ผ้าทอตีนจก

ชื่ออาชีพ ผ้าทอตีนจกบ้านปวง

รายละเอียดของผู้ประกอบอาชีพ   นางบัวคำ  แก้ววงค์  อยู่บ้านเลขที่  36   หมู่ที่  7  ตำบลบ้านปวง  

                                                 อำเภอทุ่งหัวช้าง     จังหวัดลำพูน  

สถานที่ตั้ง  กศน.ตำบลบ้านปวง หมู่  7  ตำบลบ้านปวง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

กระบวนการผลิต 

เป็นผ้าทอพื้นเมืองของชาวหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นที่นิยมกันว่ามีความประณีต งดงาม ต้องใช้ความพยายาม และเวลาในการทออย่างมาก คำว่า ซิ่น หมายถึง ผ้าทอเป็นผ้าถุง ตีนจก หมายถึง ผ้าที่ทำเชิงเป็นลวดลายต่างๆ อย่างสวยงาม นำไปเย็บต่อกันกับซิ่น เรียกว่า ผ้าซิ่นตีนจก คำว่า จก ในที่นี้หมายถึงอาการที่ใช้ขนเม่น ชนิดที่แข็งแยกเส้นด้ายยืนของหูกสอดขึ้น หรือล้วงลงไปตามด้ายยืนที่แยกควักขึ้นลงตลอดความกว้างของด้ายยืน เพื่อจะได้มีลวดลายตามที่ต้องการ แล้วทอสลับกันไปตามที่ต้องการ

วัสดุ 

        วัสดุที่ใช้ในการทอนั้น ในสมัยก่อนจะใช้เส้นด้ายที่ผลิตขึ้นเองโดยการปลูกฝ้าย นำมาทำเป็นเส้นด้ายด้วยเครื่องมือที่ทำเอง วิธีนี้จะช้าและได้เส้นด้ายที่ไม่สม่ำเสมอ ในปัจจุบันจึงนิยมทอด้วยเส้นด้ายที่ผลิตจากโรงงาน

วิธีการทำ 

๑. คัดเลือกปุยฝ้าย ผึ่งให้แห้งสนิท แล้วหีบแยกเมล็ดกับปุยฝ้าย 

๒. ยิงฝ้าย คือ ทำฝ้ายให้พองตัวโดยใช้อุปกรณ์คือ กงฝ้าย ลักษณะคล้ายคันธนู 

๓. ล้อมฝ้าย โดยใช้ไม้กลมๆ คล้ายตะเกียบ ม้วนฝ้ายเป็นม้วนกลมๆ 

๔. เข็นฝ้าย ต้องใช้ความชำนาญในการส่งด้ายเข้าหมุนเพื่อเส้นด้ายจะได้สม่ำเสมอ ไม่เป็นปุ่ม จนกระทั่งได้ด้ายเป็นกลุ่มหลอดด้าย 

๕. เปียฝ้าย นำด้ายมาทำเป็นไจ หรือเป็นเข็ด อุปกรณ์ที่ทำด้ายเป็นไจ เรียกเปียเมื่อเพียงพอแก่ความต้องการแล้วเรียก เข็ดหนึ่ง นำมาย้อมสี แล้วต้มในน้ำข้าวผึ่ง แดดให้แห้งนำมาทอโดยใช้เครื่องทอ เรียกว่า หูก 

๖. การทอจะมีด้ายแนวยืนกับแนวขวาง แนวยืน ด้ายที่เป็นแนวยืน นำมาใส่ใน กวัก หรือ กวักฝ้าย แล้ว คัน คือนำด้ายมาเรียงยืนตามความกว้างยาวที่ต้องการ ต่อด้ายเครือหูกให้ติดกับด้ายฟืมซึ่งมีลักษณะเป็นฟันซี่ๆ คล้ายหวี สำหรับสอดด้ายและไหม ใช้กระทบด้ายและไหมประสานกัน เรียกว่า สืบหูก จากนั้นนำไปเข้า กี่ หรือเครื่องสำหรับทอ พร้อมที่จะทอ แนวขวาง นำด้ายมาพันไม้ก้อหลอดหรือกรอหลอด เรียกว่า กรอหลอดด้าย อุปกรณ์กรอ ก็คือ หลา นำไปใส่ในกระสวยพุ่งขวางไป - มาตามฟืม ผ้าซิ่นตีนจกนั้นมีลวดลายงดงามแปลกตา นับเป็นเอกลักษณ์ของชาวหาดเสี้ยวที่คิดค้นลวดลาย ๙ ลาย เรียกว่า ๙ หน่วย คือ ลายสี่ขอ ลายแปดขอ ลายเครือน้อย ลายเครือกลาง ลายเครือใหญ่ (เหย่อ) ลายน้ำอ่าง ลายสิบสองหน่วยตัด ลายสิบหก ลายสองห้อง ปัจจุบันได้คิดประดิษฐ์ลวดลายแปลกใหม่มากกว่าเดิม

การประยุกต์ใช้ 

นอกจากจะนำมาใช้เป็นผ้าถุงแล้ว ยังประยุกต์ใช้เป็นเครื่องใช้อื่นๆ อีกมากมาย เช่น เสื้อ กระโปรงแบบสากล กระเป๋าสุภาพสตรี เนคไท ผ้าพาดบ่า ฯลฯ

กศน.ตำบลบ้านปวง