คำขวัญตำบลนาคำ

" แตงโมหวานขึ้นชื่อ เลืองลือลิงป่า

ไทญ้อทรงคุณค่า ยางพาราเขียวขจี

ข้าวปลามากมี ถิ่นนี้นาคำ"

ข้อมูลพื้นฐาน ตำบลนาคำ

ประวัติความเป็นมา

กศน.ตำบลนาคำ เป็นอาคารเดิมศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีชาวบ้านตำบลนาคำ ตั้งอยู่ที่บ้านคำสว่าง หมู่ที่ 2 ตำบลนาคำ อำเภอ ศรีสงคราม จังหวัดนครพนม มีเนื้อที่ 50 ตารางวา อาคารเป็นอาคารเดิมศูนย์ถ่ายถอดเทคโนโลยีเกษตรของตำบลนาคำ ซึ่งใช้ร่วมกับกลุ่มอาชีพ เย็บจักร ศูนย์ อสม.หมู่บ้าน จนในปีพุทธศักราช 2538 ศูนย์ถ่ายทอดได้ย้ายไปประจำที่บ้านภูกระแต หมู่ที่ 7 และ ศูนย์ อสม.หมู่บ้านได้อาคารหลังใหม่ ในปี พ.ศ.2550 ได้รับงบประมาณอุดหนุนจาก องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำ ในขณะนั้น ให้ซ่อมแซมอาคาร พร้อมติดตั้งไฟฟ้า น้ำประปา เป็นเงิน 40,000 บาท

กศน. ตำบลนาคำ มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษานอกระบบ ในหลักสูตร ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ตั้งแต่การสอนให้อ่านออกเขียนได้หรือส่งเสริมการรู้หนังสือ การศึกษาในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาต่อเนื่อง มีการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนและการศึกษาตามอัธยาศัย และในปัจจุบันเป็นหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การจัดตั้ง กศน.ตำบล มีความมุ่งหมายที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนในชุมชน ดังนี้

ประวัติความเป็นมาของชุมชน

ตำบลนาคำ เดิมอยู่ในเขตการปกครองของ ตำบลนาเดื่อ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เมื่อ พ.ศ. 2481 ตำบลนาเดื่อ แยกมาอยู่ในเขตอำเภอศรีสงคราม จึงได้มีการแยกบ้านนาคำและตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า “บ้านกระแตเลาะ” จากปากของคนเฒ่าคนแก่สันนิษฐานว่า เนื่องจากในสมัยนั้นถิ่นนี้เป็นที่อาศัยของสัตว์จำพวกกระรอก กระแต เป็นจำนวนมาก จึงตั้งชื่อนี้ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า “บ้านนาคำ” เมื่อ พ.ศ. 2516 ได้ยกฐานะเป็นตำบลนาคำ มีนายสนธิ์ สุธรรม เป็นกำนันคนแรก

ส่วนหมู่บ้านอื่น ๆ ที่อพยพครอบครัวเข้ามารวมกันภายในตำบล เช่น บ้านเหล่า บ้านโพนงาม บ้านอุ่มไผ่ บ้านคำสะอาด บ้านโนนรัง บ้านภูกระแต บ้านโพนก่อ ก็มีลักษณะเป็นการย้ายถิ่นฐานเนื่องจากต้องการสร้างที่ทำกินใหม่ หรือเป็นการอพยพเนื่องจากเกิดโรคระบาดในหมู่บ้านเดิม เป็นต้น โดยรวมแล้วการอพยพของหมู่บ้านต่างๆภายในตำบลจะอพยพมาจากตำบลข้างเคียง มีบางหมู่บ้านที่มาจากที่ห่างไกล เช่น บ้านโพนก่อ ชาวบ้านอพยพมาจากอำเภออากาศอำนวย บ้านโพนงาม อพยพมาจากเมืองหลวงปุงลิง ประเทศลาว (สปปล.) บ้านเหล่า อพยพผู้คนมาจากบ้านนาเดื่อ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2463 ในขณะที่หมู่บ้านตั้งใหม่อย่างบ้านภูกระแตได้สร้างบ้านเมื่อ พ.ศ. 2501 เป็นการอพยพผู้คนมาจากจังหวัดยโสธร มาตั้งหมู่บ้านบริเวณโนนภูกระแต ซึ่งเป็นเขตป่าสงวน "ดงพระนาง" ต่อมาทางอำเภอได้ผ่อนผันให้ชาวบ้านอยู่อาศัยได้และได้ยกฐานะเป็นหมู่บ้านใหม่ว่า “บ้านภูกระแต” และนอกจากนั้นยังมีชาวบ้านอีกหลาย ๆ จังหวัดย้ายเข้ามาอยู่ อาศัยในบ้านภูกระแต เช่น อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม จนได้รับฉายาของหมู่บ้านว่า “บ้านรวมเผ่า” ภาษาพูดใช้ "ภาษา ญ้อ" เป็นรากภาษาในการสื่อสาร ปัจจุบันมีการแต่งงานกับผู้คนต่างถิ่นจึงมีภาษาพูดที่เป็นภาษาอิสานอื่นๆหลากหลาย เช่น ภาษา อีสานจากขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี แต่ลูกหลานที่เกิดมาแม้พ่อแม่จะมาจากถิ่นอื่น เด็กเหล่านี้ก็ยังคงถูกปลูกฝังให้ใช้ภาษา ญ้อ เช่นเดิม

