถกรรมผ้าพื้นเมือง จำนวน 50 ชั่วโมง เป้าหมายประชาชนในพื้นที่ 20 คน การแกะลายผ้าซิ่นตีนจกโบราณ (ลายซิ่นถิ่นพญาเมืองลอง) จำนวน 50 ชั่วโมง เป้าหมายประชาชนในพื้นที่ 20 คน การศึกษาเพื่อการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ หลักสูตร การทำกระเป๋าย่ามจากผ้าหม้อห้อม จำนวน 40 ชั่วโมง เป้าหมายประชาชนในพื้นที่ 20 คน และการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ หลักสูตร การทำพวงกุญแจจากเศษผ้าหม้อห้อม จำนวน 30 ชั่วโมง เป้าหมายประชาชนในพื้นที่ 20 คน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน และเป็นการต่อยอดอาชีพสร้างรายได้เสริมให้กับประชาชนในชุมชน
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนต้นแบบ
  1. มีการจัดทำแผนการผลิต
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนต้นแบบมีการวางแผนการผลิต เริ่มต้นด้วยความต้องการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการแกะลายผ้าซิ่นถิ่นพญาเมืองลองจากทายาทของชุมชน เพื่อเป็นต้นแบบ จากนั้นมีการพัฒนาโดยการนำผ้าตีนจกเพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชนหลากหลายโดยประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ผ้าด้นมือ เช่น กระเป๋า พวงกุญแจ ของที่ระลึก ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการวางแผนการจัดจำหน่ายในร้านค้าชุมชน ออกบูทร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ขายออนไลน์ ผ่านทาง เฟสบุ๊ค แฟนเพจ และ ไลน์ไอดี เมื่อมีคำสั่งซื้อจากลูกค้าก็มีการแบ่งงานกันทำ เช่น แผนกทอผ้าตีนจก แผนกเย็บตัวกระเป๋า แผนกเย็บซิบ แผนกประกอบ2. มีการส่งเสริมการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาผลิตเป็นสินค้าของชุมชน เช่น กลุ่มหัตถกรรม
  • นำผ้าตีนจกและผ้าหม้อฮ่อมมาทำเป็น ผ้าซิ่นตีนจก
  • นำผ้าตีนจกและผ้าหม้อฮ่อมมาประยุกต์เข้าด้วยกันทำเป็น กระเป๋าย่าม
  • นำผ้าตีนจกและผ้าหม้อฮ่อมมาทำเป็น พวงกุญแจ ของชำร่วยศูนย์เกษตรธรรมชาติ
  • นำมูลสัตว์(มูลวัว มูลสุกร) มาทำเป็นปุ๋ยอินทร์เพื่อใช้เป็นปุ๋ยและจำหน่าย
  • ผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในการเกษตร
  • ใช้ดอกหญ้ามาทำเป็นไม้กวาดดอกหญ้า
  • มีผลิตภัณฑ์ “สินค้าเกษตรอินทรีย์” ปลอดสารพิษ
3. มีกระบวนการผลิตสินค้าตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดกลุ่มหัตถกรรม
  • ผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมของบ้านแม่ลานเหนือมีการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ เลขที่ 6-54-03-01/1-0070
4. มีกระบวนการออกแบบการบรรจุสินค้า ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดกลุ่มหัตถกรรม
  • มีการออกแบบโลโก้ มีสติ๊กเกอร์ของผลิตภัณฑ์ บอกที่มาของผลิตภัณฑ์และคุณประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
รูปโลโก้เป็นรูประเบิด ครอบด้วยวัดศรีดอนคำ ฐานด้านล่างเป็นผ้าตีนจกศูนย์เกษตรธรรมชาติ
  • ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

5. มีการจัดการสอนด้านอาชีพเพิ่มเติมให้กับสมาชิกในชุมชนต้นแบบ
  • โครงการ Smart Farmer เพื่อสร้าง Smart ONIE เป็นการพัฒนาแกนนำกลุ่มอาชีพในชุมชน
  • โครงการอบรมส่งเสริมการเรียนรู้ประเพณี วัฒนธรรม สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาสังคมชุมชน โดยการศึกษาเรียนรู้จากหมู่บ้านนวัตวิถี อ.ปัว จ.น่าน
  • โครงการอบรมพัฒนาสังคมชุมชนการเย็บกระเป๋าจากเศษผ้าทอ
  • โครงการอนุรักษ์ลายผ้าซิ่นตีนจกโบราณและการแปรรูปให้เป็นของที่ระลึก(ลายผ้าซิ่นถิ่นพญาเมืองลอง)
  • จัดการศึกษาต่อเนื่องรูปแบบวิชาชีพระยะสั้น หลักสูตร 40 ชั่วโมง วิชาการทำกระเป๋าย่ามจากผ้าหม้อฮ่อม
  • จัดการศึกษาต่อเนื่องรูปแบบกลุ่มสนใจ หลักสูตร 30 ชั่วโมง วิชาการทำพวงกุญแจจากเศษผ้าหม้อฮ่อม
  • โครงการ 1 อำเภอ 1 อาชีพ หลักสูตร 50 ชั่วโมง วิชาพัฒนากระเป๋าจากเศษผ้าทอลายซิ่นถิ่นพญาเมืองลอง
6. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน
  • มีการรวมกลุ่มเพื่อประชุม วางแผน จัดตั้งกลุ่มสมาชิกให้เป็นรูปแบบวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ
  • ผู้นำชุมชนมีการสนับสนุน ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เป็นที่รู้จัก ทั้งในชุมชน นอกชุมชน ระดับอำเภอ จนถึงระดับประเทศ และมีหน่วยงานเครือข่ายสนใจมาดูงาน เช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เกษตรจังหวัดแพร่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กศน.อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มูลนิธิเอ็มโอเอ (MOA)

7. มีการใช้สื่อ และเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้และเป็นช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน
  • กศน.อำเภอลองจัดโครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและดิจิทัลคอมเมิร์ซ) เพื่อแนะนำและสอนการใช้สื่อออนไลน์ เพื่อช่วยการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า
  • ศึกษาและประดิษฐ์เครื่องรดน้ำอัตโนมัติเพื่อควบคุมในการรดน้ำ
  • มีโรงเรือนระบบปิด EVAP ในการปลูกพืชปลอดสารพิษ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานเครือข่าย


การสร้างรายได้และการพัฒนาต่อยอด1. มีการวางแผนการตลาดเพื่อการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ กระบวนการวางแผนการตลาด มีการวิเคราะห์สถานการณ์ การพิจารณาวัตถุประสงค์ทางการตลาด การเลือกตลาดเป้าหมายและวัดขนาดความต้องการซื้อของตลาด ระดับชุมชน ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด การออกแบบส่วนประสมทางการตลาดและ การจัดเตรียมแผนการตลาดและยังรวมถึงการโปรโมทสินค้าผ่านทางโซเชียลมีเดีย และออกบูธจำหน่ายสินค้าและแสดงสินค้า อาทิเช่น ออกบูธอำเภอเคลื่อนที่บูรณาการร่วมกับ กศน.อำเภอลอง,แสดงและจำหน่ายสินค้าร่วมกับ สำนักงานเกษตรอำเภอลอง, พัฒนาชุมชน, อำเภอลอง, หอการค้าจังหวัดแพร่
2. มีการจัดการสอนเกี่ยวกับการทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ของสมาชิกในชุมชนหรือบุคคล กศน.อำเภอลอง บูรณการร่วมกับอำเภอลองออกประชาคม เวทีไทยนำยม ยั่งยืน ให้ความรู้ในหัวข้อ วิถีไทยวิถีพอเพียง สร้างความเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างวินัยการออม ให้ความรู้การทำบัญชีรายรับจ่ายในครัวเรือนและกลุ่มผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ เพื่อให้ประชาชนพัฒนาเศรษฐกิจระดับครัวเรือน ระดับชุมชน การทำบัญชีครัวเรือนอย่างยั่งยืนได้ กลุ่มผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือได้นำเทคนิคและกระบวนการการทำบัญชีรายรับรายจ่ายมาปรับใช้ในกลุ่มอย่างเป็นระบบถูกต้องชัดเจนแม่นย้ำและเป็นปัจจุบันเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข้งและยั่งยืน
3. มีการจัดทำทะเบียนรายชื่อผลิตภัณฑ์ มีบัญชีรายชื่อผลิตภัณฑ์ในชุมชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าพื้นเมือง (พวงกุญแจจากเศษผ้าหม้อห้อม การทำกระเป๋าถุงย่ามจากลายผ้าซิ่นและลายผ้าห้อมห้อม กระเป๋าจากผ้าซิ่นตีนจกลายโบราณ การแกะลายผ้าซิ่นตีนจกโบราณ(ลายผ้าซิ่นถิ่นพญาเมืองลอง การทอผ้าซิ่นตีนจก)
4. มีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ในการดำเนินงานของชุมชนต้นแบบ 1.) การแสดงผลงานชุมชนต้นแบบการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ของสำนักงาน กศน. ชุมชนต้นแบบ หมู่ที่ 11 บ้านแม่ลานเหนือ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 2.) การแสดงผลงานผู้ประสบความสำเร็จโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชนประจำ กศน.จังหวัดแพร่ จากการขายออนไลน์ ประเภทผลิตภัณฑ์และหัตกรรมจากผ้าพื้นเมือง โดยใช้ชื่อเพจ “ผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ” 3.) การแสดงผลงานกระเป๋าจากผ้าซิ่นโบราณ ในงานการประกวดกระเป๋าชาติพันธุ์ จัดโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2561 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ของภาคเหนือ (ล้านนาตะวันออก) 4.) มีการประชาสัมพันธ์ผ่าน Line Facebook และแฟนเพจFacebook โดยใช้ชื่อเพจ ผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ
5. มีการนำผลิตภัณฑ์ของชุมชนไปสู่สินค้าโอทอป หรือไปวางจำหน่ายในพื้นที่อื่นๆภายนอกชุมชน กลุ่มผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือร่วมกันพัฒนา คุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นสู่สากลให้เป็นที่เป็นต้องการของตลาด และได้จัดจำหน่ายสินค้าภายในชุมชนและภายนอกอาทิเช่น อำเภอเคลื่อนที่, ตลาดนัดชุมชนนววิถี, และการค้าออนไลน์
6. มีการจัดทำรายงานการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในชุมชน และเก็บเป็นข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือมีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างต่อเนื่อง และมีการรายงานจำหน่ายผลิตภัณฑ์
7. มีการใช้สื่อ และเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และเป็นช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน กศน.อำเภอลอง ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจดิจิทัลการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลคอมเมิร์ซ วันที่ 9-10, 11-13 กรกฎาคม พ.ศ.2561 ณ ศูนย์ กศน.ตำบลปากกาง เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีให้กับชุมชน ให้ประชาชนมีการใช้สื่อออนไลน์ (Youtube, Google) และเครือข่าย Facebook การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อศึกษาเรียนรู้เทคนิค วิธีการ เพื่อนำมาต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้าชุมชน และเป็นการประชาสัมพันธ์พื้นที่ให้เป็นที่รู้จัก ทำให้สินค้าบ้านแม่ลานติดตลาดภายใน 9 เดือน และสามารถสั่งซื้อผ่าน แฟนเพจFacebook โดยใช้ชื่อเพจ ผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ

การติดตามประเมินผลในชุมชนต้นแบบ
  1. มีการติดตามผลการดำเนินงานชุมชนต้นแบบ
การติดตามผลการดำเนินงานของชุมชนต้นแบบ เป็นการติดตามและประเมินผลในส่วนของชุมชนเองที่ได้รับจากการประชุมร่วมกันทุกระยะ และ กศน.อำเภอลองมีการติดตามผล โดยแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ อย่างต่อเนื่องทุกกิจกรรม สม่ำเสมอทั้งในรูปแบบการสังเกต สอบถาม ตลอดจน มีการศึกษาแลกเปลี่ยนดูงานจากหน่วยงานอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง และการนิเทศติดตามของสถานศึกษาต้นสังกัด
  1. มีการนำผลการดำเนินงานไปพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง
ชุมชนให้ความสำคัญกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และ กศน.ตำบล เข้าไปส่งเสริมให้ความรู้เพิ่มเติม แนะนำวิธีการเป็นวิทยากรให้ความรู้ในชุมชน สามารถขยายผลต่อยอดไปยังตำบลต่างๆที่ใกล้เคียง และกระบวนการจัดกิจกรรมรองรับการศึกษาดูงาน เช่น คณะเจ้าหน้าที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย คณะสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภันฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กอ.รมน. จังหวัดแพร่ เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในการรองรับผู้เข้ามาศึกษาดูงาน โดยใช้ผลผลิตในชุมชน และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่อีกด้วย
  1. จัดทำแบบประเมิน แบบสอบถาม
ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของชุมชนต้นแบบ กศน. ได้ใช้เครื่องมือตามคู่มือการจัดการศึกษาต่อเนื่อง และการอบรมประชาชน เพื่อการติดตามและประเมินผลในหลากหลายรูปแบบได้แก่ การสังเกต การสอบถาม และการใช้แบบสอบถาม เพื่อประเมินความพึงพอใจของคนในชุมชน และนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดจากกิจกรรมการเรียนรู้ให้เป็นชุมชนต้นแบบที่เข้มแข็งยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง