“ลูกประคบ ภูมิปัญญาไทยสร้างเงิน”

“ลูกประคบ ภูมิปัญญาไทยสร้างเงิน” ภูมิปัญญาไทย ด้านการแพทย์แผนไทย การใช้สมุนไพรในการดูแลรักษาสุขภาพ ซึ่งบรรพบุรุษชาวไทยได้ใช้สืบทอดกันมายาวนานนับตั้งแต่สมัยพุทธกาลโดยหมอชีวกโกมารภัจน์ และทางองค์การอนามัยโลกได้สำรวจพบว่าเมืองไทยของเราอุดมไปด้วยพืชสมุนไพรกว่าสามหมื่นชนิด และได้นำพืชสมุนไพรของเราไปวิจัยทางด้านเภสัชวิทยา และนำไปสกัดเป็นยาส่งไปขายทั่วโลกและขายในราคาที่แพงมากพืชสมุนไพรหลายชนิดถูกนำไปจดสิทธิบัตร ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่คนไทยทุกคนต้องหวงแหนทรัพยากรอันทรงคุณค่าของเรารวมกันสืบสานการแพทย์แผนไทยโดยนำสมุนไพรพื้นบ้านที่มีอยู่ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งมีความรู้เรื่องการนวดแผนโบราณ และการร่ำเรียนมา ร้านเพ็ญพิมลนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพ พบว่าชาวบ้านทำงานหนักแล้วเกิดอาการปวดเมื่อย สืบเนื่องจากมีความรู้พื้นฐานการนวดและเรื่องสมุนไพร จึงนำมาทำลูกประคบเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อซึ่งเป็นการรักษาพยาบาลในเบื้องต้นได้ เป็นการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน สมุนไพรพื้นบ้าน หาได้ไม่ยากนักในหมู่บ้าน การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการรักษาโรคมาทำเป็นลูกประคบ เพื่อสะดวกในการใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดเมื่อยคลายความแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อช่วยให้เส้นเอ็นที่ตึงแข็ง อ่อนตัวลง ช่วยระบบการไหลเวียนของโลหิต

อุปกรณ์การทำลูกประคบ

1. ผ้าดิบสำหรับห่อลูกประคบ ขนาด กว้าง 35 x ยาย 35 เซนติเมตร 2 ผืน (เอาไว้ห่อนั่นละ)

2. เชือก หรือ หนังยาง

3. ตัวยาที่ใช้ทำลูกประคบ

4. หม้อสำหรับนึ่งลูกประคบ

5. จานหรือชามอลูมิเนียมเจาะรู (เพื่อให้ไอน้ำผ่านได้) รองลูกประคบ

ตัวยาที่นิยมใช้ทำลูกประคบ (ลูกประคบ 2 ลูก) สาเหตุที่ทำ 2 ก็เพราะเอาไว้เปลี่ยนเวลานำอีกลูกขึ้นนึ่งนั่นเอง จะได้ไม่ต้องรอ…

1. ไพล (500 กรัม) แก้ปวดเมื่อย ลดการอักเสบ

2. ผิวมะกรูดถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้ (200 กรัม) มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน

3. ตะไคร้บ้าน (100 กรัม) แต่งกลิ่น

4. ใบมะขาม (300 กรัม) แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว

5. ขมิ้นชัน (100 กรัม) ช่วยลดการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง

6. เกลือ (1 ช้อนโต๊ะ) ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่าน ผิวหนังได้สะดวกขึ้น

7. การบูร (2 ช้อนโต๊ะ) แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ

8. ใบส้มป่อย (100 กรัม) ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน

9. ใบเป้า

วิธีการทำลูกประคบ

1. หั่นหัวไพล ขมิ้นชัน ต้นตะไคร้ ผิวมะกรูด ตำมะกรูด ตำพอหยาบๆ ตำพอหยาบๆ (เวลาประคบจะได้ไม่ระคายเคือง)

2. นำใบมะขาม ใบส้มป่อย (เฉพาะใบ) ผสมกับสมุนไพรข้อ 1 เสร็จ แล้วให้ใส่เกลือ การบูร คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน แต่อย่าแฉะจนเป็นน้ำเด้อ…

3. แบ่งตัวยาที่เรียบร้อยแล้ว ใส่ผ้าดิบห่อเป็นลูกประคบประมาณลูกส้มโอ รัดด้วยเชือกให้แน่น (ลูกประคบเวลาถูกความร้อนยาสมุนไพรจะฝ่อลง ให้รัดใหม่ให้แน่นเหมือนเดิม)

4. นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15-20 นาที

5. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบคนไข้ที่มีอาการต่างๆ โดยสับเปลี่ยนลูกประคบ

วิธีการประคบ

1. จัดท่าคนไข้ให้เหมาะสม เช่น นอนหงาย นั่ง นอนตะแครง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะทำการประคบสมุนไพร

2. นำลูกประคบที่รับร้อนได้ที่แล้วมาประคบบริเวณที่ต้องการประคบ (การทดสอบความร้อนของลูกประคบคือ แตะที่ท้องแขนหรือหลังมือ)

3. ในการวางลูกประคบบนผิวหนังคนไข้โดยตรงในช่วงแรกๆ ต้องทำด้วยความเร็ว ไม่วางแช่นานๆ เพราะคนไข้จะทนร้อนไม่ได้มาก

4. เมื่อลูกประคบคลายความร้อนลงก็สามารถเปลี่ยนลูกประคบอีกลูกหนึ่งแทน (นำลูกเดิมไปนึ่งต่อ) ทำซ้ำตามข้อ 2,3,4

ประโยชน์ของการประคบ (จากตัวยาสมุนไพรและความร้อน)

1. บรรเทาอาการปวดเมื่อย

2. ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อหลัง 24-48 ชั่วโมง

3. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ

4. ช่วยให้เนื้อเยื่อ พังผืด ผืดตัวออก

5. ลดการติดขัดของข้อต่อ

6. ลดอาการปวด

7. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต


รับบริการและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไผ่รอบเหนือ หมู่ 8 ตำบลไผ่รอบ

อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร โทรศัพท์ : 056-030089

ผู้ให้ข้อมูล นายสมทบ สอนราช ผู้อำนวยการ รพ.สต.ไผ่รอบเหนือ

ผู้เรียบเรียง นางสาวศิรินันท์ ยอดนุ่ม

กศน.ตำบลไผ่รอบ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร

โทร : 096-9067483

Email : sirinandp@gmail.com