สถานที่สำคัญในตำบล


1. วัดโพธิ์ชัย ..............ประเภท ศาสนสถาน


ที่ตั้ง บ้านโพนงาม หมู่ที่ 1 ตำบล นาคำ อำเภอ ศรีสงคราม จังหวัด นครพนม.


ประวัติความเป็นมา พระสงฆ์ที่ชาวบ้านนับถือในอดีต คือ หลวงพ่อทุ่ม และหลวงพ่อหก พระสงฆ์ที่ชาวบ้านนับถือในปัจจุบันคือ พระอธิการจำปา ศิริปัณโญ หรือ ชื่อเดิม คือนายจำปา คัณทักษ์ จำวัดได้ 13 พรรษา


ความสำคัญ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชาวบ้าน สามารถประกอบพิธีกรรม (บวช) ได้ทังตำบลนาคำ


2 วัดดาราราม ..............ประเภท ศาสนสถาน


ที่ตั้ง บ้านคำสว่าง หมู่ที่ 2 ตำบล นาคำ อำเภอ ศรีสงคราม จังหวัด นครพนม.


ประวัติความเป็นมา เป็นวัดบ้านตั้งมาพร้อมกับหมู่บ้านก่อสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2476 วัดอีกแห่งหนึ่งที่ก่อสร้างได้ประมาณ 8 ปี ได้แก่วัดป่าบ้านคำสว่าง ก่อสร้างบริเวณป่าดอนปู่ตาของหมู่บ้าน อยู่ตรงข้างโรงเรียนบ้านคำสว่าง บรรยากาศภายในวัดร่มรื่นเนื่องจากมีป่าไม้ปกคลุมทั้งวัด ปัจจุบันชาวบ้านกำลังช่วยกันสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่อยู่


ความสำคัญ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชาวบ้าน สามารถประกอบพิธีกรรม (บวช) ได้ทังตำบลนาคำ และเป็นสถานศึกษาสังกัด สำนักพระพุทธศาสนา (โรงเรียนปริยัติธรรม)


3 วัดดำดวน ..............ประเภท ศาสนสถาน

ที่ตั้ง บ้านเหล่า หมู่ที่ 4 ตำบล นาคำ อำเภอ ศรีสงคราม จังหวัด นครพนม.

ประวัติความเป็นมา วัดดำดวน มีพระสงฆ์จำกัดไม่มากนักเฉลี่ยปีละประมาณ 4 รูป ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 59 ถนน รพช. คำสะอาด – หนองบาท้าว หมู่ที่ 4 ตำบลนาคำ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

ความสำคัญ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชาวบ้าน สามารถประกอบพิธีกรรม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ 4 ไร่

มีศาสนสถาน ประกอบด้วยศาลาการเปรียญ 1 หลัง สร้างเมื่อปี พ.ศ.2545 และ กุฏิสงฆ์ จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารไม้

4. วัดจอมแจ้ง ..............ประเภท ศาสนสถาน


ที่ตั้ง บ้านนาคำ หมู่ที่ 5 ตำบล นาคำ อำเภอ ศรีสงคราม จังหวัด นครพนม.


ประวัติความเป็นมา วัดจอมแจ้งบ้านนาคำ เลขที่ 80 ต.นาคำ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม เดิมหลวงปู่ตา ได้มาบุกเบิกสร้างวัดเป็นรูปแรก ได้สร้างโรงธรรมขนาดเล็กทำด้วยไม้ไผ่ต่อมาพระทัน(ไม่ทราบฉายา) และหลวงพ่อสี ป้องทอง ได้ชักชวนชาวบ้านสร้างโรงธรรมขึ้นใหม่แทนที่ชำรุดและกุฏิใหม่ขึ้นแต่ก็ยังมีขนาดเล็กอยู่และท่านได้มรณภาพลง ต่อมามีหลวงปู่กวบ ป้องทอง และหลวงพ่อจันทร์ ป้องทอง หลวงพ่อโก้ โกสุโท ได้ร่วมกับนายสนธิ์ สุธรรม ก่อสร้างกุฏิ 2 หลัง ละสร้างโรงธรรมใหม่ ต่อมาหลวงปู่กวบ ป้องทอง ได้ลาสิกขาบท หลวงพ่อจันทร์ป้องทอง และหลวงพ่อโก้ โกสุโก ได้มรณภาพทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสสว่างลง หลวงพ่อสัตย์ นิที ได้เป็นเจ้าอาวาสแทน ต่อมาท่านได้ลาสิกขา มีเจ้าอาวาสรูปใหม่ชื่อหลวงพ่อกง เขมาสโย เป็นเจ้าอาวาส


ความสำคัญ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชาวบ้าน สามารถประกอบพิธีกรรม ท่านได้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่วัดจอมแจ้งมากมาย ผลงานที่ท่านฝากไว้มีดังนี้ พ.ศ.2524 พาชาวบ้านนาคำสร้างกุฏิเสาดิน พื้นฝาทำด้วยไม้ หลังคามุงสังกะสีขึ้น จำนวนหนึ่งหลัง

5.ลิงป่าบ้านโพนก่อ..............ประเภท แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ที่ตั้ง บ้านโพนก่อ หมู่ที่ 6 ตำบล นาคำ อำเภอ ศรีสงคราม จังหวัด นครพนม.


ประวัติความเป็นมา ลิงป่าบ้านโพนก่อ เป็นลิงวอก หรือลิงแสม มีมาตั้งแต่สมัยก่อตั้งหมู่บ้าน หรือประมาณก่อนปี พ.ศ. 2419 สาเหตุที่ลิงป่าเหล่านี้ได้หลงเหลือและขยายพันธ์มาจนถึงปัจจุบัน เพราะชาวบ้านมีความเชื่อเรื่องวิญญาณ และความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อหัวนอ ซึ่งเป็นผู้เข้ามาก่อตั้งหมู่บ้านคนแรก ปัจจุบันมีลิงป่าอยู่ประมาณ 300-500 ตัว พื้นที่ลิงป่าอาศัยมีเนื้อที่ทั้งหมด 178 ไร่ ลิงป่าบ้านโพนก่อเป็นสัญลักษณ์ คำขวัญของตำบลนาคำ และเป็นคำขวัญของอำเภอศรีสงครามที่ว่า “ลิงป่ามากมี” ทุกๆ ปี จะมีประเพณีเลี้ยงอาหารลิงแบบโต๊ะจีน โดยทาง เทศบาลนาคำ จะจัดสรรงบประมาณมาเลี้ยงลิงทุกปีในเดือนพฤศจิกายน นอกจากจะเลี้ยงโต๊ะจีนลิงแล้วทาง เทศบาลนาคำ ยังได้ให้เงินสนับสนุนในการเลี้ยงลิงตลอดปีด้วยงบประมาณ 30,000 บาท และสร้างรูปปั้นลิงขนาดใหญ่ บริเวณสามแยกบ้านโพนก่อท่า ขอเชิญทุกท่านมาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับนครลิงบ้านโพนก่อ


ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชาวบ้าน โดยทาง เทศบาลนาคำ จะจัดสรรงบประมาณมาเลี้ยงลิงทุกปีในเดือนพฤศจิกายน นอกจากจะเลี้ยงโต๊ะจีนลิงแล้วทาง เทศบาลนาคำ ยังได้ให้เงินสนับสนุนในการเลี้ยงลิงตลอดปีด้วยงบประมาณ 30,000 บาท และสร้างรูปปั้นลิงขนาดใหญ่ บริเวณสามแยกบ้านโพนก่อท่า ขอเชิญทุกท่านมาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับนครลิงบ้านโพนก่อ

6. ไร่คุณเตือนใจ (แฟสแอนท์เทสตี้)........ประเภท แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร


ที่ตั้ง บ้านคำสะอาด หมู่ที่ 9 ตำบล นาคำ อำเภอ ศรีสงคราม จังหวัด นครพนม.


