"ชาวนา"

‘หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน’ ประโยคนี้คงหนีไม่พ้นกับอาชีพ ‘ชาวนา’ เกษตรกรทุกคนต่างรู้กันดีว่าการทำนายาก เหนื่อย ต้นทุนสูง และอาจไม่คุ้มค่า แต่เกษตกรหลายคนต่างมองว่า ‘ชาวนาเป็นอาชีพที่มีความสุข ทำให้ผู้คนอิ่มท้อง ผู้บริโภคมีรอยยิ้มก็สร้างความสุขให้กับเกษตรกร สามารถที่จะอยู่อย่างพอกินพอใช้ ไม่ขัดสน หาเลี้ยงชีพ และได้อยู่กับครอบครัวก็เพียงพอแล้ว’ แม้ว่า ‘บางครั้งจะถูกลืม’ เหมือนคนกลุ่มน้อยที่ไม่มีปากมีเสียง ขายข้าวไม่ได้ราคา ก็มีไม่มีคนเห็นใจ ใช้ชีวิตอย่างลำบาก ขาดโอกาสในการต่อรองราคา ถูกรังแกจากพ่อค้าคนกลาง เกษตรกรไม่สามารถที่จะทำเองได้ทุกอย่าง

อาชีพหลักของชาวตำบลไผ่รอบ คือ ชาวนา อาชีพทางเกษตรกรรมในประเทศไทยมักมีความหมายถึงอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก ชาวนาในประเทศไทยนับว่าเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุด เพราะข้าวเป็นอาหาร หลักของคนไทย อาชีพทำนาเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนไทยที่สืบทอดมายังอนุชนรุ่นหลังโดยส่วนใหญ่แล้วชาวนาจะใช้ชีวิตอยู่โดยสงบเงียบในชนบทการทำงานของชาวนาจะเริ่มทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำตลอดทั้งปี เพราะหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวประจำปีแล้ว พวกเขาก็จะเริ่มปลูกข้าวนาปรัง หรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ต่ออีก หรือไม่ก็เลี้ยงปศุสัตว์หรือสัตว์อื่น ๆ เสริม เช่น ปลาและ เป็ด เป็นตัน โดยปกติปลาจะอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในนาข้าว ดังนั้น ต้นกล้าและปลาจะเติบโตไปพร้อม ๆ กันในประเทศไทยส่วนใหญ่จะปลูกข้าวกันทั้งประเทศ และปลูกกันมากในภาคกลางซึ่งจนถึงกับบางครั้งคำเรียกภาคกลาง ว่า “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของเอเซีย

"จะให้หันไปปลูกอย่างอื่นก็ไม่ได้" ชาวนาส่วนใหญ่ปลูกข้าวมาครึ่งค่อนชีวิต และสืบทอดต่อกันมา ให้เปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่นก็ขาดองค์ความรู้ เงินทุน หรือกลัวว่าจะขาดทุน ส่วนทรัพยากรน้ำก็ขาดแคลน แม้ว่าจะขุดบ่อ หรือเจาะน้ำบาดาลก็ไม่เพียงพอ และใช้ต้นทุนค่อนข้างสูง ทำให้ต้องรอฝนตกเท่านั้น"

ผู้ให้ข้อมูล นายจรัญ ดีไทย ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 ตำบลไผ่รอบ

ผู้เรียบเรียง นางสาวศิรินันท์ ยอดนุ่ม

กศน.ตำบลไผ่รอบ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร

โทร : 096-9067483

Email : sirinandp@gmail.com