แห่ช้างเผือก

ประเภทวัฒนธรรม     แห่ช้างเผือก    

ประวัติความเป็นมาของวัฒนธรรม    

ประเพณีแห่ช้างเผือก ที่ ต.บ้านปวง ทุ่งหัวช้าง โดยประชาชนจะทำเป็นรูปช้างตัวน้อยๆ แล้วเอานุ่นมาติดรอบๆตัวให้เหมือนว่าเป็นช้างเผือก  แล้วทำการแห่ไปยังวัดเพื่อขอฝน อีกทั้งมีการใส่ปัจจัย เพื่อถวายวัดอีกด้วย     (โดยงานนี้มีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ได้จัดทำมา 11 ตัว)

จากวัดสู่วัด ชุมชนสู่ชุมชน เพื่อรวมใจให้เป็นหนึ่ง ในการฟื้นฟูสายน้ำลี้ให้ไหลรินอีกครั้ง เป็นเวลากว่า 3 ปีแล้ว ที่ชาวบ้านตำบลบ้านปวง อำเภอทุ่งหัวช้าง ร่วมกันดูแลและฟื้นฟูป่าชุมชนแห่งนี้ และวันนี้ถือว่าเป็นวันพิเศษที่ชาวบ้านจากบ้านสันดอนฮอม ตำบลบ้านปวง มาช่วยกันปลูกป่า แน่นอนว่า การแห่ช้างเผือกคงไม่ใช่เป็นเพียงพิธีกรรมที่จัดขึ้นและจบไปเมื่อถึงต้นน้ำเท่านั้น แต่จะเป็นจุดเริ่มต้น ของการค้นหาเครือข่ายความร่วมมือในทุกภาคส่วน ร่วมกันศึกษาปัญหา ข้อเท็จจริง และช่วยกันดูแลรักษา เพื่อนำไปสู่การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ลุ่มน้ำลี้ อย่างยั่งยืนต่อไป

ทุกเรื่องของวัฒนธรรม แฝงหรือซ่อนไว้ด้วยความดีทั้งนั้น ในอนาคตน้ำน่าจะเป็นกรณีที่มีความรุนแรงขัดแย้งสูง เพราะฉะนั้นช้างเผือกคงแฝงไว้ด้วยความสามัคคี คุณธรรม แต่ช้างเผือกคงเป็นการเชื่อมโยงไปสู่เรื่องการฟื้นฟู ก็ต้องมาพัฒนาคนก่อน โดยใช้วัฒนธรรมเป็นตัวสื่อ เป็นตัวเครื่องมือในการทำให้คนมีสำนึกมีจิตใจอยากร่วมช่วยเหลือกัน อยากสามัคคี อยากฟื้นฟู และกลับมาเป็นหมู่เดียวกัน เป็นพวกเดียวกัน

 

สถานที่ตั้ง    บ้านปวง  หมู่ที่ 7  ตำบลบ้านปวง  อำเภอทุ่งหัวช้าง  จังหวัดลำพูน