ประวัติความเป็นมา การทำสวนแตงโม เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ชาวบ้านได้ปลูกกันรองจากการปลูกยางพารา ผู้ที่ริเริ่ม ในการปลูกแตงโม คือนางสาวเตือนใจ บุพศิริ หรือเจ้เตือน เจ้าของไร่ “ไร่คุณเตือนใจ” นอกจากจะเป็นผู้ริเริ่มในการปลูกแตงโมแล้วยังเป็นแรกที่ทำให้ส้มสายพันธุ์โชกุล, ส้มโอหวาน, มะละกอพันธุ์ฮาวาย, และแก้วมังกร การปลูกแตงโมทำรายได้ให้กับหมู่บ้านมากผลผลิตที่ได้สามารถส่งออกไปจำหน่ายที่ตลาดไทที่กรุงเทพฯ หากเอ่ยชื่อ “แตงโมเจ้เตือน” รับรองเรื่องคุณภาพ


ความสำคัญ เจ้าของสวนแตงโมภายใต้ชื่อ “ไร่คุณเตือนใจ”และประธานกลุ่มกล่าวด้วยว่า สวนแตงโมของตนและครอบครัวแห่งนี้ ได้ใบรับรองของกรมวิชาการเกษตร Q ปลอดภัยจากสารเคมี แต่ถ้าใช้ก็ใช้น้อยภายใต้

GAP ที่อนุญาตให้ใช้ นอกจากปลูกแตงโมยังทำการเกษตรผสมผสานมาตั้งแต่ปี 2545 บนเนื้อที่ 150 ไร่ ประกอบด้วยแตงโม 30 ไร่ ยางพารา 50 ไร่ ส้มเขียวหวาน 5 ไร่ ส้มโชกุน 20 ไร่ ส้มโอ 5 ไร่ น้อยหน่า 10 ไร่ พอปี 2548 ปลูกส้มเขียวหวานเพิ่มเป็น 10 ไร่ รวมถึงปลูกมะละกอ พริก และพืชผักสวนครัวหลายชนิด มีรายได้ปี 2548-2549จากส้ม 254,000 บาท ยางพารา 585,000 บาท มะละกอ 155,000 บาท และแตงโม 9,700 มีตลาดหลักที่จังหวัดภูเก็ต และตลาดไท ปี 2548 ได้รับรางวัล 3 รางวัล ในปีเดียวกัน คือ ชนะเลิศการประกวดเกษตรดีเด่น (สาขาทำสวน) ระดับจังหวัดนครพนม, ชนะเลิศการประกวดเกษตรดีเด่นระดับภาคอีสาน, และรางวัลที่ 3 จากการประกวดเกษตรกรดีเด่นระดับประเทศในสาขาเดียวกัน

7. สวนไผ่บุญจอ ........ประเภท แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ที่ตั้ง บ้านคำสะอาด หมู่ที่ 15 ตำบล นาคำ อำเภอ ศรีสงคราม จังหวัด นครพนม.

ประวัติความเป็นมา การทำสวนผสมผสาน เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ชาวบ้านได้ปลูกกันรองจากการปลูกยางพารา ผู้ที่ริเริ่ม ในการปลูกไผ่กิมซุง ปลูกมะขามยักษ์ เลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี เลี้ยงไก่เนื้อสามสายพันธ์ คือนายอัครเดช ไชยรบ (เอส) เจ้าของไร่ “สวนไผ่บุญจอ by กำนัน ” สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามรอยเท้าพ่อนอกจากจะเป็นผู้ริเริ่มในการปลูกไผ่กิมซุง แล้วยังเป็นแรกที่ทำให้การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย และทำให้ไก่อารมณ์ดี แล้วยังปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์ การปลูกไผ่กิมซุง และการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ ไก่พันธ์เนื้อ 3 สายพันธ์ ทำรายได้ให้กับหมู่บ้านมากผลผลิตที่ได้สามารถส่งออกไปจำหน่ายที่ตลาดในตัวอำเภอจังหวัด รับรองเรื่องคุณภาพ

