1.2 ประเภทของการเชื่อมต่อเครือข่าย (Categories of Topology)
ปัจจุบันการเชื่อมต่อที่นิยมและใช้งานจะมีอยู่ 4 ประเภท คือ Mesh, Start, Bus, Ring ซึ่งการเชื่อมต่อแต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ดังนี้
รูปที่ 1.6 ประเภทของการเชื่อมต่อเครือข่าย
1.2.1 การเชื่อมต่อแบบ Mash Topology คือ การเชื่อมต่อจะเชื่อมสายสัญญาณทุกเส้นถึงกันทั้งหมด
ข้อดี
ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งไม่สามารถใช้งานได้จะไม่ส่งผลกระทบกับเครื่องอื่นๆ
เมื่อต้องการส่งข้อมูลไม่จำเป็นต้องรอสามารถส่งข้อมูลได้ทันที
มีความน่าเชื่อถือสูง
ข้อเสีย
สิ้นเปลืองสายสัญญาณที่เชื่อต่อเป็นอย่างมาก
ไม่สะดวกเมื่อต้องการย้ายสถานะที่ตั้งของเครื่องใหม่
เปลืองพอร์ตสำหรับใช้เชื่อมต่อ เช่น ใช้ Network card มากกว่า 1 ใบ
ถ้าจำนวนสายสัญญาณมาก ๆ จะไม่สะดวกในการจัดให้เป็นระเบียบ
รูปที่ 1.7 การเชื่อมต่อแบบ Mash
1.2.2 การเชื่อมต่อแบบ Star Topology มีลักษณะคล้ายกับดาวกระจาย คือ จะมี อุปกรณ์ เช่น สวิตซ์เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อแบบนี้จะมีประโยชน์ คือ ถ้าหากสายสัญญาณเส้นใดเส้นหนึ่งขาดหรือเสีย ก็จะไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบ นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันที การเชื่อมต่อลักษณะนี้ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน
ข้อดี
ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งไม่สามารถทำงานได้จะไม่ส่งผลกระทบกกับเครื่องอื่นๆ
การเชื่อมต่อทำได้ง่ายและสะดวก
จำนวนเส้นของสัญญาณใช้เท่ากับจำนวนของเครื่องที่ทำการเชื่อมต่อ (น้อยกว่า Mesh)
ปรับปรุงได้ง่ายและอุปกรณ์มีราคาถูก
ข้อเสีย
ถ้าจุดที่รวมศูนย์ คือ สวิตซ์ เสียหายจะส่งผลกระทบทุก ๆ เครื่อง
การส่งข้อมูลต้องผลัดกันส่ง ถ้าสัญญาณไม่ว่างจะต้องเสียเวลาในการรอคอย
เมื่อปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นถึงระดับหนึ่งจำทำให้เกิดคอขวด
รูปที่ 1.8 การเชื่อมต่อแบบ Star
1.2.3 การเชื่อมต่อแบบ Bus Topology เป็นการเชื่อมโดยใช้สายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียว ลากต่อกันทำให้โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนก็ คือ จะทำให้เกิดปัญหาเมื่อสายเคเบิ้ลรวนเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสีย เครือข่ายนี้ไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเนื่องจาก ไม่ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมและมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่เกิน 10 Mbps
ข้อดี
ปริมาณการส่งข้อมูลทำได้สูงเพราะบัสหลักจะเป็นสายประเภทป้องกันสัญญาณรบกวน
ใช้สายนำสัญญาณไม่มาก
ข้อเสีย
ข้อมูลที่ส่งจะผ่านไปยังทุก ๆ เครื่องซึ่งทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมเสียไป
ต้องใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อค่อนข้างมาก ทำให้โอกาสผิดพลาดได้สูง
เมื่อเครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียหายหรือการเชื่อมต่อไม่สมบูรณ์จะส่งผลกระทบต่อเครื่องอื่น ๆ ทั้งหมดด้วย
อุปกรณืมีราคาค่อนข้างแพง เชื่อมต่อยาก ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
รูปที่ 1.9 การเชื่อมต่อแบบ Bus
1.2.4 การเชื่อมต่อแบบ Ring Topology การเชื่อมต่อเครือข่ายนี้มีลักษณะคล้ายกับวงแหวน การรับส่งข้อมูลจะเป็นแบบทิศทางเดียว ซึ่งถ้าส่งไปแล้วไม่ตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเครื่องรับตามที่เครื่องต้นทางระบุ ก็จะส่งต่อไปเครื่องถัดไปจนกว่าจะถึงปลายทางที่ตรงกับเครื่องเป้าหมาย
ข้อดี
ใช้สายนำสัญญาณไม่มาก
การส่งข้อมูลจะไม่ชนกันเนื่องจาก Token จะควบคุมจังหวะของการส่งข้อมูลแบบเป็น
ข้อเสีย
ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งหรือสายนำสัญญาณในระบบเกิดปัญหาจะทำให้ระบบไม่สามารถส่งข้อมูลได้
ความรวดเร็วในการส่งข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพเพราะต้องได้รับ Token ก่อนจึงจะสามารถส่งสัญญาณออกไปได้
รูปที่ 1.10 การเชื่อมต่อแบบ Ring