สำนวน สุภาษิต คำพังเพย

คำชี้แจง : ให้นักเรียนศึกษาวิดีทัศน์ต่อไปนี้แล้วตอบคำถามในใบงานให้ถูกต้อง (10 คะแนน)

เรื่องน่ารู้ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ที่มีใช้กันมาอย่างยาวนาน ซึ่ง สำนวนไทย สุภาษิตไทยและคำพังเพยนั้น เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น ทั้งทางดีและทางร้าย จนมีการนำสิ่งที่เกิดขึ้นมาเรียบเรียงถ้อยคำใหม่ในเชิงสั่งสอนหรือเปรียบเทียบ นับเป็นอีกหนึ่งในวัฒนธรรมที่น่าภาคภูมิใจของไทย

ความหมายของสุภาษิตไทย

สุภาษิต หมายถึง คำพูดที่พูดออกมา ไม่ว่าจะเป็นทำนอง สำนวนโวหาร ที่มีความหมายที่ดี ส่วนใหญ่คนไทยเราจะหยิบยกคำสุภาษิตมาเป็นตัวอย่างในการอบรมสั่งสอนลูกหลาน หรือบางครั้งใช้แสดงเปรียบเทียบประกอบการสนทนา สุภาษิต แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. คำสุภาษิตประเภทที่พูด อ่านหรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย

2. คำสุภาษิตประเภทที่พูด อ่านหรือฟังแล้วต้องนึกตรึกตรอง ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบ

ความหมายของสำนวน

สำนวน หมายถึง โวหาร ทำนองพูด ถ้อยคำที่เรียบเรียง เป็นลักษณะความหมายเชิงอุปมาเปรียบเทียบ ไม่แปลความหมายตามตัวอักษร จึงฟังแล้วมักจะไม่ได้ความหมายของตัวมันเอง ต้องนำไปประกอบกับเรื่อง หรือเหตุการณ์จึงจะได้ความหมายเป็นคติเตือนใจ เช่นเดียวกับคำที่เป็นสุภาษิต

ความหมายของคำพังเพย

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมาเป็นความหมายกลาง ๆ คือ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่ก็แฝงคติเตือนใจหรือ ข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติได้ และ เนื้อหาของใจความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือ ความจริงแท้แน่นอน เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายลึกซึ้งกว่าสำนวน มีลักษณะติชมหรือแสดงความเห็นในตัว แต่ยังไม่ได้วางหลักความจริงอันเที่ยงแท้ และยังไม่เป็นคำสอน เช่น กระต่ายตื่นตูม ทำนาบนหลังคน ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย น้ำถึงไหนปลาถึงนั้น เป็นต้น

ภาระงานที่มอบหมาย : ใบงาน (คลิกที่คำว่าใบงาน)