ความสำคัญ เจ้าของสวนไผ่บุญจอ เป็นกลุ่มที่สามารถให้ความรู้แก่เกษตรกรรายย่อย เป็น Young smart famer ทีสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มได้เป็นอย่างดี สวนไผ่บุญจอ เป็นศูนย์ ศพก.ประจำตำบลนาคำ และได้เข้าร่วมงาน YSF เขต 4 ณ ห้างโรบินสัน จังหวัดสกลนคร สำนักงานเกษตรอำเภอศรีสงคราม สามารถให้ความรู้ที่หลากหลาย เช่น การทำถ่านไบโอชา เพื่อใช้ในการเกษตร การเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง การให้ความรู้เรื่อง การทำน้ำยาอเนกประสงค์ เพื่อให้เกษตรกรที่เข้าอบรมตามโครงการได้รับความรู้อย่างทั่วถึง บนเนื้อที่ 120 ไร่ ที่ปลูกพืชหลากหลายชนิด เช่น ไผ่กิมซุง มะขามเปรี้ยวยักษ์ ทุเรียน มะคุด มะม่วงเขียวใหญ่ และอีกหลากหลายชนิด กล่าวด้วยว่า สวนไผ่บุญจอแห่งนี้ ได้เข้าร่วาโครงการ สวนเกษตรอินทรีย์ 100 % Organic farm เต็มรูปแบบที่สวนใช้ปุ๋ยหมักเอง บำรุงดินด้วยถ่าน ไบโอชาร์ ได้ใบรับรองของกรมวิชาการเกษตร Q ปลอดภัยจากสารเคมี แต่ถ้าใช้ก็ใช้น้อยภายใต้ GAP ที่อนุญาตให้ใช้ นอกจากปลูกไผ่กิมซุงยังทำการเกษตรผสมผสานมาตั้งแต่ปี 2555 บนเนื้อที่ 120 ไร่ ประกอบด้วยไผ่กิมซุง 15 ไร่ยางพารา 20 ไร่ มะขามเปรี้ยวยัก 5 ไร่ ทุเรียน 2 ไร่ มะม่วงเขียวใหญ่ 5 ไร่ บ่อเลี้ยงปลา 2 บ่อ มะละกอ และพืชผักสวนครัวหลายชนิด

8 วิสาหกิจชุมชน แคนช้างคำ........ประเภท แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ที่ตั้ง บ้านโพนงาม หมู่ที่ 10 ตำบล นาคำ อำเภอ ศรีสงคราม จังหวัด นครพนม.

ประวัติความเป็นมา จากการสัมภาษณ์ ท่าน ได้ให้ข้อมูลว่าหลังจากที่รัฐบาลได้มีการแก้ไขพ.ร.บ. ยาเสพติด โดยอนุญาตให้ใช้ กัญชา - กระท่อม ทางการแพทย์ได้ก็เริ่มมองเห็นทิศทางของพืชเศรษฐกิจ นั่นก็คือ กัญชา จึงไปจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนปลูกพืชสมุนไพร เหตุผลที่ต้องมีคำว่าสมุนไพร เพราะกัญชาจะเกี่ยวโยงกับแพทย์แผนไทย เพราะเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง โดยทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดก็มีนโยบายให้ปลูกกัญชา แต่มีระเบียบ วิธีการในการขอเข้าร่วมโครงการ โดยให้วิสาหกิจไปทำ MOU กับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีแพทย์แผนไทย ทำโครงการเสนอขั้นตอนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับการอนุมัติ เริ่มโครงการกัญชา 50 ต้น บนโรงเรือนขนาด 6 คูณ 12 เมตร โดยปลูกปีละ 2 ครั้ง ตอนที่ได้รับอนุญาตให้ปลูก พ.ร.บ. ยาเสพติดประเภทที่ 5 จะยกเลิกเฉพาะใบ ก้าน ราก ลำต้น ส่วนช่อดอกยังเป็นยาเสพติด วิสาหกิจก็ขายได้แค่ใบสด ใบแห้ง ก้านแห้ง รากแห้ง ส่วนช่อดอกก็ส่งกลับไปที่กรมการแพทย์ทางเลือกเพื่อนำไปปรุงเป็นยาต่อไป

