วัฒนธรรม ประเพณีอัฏฐมีบูชา วัดใหม่สุคนธาราม 

       งานประเพณีวัน " อัฏฐมีบูชา " หนึ่งในงานระดับประเทศ ที่ขับเคลื่อนและสานต่อจากรุ่นสู่รุ่น โดยชาวบ้านตำบล    วัดละมุด และพื้นที่ใกล้เคียงอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม นำมาซึ่งประเพณีวัฒนธรรม ปฏิบัติต่อๆกันมาอย่างยิ่งใหญ่และสนุกสนาน แฝงไปด้วยข้อคิด และคติธรรม ดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี ซึ่งในปัจจุบันจะหาชมได้ค่อนข้างยากในประเทศไทย และจังหวัดที่มีการจัดงานบุญประเพณีอัฏมีบูชา เป็นประจำทุกๆปีคือจังหวัดนครปฐมและจังหวัดอุตรดิตถ์พุทธศาสนิกชนร่วมกันทำบุญ และสืบสานงานประเพณี วันถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลองเพื่อเป็นการรักษาและคงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาให้อยู่ คู่แผ่นดิน โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย ขบวนเหตุการณ์สมมุติ อัญเชิญพระบรมศพจำลอง นำโดยคณะสงฆ์ 199 รูป พร้อมด้วยคณะพราหมณ์ เทวดา นางฟ้า  พระสาวกและสาธุชน และการจำลอง เมืองนรก-เมืองสวรรค์ อบายมุก การฟ้อนรำ และมีการล้อเลียนการเมืองและเสียดสีสังคม โดยชาวบ้านได้มีการ นำเรือดำน้ำ จำลองมาร่วมในขบวนซึ่งภายในยังสามารถเปิดออกมา และมีการนำเรือดำน้ำ ที่บรรจุคนที่สวมหน้ากากผู้นำเหล่าทัพ มานั่งอยู่ภายในเรือ ก่อนจะนำมาปล่อยลงในคลองที่หน้าวัด ซึ่งเป็นการเสียดสีสังคมการเมือง และเป็นการสร้างสีสันให้กับประชาชนที่มาร่วมงานในครั้งนี้ โดยเรียกเสียงหัวเราะและรอยยิ้มของประชาชนได้จำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีการจำลองในเมืองนรกภูมิ มีการเดินเต้นตามจังหวะสร้างบรรยากาศให้เกิดความคึกคักภายในงานเช่นดังทุกปี ขณะเดียวกันพิธีที่เป็นทางการได้มีการจัดให้มีการเวียนทักษิณาวัตรรอบมณฑลพิธีจำลองจากนั้นได้มีการจัดขบวนการอัญเชิญสังขารขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานเหนือจิตกาธาน เพื่อประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ดินไทยตลอดไป

  




