อักษรควบ

ข้อสังเกต อักษรควบกล้ำ 1. เป็นคำที่มี พยัญชนะ ร ล ว อยู่ตามพยัญชนะต้น ( อยู่เป็นตัวที่สอง)

2. ใช้สระ และตัวสะกด ร่วมกันกับพยัญชนะต้น

คำควบกล้ำ มีสองประเภท ได้แก่

1. ควบกล้ำแท้ หมายถึง คำที่มี พยัญชนะ ร ล ว อยู่ตามพยัญชนะต้น (อยู่เป็นตัวที่สอง) / ใช้สระ และตัวสะกด ร่วมกันกับพยัญชนะต้นและ ออกเสียงร่วมกันกับพยัญชนะตัวหน้า เช่น กราบ ขวาน ขวัญ ปราบปราม ขรุขระ คลาดเตลื่อน เป็นต้น

2. ควบกล้ำไม่แท้ มีสองลักษณะ คือ

2.1 คำที่มี ทร อ่านออกเสียงเป็น ซ เช่น ทราย (อ่านว่าซาย) , ทุดโทรม (อ่านว่า ซุดโซม)

2.2 คำที่มี ร ตามพยัญชนะ ศ ส จ และอ่านออกเสียงแค่พยัญชนะตัวหน้า เช่น สร้าง จริง เศร้า เศรษฐี ศรัทธา สร่าง เป็นต้น

ลองมาทำแบบฝึกกันนะคะ


ให้นักเรียนเขียนพยัญชนะ สระ ให้เป็นคำที่มีความหมาย

ตัวอย่าง พ า ร น = พราน

  1. ร ค า ว =

2. โ ก ธ ร =

3. รื้ น ค ค เ ร ง =

4. ร า ง ค =

5. ญ ร ว ค =

6. ร ต ง อ ซี่ =

7. ป ร ฎ ก า =

8. ป ร ศ า า จ ก =

9. ต ริ ร อ ง ต =

10. เ ร พ า ะ =

นำคำที่กำหนดให้เติมลงในช่องว่างให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์

ตัวอย่าง พราน = นายพรานไปล่าสัตว์ในป่า


คราว โกรธ ครั้น เพราะ ตริตรอง คราง ครวญ ตรง ปรากฎ ปราศจาก


  1. ........................................ถึงเวลาพลบค่ำ

  2. ฉัน..................................เธอมาก

  3. ถึง...................................ที่เราต้องจากกัน

  4. อากาศเย็นสุนัขจึงร้อง.............................

  5. เขาทำงานตรงไป...................มา

  6. ห้องน้ำสะอาด................................กลิ่นเหม็น

  7. ฉันรักเธอ..............................เธอนิสัยดี

  8. เราควร.................................ให้ดีก่อนพูดออกไป

  9. ฝนดาวตกเป็น...............................การณ์ธรรมชาติ

  10. เสียงร้องไห้คร่ำ................................ดังมาจากงานศพ