ความสำคัญ วิธีการปลูกกัญชาดูแลรักษา ไม่อยาก หากเข้าใจจะสามารถปลูกได้ กัญชาให้น้ำมากไปไม่ดี ไม่ชอบความแฉะ แต่ชอบความชื้น ไม่ต้องการเคมี ชอบปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้ไก่ ศัตรูของกัญชา คือเพลี้ย ตั๊กแตน ไรแดง โรครากเน่า เชื้อราในโคน ใบเน่า สภาพภูมิประเทศมีผลกับคุณภาพของกัญชาที่ปลูกในภาคอีสาน ภาคเหนือ หรือภาคใต้จะได้ผลผลิตไม่เหมือนกัน กัญชาคุณภาพดีที่สุดในโลกจะอยู่ที่สกลนคร นครพนม ฝั่งภูพาน ทิศตะวันออก เพราะดินเหมาะแก่การปลูกกัญชา สายพันธุ์กัญชาที่อยู่ลุ่มแม่น้ำสงครามมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ หางกระรอกและหางเสือ เหมาะกับดินในจังหวัดนครพนม แต่ถ้าไปปลูกทางฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดร้อยเอ็ดก็จะมีคุณภาพอีกแบบหนึ่ง เช่นกับทุเรียนที่ไหนก็ปลูกได้ ในอีสานเขาก็ปลูกได้ แต่รสชาติคุณภาพจะไม่เหมือนกัน เขาเรียกว่าถิ่นเกิดถิ่นกำเนิดมันอยู่ที่ไหน ก็จะดีอยู่ที่นั่น คนนิยมนำกัญชาไปใช้ อย่างใบสดเขาจะไปชงเป็นชา ใช้ดื่มตอนเช้า ตอนเย็น ก่อนนอน หรือนำไปปรุงอาหาร ใส่ต้มยำ ส่วนใบแห้งเขาก็จะนำไปเป็นชาชง ไปต้มเป็นยา ก้านกับรากก็สามารถเอาไปดองเหล้าผสมน้ำผึ้งกินเป็นยา แต่น้ำมันกัญชาปัจจุบันยังผิดกฎหมาย สารสกัดจากกัญชามีค่า THC เกิน 0.2 % ถือว่ายังผิดกฎหมาย ทุกวันนี้ขายสินค้าผ่านช่องทางขายส่ง ใครสนใจก็สั่งซื้อมา ก็จัดส่งไปไม่มีนายหน้า ช่วงเริ่มต้นทำธุรกิจ เริ่มได้รับอนุญาตเมื่อปีพ.ศ. 2563 ในปีนั้นเราก็ปลูกได้ 2 รอบ ใบสดขาย กก.ละ 15,000 บาท ส่วนใบแห้งขาย กก.ละ 40,000 บาท ก้านแห้ง ลำต้นแห้งอยู่ที่ กก.ละ 15,000 บาท รากแห้งก็อยู่ที่ กก.ละ 45,000 บาท รวมแล้วเราปลูก 2 รอบ หักค่าใช้จ่ายแล้วก็จะเหลืออยู่ประมาณ 6 - 8 แสนบาท เพราะกัญชากำลังได้รับความนิยม คนก็รับประทาน มาในปัจจุบันราคากัญชาใบสดก็เริ่มผันแปรไป เนื่องจากว่าทางองค์การอาหารและยาสามารถที่จะอนุญาตให้วิสาหกิจที่ขอเข้าร่วมโครงการปลูกกัญชาได้ทั่วประเทศ จนมีจำนวนประมาณ 2,000 -3,000 แห่ง กัญชาสามารถปลูกได้ ได้รับใบรับรองเป็นวิสาหกิจเรียบร้อยแล้ว แนวโน้มของธุรกิจกัญชาในอนาคต เชื่อว่ากัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจที่จะทำให้คนไทยจะลืมตาอ้าปากได้ ทุกส่วนของต้นกัญชาเป็นสมุนไพรทั้งหมด วิธีการที่จะต่อยอดธุรกิจจากวิสาหกิจชุมชน ให้แนวคิดว่า คือจะทำเป็นชาชงและแบรนด์ แบบสินค้า OTOP สินค้าประจำถิ่น ของฝาก เพราะจะสามารถแปรรูปสินค้าได้มากขึ้น เพื่อที่ว่าใครสนใจอยากมาศึกษาดูงานว่าที่นี่เขาปลูกกัญชา ในเมื่อจังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดที่ปลูกกัญชาที่ดีที่สุดในประเทศมีการวางแผนไว้ เพราะทางภาครัฐ และองค์กรส่วนท้องถิ่นเองก็ต้องการจะผลักดันกัญชาในเชิงสุขภาพ และเชิงการท่องเที่ยว ต่อไปในอนาคตอยากให้นครพนมจะกลายเป็นมหานครแห่งกัญชาโลก

