กลองปูจา

กลองปูจา

        กลองปูจา คนล้านนานั้น เชื่อว่าเป็นกลองที่อยู่ในวัดเพื่อใช้ตีบูชา             สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามโอกาสต่าง ๆ เช่น ตีในคืนวันโกน 7 ค่ำ 14 ค่ำ และช่วงเข้าพรรษา เป็นสัณญาณบ่งบอกเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสรวงสวรรค์ เปรต สัมภะเวสี ตลอดจนมนุษย์ทั้งหลายได้รับรู้ว่าวันรุ่งขึ้นจะเป็นวันพระ การตีกลองปูจาในคืนก่อนวันพระของศรัทธาชาวบ้านถือว่าเป็นการค้ำจุนศาสนาอย่างหนึ่ง ผู้ที่มีบทบาทหน้าที่โดยตรง เช่นตีกลอง หรือบทบาทอื่นโดยมิได้เข้าร่วมประโคมฆ้อง กลอง แต่ได้ทำหน้าที่ทางอ้อม เป็นผู้อยู่เบื้องหลังให้การสนับสนุน เช่นบริจาคเครื่องดนตรี บริจาคอุปกรณ์เครื่องดนตรี  ซ่อมแซมอุปกรณ์  เป็นต้น การได้มีส่วนร่วมย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ได้เกื้อกูล หนุนค้ำพระพุทธศาสนา ให้มั่นคงยั่งยืน ย่อมได้รับอานิสงส์ผลบุญด้วย  เช่นกัน จากคำบอกเล่าของนายจัด หมื่นศรี ครูภูมิปัญญาแห่งบ้านสันมะกรูด ตำบลบ้านแป้น เล่าว่ากลองปูจามีความสำคัญเป็นกลองแห่งความเป็น       สิริมงคล เชื่อกันว่าผู้ที่ได้ยินเสียงกลองปูจาจะอยู่เย็นเป็นสุข สมัยก่อน   การทำกลองปูจาเมื่อทำเสร็จแล้วชาวบ้านจะผลัดเปลี่ยนเวรกันมาตีกลองอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน การตีกลองไม่ได้ตีเฉพาะกลองปูจา  เพียงอย่างเดียว แต่มีกลองตุบ กลองต่ะ กลองลูกปลด และกลองปูจา และฉาบร่วมด้วย

กลองตัวเล็ก เรียกว่ากลองตุบ กลองต่ะ

การขึงหนังหน้ากลองแบบดังเดิมโดยการใช้ไม้ปักตามรูกลอง


ข้อมูลเนื้อหา :

เรียบเรียงข้อมูล/เนื้อหา : นางณัฏฐ์ปาณี ราชา ครู กศน.ตำบล

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ : นางณัฏฐ์ปาณี ราชา

วันที่สร้างบทความ : 11 มีนาคม 2567