บทที่ 3

งานศิลป์กับการสร้างสรรค์ผลงาน

1.การออกแบแผนภาพและแผนผัง

การออกแบบแผนภาพและแผนผัง เป็นการนำความรู้ทางทัศนศิลป์มาใช้ให้เกิดประโยชน์วิธีหนึ่ง โดยเป็นการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพ เพื่อบอกข้อมูลต่างๆ เช่นช่วยให้เข้าใจข้อมูลได้ง่ายขึ้น
ปัจจุบันการนำเสนอข้อมูลแบบแผนภาพและแผนผัง เป็นที่นิยมแพร่หลายโดยเฉพาะสื่อโฆษณา หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ เพราะมีความทันนสมัย สวยงาม กระชับ เข้าใจง่ายและดูน่าสนใจมากกว่าการนำเสนอด้วยตัวอักษร


1.การทำแผนภาพ

แผนภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลในแบบของภาพ ซึ่งหลักการทำมีขั้นตอน ดังนี้

  1. ศึกษาข้อมูลที่จะทำว่าเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องอะไร และมีรายละเอียดอะไรมาให้บ้าง

  2. เลือกรูปแบบแผนภาพที่สอดคล้องและเหมาะสมกับข้อมูล

  3. ออกแบบแผนภาพ โดยพิจารณาจากข้อมูลที่ได้มา

  4. ทำแผนภาพ โดยใช้ข้อมูลที่ได้มา

  5. ตกแต่งเพิ่มเติมเพื่อทำให้แผนภาพดูน่าสนใจและมีความสวยงาม

ตัวอย่าง

2. การทำแผนผัง

แผนผังเป็นการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้รู้ทิศทาง ตำแหน่งของสิ่งต่างๆ ซึ่งมีหลักการ ดังนี้

  1. หาข้อมูลและตำแหน่งของสิ่งต่างๆ ในบริเวณที่ต้องการทำแผนผัง

  2. ร่างภาพดดยกำหนดทิศทาง และเขียนจุดที่ระบุตำแหน่งหรือที่ตั้งของจุดต่างๆ

  3. ออกแบบสัญลักษณ์หรือรูปภาพแทนตำแหน่งของสิ่งที่ระบุ

  4. ทำแผนผะงตามแบบร่าง พร้อมตกแต่งให้สวยงามและน่าสนใจ



2.การออกแบบภาพประกอบ

ภาพประกอบ เป็นภาพที่วาดขึ้นหรือสร้างขึ้น ใช้ในการสื่อความหมาย เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ผู้อ่านสนใจ และช่วยกระตุ้นความรู้สึกต่อเติมจินตนาการให้เป็นเรื่องราวขึ้นได้

ในปัจจุบันภาพประกอบยังมีบทบาทสำคัญในงานสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เพื่อช่วยทำให้เกิดความโดดเด่น อธิบายเนื้อหาหรือจุดประสงค์อื่นๆ ดังตัวอย่าง

การวาดภาพประกอบเรื่องราว

ในบทเรียนนี้ นักเรียนสามารถทำภาพประกอบ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนหรือใช้ประโยชน์ในการทำงานอื่นได้ เช่น วาดภาพประกอบบทกลอน วาดภาพประกอบนิทาน ซึ่งการวาดภาพประกอบนั้น มีทั้งภาพวาดลายเส้นและภาพวาดระบายสี

1.หลักการวาดภาพประกอบเรื่องราว ผู้วาดควรคำนึงถึงองค์ประกอบในการวาดภาพเื่อถ่ายทอดเรื่องราวและสื่อความหมาย ดังนี้

1. ภาพที่วาดต้องคำนึงถึงหลักการทางศิลปะ ได้แก่ การจัดองค์ประกอบศิลป์ มีสีสันสวยงาม เน้นจุดหรือภาพที่ดดดเด่นที่ต้องการนำเสนอ

2. ภาพที่วาดต้องมีความชัดเจน สามารถขยายความเข้าใจในเนื้อหา สอดคล้องไม่คลุมเครือ เหมาะสมกับวัตถุประสงค์

3. ภาพที่วาดต้องมีรายละเอียดเพียงพอที่จะใช้สื่อความหมายหรือเล่าเรื่องได้ดีและไม่ควรให้สลับซับซ้อนเกินไปจนเข้าใจยาก

4. ภาพที่วาดควรเน้นให้เกิดการกกระตุ้นความคิดและอารมณ์ในแนวทางสร้างสรรค์ไม่ขัดต่อศีลธรรมออันดีของสังคม