ใบงานทบทวนความรู้

ใบงานสำหรับทบทวนความรู้เรื่อง กลอนสี่ สุภาษิต คำพังเพย สำนวนภาษา และ คำพ้อง

แผนผังกลอนสี่ มาทบทวนจากตลิปนี้นะคะ

คำพังเพย สุภาษิต สำนวนภาษาที่ควรรู้

สำนวน หมายถึง กลุ่มคำสั้นๆที่มีความหมายลึกซึ้ง และไพเราะกว่าคำพูดธรรมดา การเลือกความหมายของคำต้องพิจารณากับเนื้อเร่ือง

เช่น หูเบา หมายถึง เชื่อคนง่าย

ปากแข็ง หมายถึง ยืนยันคำเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงคำพูด

ฝนตกไม่ลืมหูลืมตา หมายถึง ฝนตกหนักและนาน

คำพังเพย หมายถึง คำที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ เป็นข้อความที่เป็นคติสอนใจ อาจมีทั้ง ติ ชม และ แสดงความคิดเห็น

เช่น รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หมายความว่า ถ้าเราขยันหมั่นเพียรตั้งใจเรียนก็จะได้งานที่ตนชอบ แต่ถ้าขี้เกียจก็จะได้แต่งานหนัก

สองหัวดีกว่าหัวเดียว หมายความว่า ในการทำงานที่ต้องใช้ความคิด ถ้าร่วมมือกันงานจะเสร็จไวและดีกว่าต่างคนต่างทำ

คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล หมายความว่า ถ้าเราคบคนพาลก็จะพาเราไปสู่ความพินาศ แต่ถ้าเรารู้จักคบคนดีเป็นมิตรเราก็จะได้รับตวามสุขความเจริญ


สุภาษิต หมายถึง คำกล่าวที่เป็นคติสอนให้ประพฤติดีงาม

เช่น ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น

สำนวน สุภาษิต ที่ควรรู้

  1. ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หมายถึง การลงทุนแล้วไม่เกิดประโยช์ที่คุ้มค่า

  2. น้ำขึ้นให้รีบตัก หมายถึง ถ้ามีโอกาสมาถึงควรรีบทำ หรือคว้าโอกาสนั้นไว้

  3. ใจดีสู้เสือ หมายถึง ทำใจกล้าควบคุมจิตใจให้เป็นปกติ ไม่หวั่นไหวกับเหตุการณ์น่ากลัวข้างหน้า

  4. วัวหายล้อมคอก หมายถึง เกิดความเสียหายขึ้นแล้วจึงคิดหาทางป้องกัน

  5. แกว่งเท้าหาเสี้ยน หมายถึง หาเรื่องเดือดร้อนมาสู่ตนเอง

  6. มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ หมายถึง การไม่ช่วยเหลืองานแล้วยังทำให้เกิดความเสียหายหรือล่าช้า

  7. เพชรตัดเพชร หมายถึง คนเก่งและคนเก่งมาเผชิญหน้ากัน

  8. ขายผ้าเอาหน้ารอด หมายถึง ยอมสละสิ่งที่สำคัญเพื่อรักษาชื่อเสียงไว้

  9. อดเปรี้ยวไว้กินหวาน หมายถึง อดใจไว้ในตอนนี้เพื่อสิ่งที่ดีกว่าในวันข้างหน้า

  10. ตักบาตรอย่าถามพระ หมายถึง การจะให้ของสิ่งใดแก่ผู้ที่เขาเต็มใจรับของสิ่งนั้นอยู่แล้ว ไม่ควรถามว่าอยากได้หรือไม่


ใบงานภาษาไทย.pdf