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบลนาคำ

สภาพทั่วไป

ที่ตั้ง อาณาเขต

ตำบลนาคำ อยู่ห่างจากอำเภอศรีสงครามเป็นระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้ ทิศเหนือ จดตำบลหาดแพง ทิศใต้ จดตำบลนาเดื่อ ทิศตะวันออก จดตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน ทิศตะวันตก จดตำบลศรีสงคราม อำเภอศรีสงคราม เนื้อที่ ตำบลนาคำ มีเนื้อที่ 84.464 ตารางกิโลเมตร (52,790 ไร่) ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของตำบลนาคำ เป็นที่ดอน และ มีที่ราบลุ่ม, ที่เนินสูงเป็นบางส่วน เขตการปกครอง ตำบลนาคำ มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 16 หมู่ ประกอบด้วยหมู่ที่ 1 บ้านโพนงาม หมู่ที่ 2 บ้านคำสว่าง หมู่ที่ 3 บ้านอุ่มไผ่ หมู่ที่ 4 บ้านเหล่า หมู่ที่ 5 บ้านนาคำ หมู่ที่ 6 บ้านโพนก่อ หมู่ที่ 7 บ้านภูกระแต หมู่ที่ 8 บ้านโนนรัง หมู่ที่ 9 บ้านคำสะอาด หมู่ที่ 10 บ้านโพนงาม หมู่ที่ 11 บ้านนาคำ หมู่ที่ 12 บ้านภูกระแต หมู่ที่ 13 บ้านภูกระแต หมู่ที่ 14 บ้านเหล่า หมู่ที่ 15 บ้านคำสะอาด หมู่ที่ 16 บ้านโพนก่อ จำนวนประชากร ตำบลนาคำ มีประชากรทั้งสิ้น 9,548 คน แยกเป็นชาย 4,851 คนหญิง 4,697 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,322 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ 3 มิถุนายน 2563 กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย)

สภาพทางเศรษฐกิจ อาชีพ ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวนยางพารา ทำนาข้าว ทำไร่แตงโม ปลูกหญ้าเพื่อจำหน่ายเมล็ด เลี้ยงสัตว์ ขุดบ่อหินขาว และมีอาชีพอื่นเล็กน้อย เช่น ค้าขาย รับจ้าง อุตสาหกรรมในครัวเรือน

สภาพทางสังคม การศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 7 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน 4 แห่ง ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ จำนวน 8 แห่ง กศน.ตำบลจำนวน 1 แห่ง สถาบันและองค์กรทางศาสนา วัด จำนวน 14 แห่ง โบสถ์ จำนวน 2 แห่ง บริการสาธารณสุขสถานีอนามัย จำนวน 3 แห่ง

การบริการพื้นฐาน การคมนาคม เส้นทางคมนาคมในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีต สำหรับเส้นทางคมนาคมที่ใช้เดินทางไปไร่นา หรือแหล่งทำการเกษตรอื่น ๆ ส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรัง แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำห้วย จำนวน 14 แห่ง สระ จำนวน 13 แห่ง หนอง จำนวน 14 แห่ง แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น อ่างเก็บน้ำ จำนวน 7 แห่ง ฝาย จำนวน 8 แห่ง บ่อบาดาล จำนวน 24 แห่ง บ่อน้ำตื้น จำนวน 50 แห่ง

ข้อมูลอื่น ๆ

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ในเขตตำบลนาคำ มีแม่น้ำสงคราม ลิงแสมบ้านโพนก่อท่า หินขาว พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์สามารถเพาะปลูกพืชได้ทั้งพืชระยะสั้นและระยะยาวได้ดี เช่น พริก แตงโม ส้มเขียวหวาน แตงแคนตาลูป ยางพารา หญ้าพันธุ์ เป็นต้น

จำนวนประชากร ตำบลนาคำ มีประชากรทั้งสิ้น 9,940 คน แยกเป็นชาย 5,053 คน หญิง 4,887 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,698 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ 3 มิถุนายน 2563 กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย)จำนวนครัวเรือน 2,698 ครัวเรือน ประชากร 9,940 .คน ชาย 5,053 คน หญิง 4,887. คน


ข้อมูลสภาพทั่วไปของหมู่บ้าน/ชุมชน พื้นที่อยู่อาศัย 1,850 ไร่ ทำนาปีละ 2 ครั้งพื้นที่ทำนา 12,000 ไร่ พื้นที่ทำไร่ 13,960 ไร่ พื้นที่ทำสวน 12,120 ไร่ พื้นที่การเกษตรอื่น ๆ 755 ไร่ พื้นที่การเกษตรในเขต ป่าชุมชน 4 แห่ง (ระบุ) (1)ป่าชุมชนบ้านโพนก่อ จำนวน 420 ไร่ (2) ป่าชุมชนบ้านเหล่า จำนวน 450 ไร่ (3) ป่าชุมชนบ้านนาคำ จำนวน 320 ไร่ (4) ป่าชุมชนบ้านภูกระแต่ จำนวน 250 ไร่ แหล่งน้ำสาธารณะ 5 แห่ง ประปา 6.แห่ง ผู้ใช้ 1,200 ครัวเรือน บ่อสาธารณะ 7 แห่ง โรงเรียน 8 แห่ง (ระบุชื่อโรงเรียน) (1)โรงเรียนบ้านโพนงาม (2) โรงเรียนบ้านคำสว่าง(3) โรงเรียนบ้านอุ่มไผ่ (4) โรงเรียนบ้านเหล่า (5) โรงเรียนบ้านนาคำ (6) โรงเรียนนาคำราษฎร์รังสรรค์ (7)โรงเรียนบ้านโพนก่อราษณ์อุทิศ (8) โรงเรียนบ้านภูกระแต วัด 14 แห่ง (ระบุชื่อ) (1)วัดโพธิ์ชัย (2) วัดดาราราม (3) วัดศรีตาราม (4) ศรีสวัสดิ์มงคล (5) วัดดำดวน (6) วัดจอมแจ้ง (7) วัดสุวรรณบรรพต (8) วัดศรีดาราม (9) วัดเทพนิมิต (10)วัดยอดแก้ว (11)วัดป่าสันติธรรม (12)วัดบุญญาราม (13)วัดป่าบ้านคำสะอาด (14)วัดเจริญธรรม ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน 1 แห่ง (ระบุชื่อ) (1) กศน.ตำบลนาคำ (2) บ้านโพนงาม หมู่ที่ 10 (3)บ้านคำสว่าง หมู่ที่ 2 (4)บ้านอุ่มไผ่ หมู่ที่ 3 (5)บ้านเหล่า หมู่ที 4 (6) บ้านนาคำ หมู่ที่ 5 (7) บ้านโพนก่อ หมู่ที่ 6 (8)บ้านภูกระแต หมู่ที่ 7 (9) บ้านโนนรัง หมู่ที 8 ศาลาประชาคม8 แห่ง โบสถ์ คริสจักร จำนวน 2 แห่ง (1)คริสจักรวัดนักบุญรอเรนต์ บ้านอุ่มไผ่หมู่ที่ 3 (2)คริสจักรบ้านโนนรัง หมู่ที่ 8

ข้อมูลด้านการบริหารหมู่บ้าน

รายชื่อ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน

- ชื่อ-สกุล นายสิริศักดิ์ คัณทักษ์ ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 โทร 0856071753

- ชื่อ-สกุล นายอนันท์ นิที ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 โทร 0862259309.

- ชื่อ-สกุล นายวิชัย วรโยธา ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3. โทร 0807570688

- ชื่อ-สกุล นางสางราตรี เคนแสง ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 โทร 0892762236.

- ชื่อ-สกุล นายไตรรงค์ ป้องทอง ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 โทร 0934278051

- ชื่อ- สกุล นายนิพล วงค์พุทธา ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 โทร 0810476737

- ชื่อ- สกุล นายสมเพศ พันธ์สวัสดิ์ ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 โทร 0847957094

- ชื่อ – สกุล นายไกรววิทย์ ไชยพรม ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 โทร 0874246949

- ชื่อ – สกุล นายอนุวัฒน์ วุฒิวิสุทธิ์ ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9 โทร 0610923195

- ชื่อ – สกุล นายจิระวัฒน์ รังศรี ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10 โทร 0857577251

- ชื่อ – สกุล นายธนากร ขัติวงค์ ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 11 โทร 0895704690

- ชื่อ – สกุล นายรุ่งเรือง เตโช ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 12 โทร 0847967930

- ชื่อ – สกุล นายวินัย อินสา ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 13 โทร 0872305597

- ชื่อ – สกุล นายจีระยุทธ สมรฤทธิ์ ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 14 โทร0878066326

- ชื่อ – สกุล นายนิรันดร์ เรืองวรบูรณ์ ตำแหน่ง กำนัน โทร 0810569830

- ชื่อ – สกุล นายศรีไพร โมยะ ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 16 โทร 0879440980