             ประวัติงานวันอัฏฐมีบูชา วัดใหม่สุคนธาราม ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จัดงานวันอัฐมีบูชาติดต่อกันมายาวนาน โดยในปีพ.ศ. 2565 นี้ นับเป็นปีที่ 129 ของประวัติการจัดงานวันอัฐมีบูชาจากข้อมูลสัมภาษณ์ของนางจำลอง วิบูลย์ปิ่น ที่ได้สัมภาษณ์นายบัว ชูสูงทรง อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และอดีตไวยาวัจกร วัดใหม่สุคนธาราม เมื่อ พ.ศ.2544 ซึ่งขณะนั้น นายบัว ชูสูงทรง มีอายุ 88 ปี ให้ข้อมูลกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของประเพณี ดังกล่าวว่าการจัดงานประเพณีนี้เริ่มมีขึ้นในสมัยหลวงพ่อเบี้ยว ปทุมรัตน์ อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 4 ของวัดใหม่สุคนธาราม โดยมี ไวยาวัจกร 3 ท่าน คือ นายวอน ลอยสูงวงศ์ นายขีด แก้วบูชา และนายอ่วม อ่อนสูงทรง เป็นผู้นำในการจัดงานวันอัฏฐมีบูชา จากข้อมูลการสัมภาษณ์นายบัว ชูสูงทรง เท่าที่จำความได้ทางวัดมีการจัดงานทุกปีไม่เคยเว้นว่าง ซึ่งการจัดงานในสมัยก่อนนั้นปู่ของ นายบัว ชูสูงทรง เล่าว่าจัดกันตั้งแต่ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา หรือวันปรินิพพาน เป็นต้นไปโดยในช่วงค่ำจะมีการตั้งหีบพระบรมศพจำลองบนศาลาการเปรียญและมี  การสวดพระอภิธรรม บำเพ็ญพระกุศลถวายสักการะเป็นพุทธบูชา 7 คืนเมื่อถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิงในช่วงเช้าชาวบ้านจะประกอบพิธีทำบุญตักบาตรที่วัดหลังจากนั้นทางวัดใหม่สุคนธาราม และชาวบ้านในชุมชนจะช่วยกันสร้างจิตกาธานหรือเชิงตะกอนจำลอง เพื่อใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงในตอนบ่ายหมู่บ้านต่าง ๆ ในละแวกใกล้เคียงวัดก็จะรวมกันจัดขบวนแห่พุ่มผ้าป่าแห่ดอกไม้ไฟประมาณ 3-4 ขบวน มายังวัดเมื่อเสร็จพิธีถวายพระเพลิงแล้วก็จะทำการจุดดอกไม้ไฟ ตะไล กวด ที่ประกอบมาในขบวนแห่นั้นถวายเป็นพุทธบูชาสมัยหลวงพ่อย้อย อินทโร อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 6 ของวัดใหม่สุคนธาราม นับเป็นยุคเฟื่องฟูของงานประเพณีสมัยหนึ่งมีความร่วมมือในการประกอบพิธีทางศาสนาระหว่างชุมชนวัดใหม่สุคนธารามและวัดห้วยพลูโดยในวันวิสาขบูชาชุมชนจากวัดใหม่สุคนธารามจะไปเวียนเทียนที่วัดห้วยพลูและเมื่อถึงวันอัฐมีบูชาชุมชนจากวัดห้วยพลูก็จะพากันจัดขบวนแห่มาร่วมพิธีซึ่งในยุคนั้นพระอาจารย์ดา ปิยทสสี วัดใหม่สุคนธารามและคณะศิษย์จะเป็นผู้รับผิดชอบในการประดิษฐ์ดอกไม้ไฟให้กับขบวนแห่ที่มาร่วมงานเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชุมชนที่ไม่สามารถประดิษฐ์ดอกไม้ไฟการจัดงานครั้งนั้นมีขบวนแห่ที่มาร่วมงาน 2 สาย คือชุมชนห้วยพลู ตำบลห้วยพลู อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม นำโดยผู้ใหญ่บด ศิริพิน และนายชาญ แก้วบูชา สายที่ 2 คือ ชุมชนวัดกลาง ตำบลบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม นำโดยกำนันเทียน ปลื้มละมัย แต่การเข้าร่วมของทั้ง 2 ชุมชนนั้น ดำเนินการได้เพียง 2 ปีก็ต้องยุติไปด้วยเหตุจำเป็นบางประการ การจัดงานในครั้งนั้นมีการสร้างจิตกาธานจำลองซึ่งหลวงพ่อย้อยผู้ทรงภูมิปัญญาในการแทงหยวกเป็นผู้แกะสลักลวดลายแทงหยวกประดับจิตกาธานจำลองอย่างวิจิตรตระการตา โดยมีลูกศิษย์ คือ นายบุญธธรม ฤทธิ์ศรีสันต์ ซึ่งมีอายุ 61 ปี (จากข้อมูลสัมภาษณ์ของนางจำลอง วิบูลย์ปิ่น เมื่อ พ.ศ.2544) เป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาและช่วยในการแทงหยวกทุกปี 


ต่อมาสมัยหลวงพ่อเชื้อสิริปุญโญอดีตเจ้าอาวาส องค์ที่ 7 ได้ริเริ่มสร้างพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ที่เรียกขานนามว่า“หลวงพ่อใหญ่”ซึ่งเป็นพระปางปรินิพพานที่มีต้นแบบจากประเทศศรีลังกาแกะสลักจากศิลาทรายโดยช่างชาวอยุธยา มีขนาดตลอดพระองค์ 6 เมตร 9 นิ้วชาวบ้านในละแวกนี้ต่างภูมิใจและมีความเชื่อว่าหลวงพ่อใหญ่เป็นพระปางปรินิพพานสร้างจากศิลาทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยสมัยพระครูวินัยธรโกศล ปริปุณโณ เจ้าอาวาสองค์ที่ 8 ซึ่งมีนายสำรวย เกิดต่อพันธุ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ดำรงตำแหน่งต่อจากนายบัว ชูสูงทรง ตั้งแต่ พ.ศ.2516 เป็นผู้นำชุมชน การจัดงานวันอัฐมีบูชาได้เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางขึ้นโดยหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรต่างๆ ได้เข้ามาให้ความร่วมมือในการจัดงานคณะสงฆ์ในเขตปกครองคณะอำเภอนครชัยศรีก็เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมากรวมทั้งชุมชนหมู่บ้านใกล้เคียงต่างให้ความร่วมมือส่งขบวนแห่เข้าร่วมมากขึ้นและสื่อมวลชนก็ได้ให้ความสำคัญในการทำและเผยแพร่ข่าวมากขึ้นด้วยเช่นกันประวัติความเป็นมาในการจัดงานวันอัฐมีบูชานี้ได้ประมวลเหตุการณ์และข้อมูลพบว่าการประกอบพิธีต่างๆของชุมชนแห่งนี้มีความพยายามจัดขึ้นโดยจำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้ใกล้เคียงเหตุการณ์ในพุทธประวัติดังมีการกล่าวไว้ในหนังสือศิลปวัฒนธรรมไทยฉบับฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2525 แสดงให้เห็นว่าชุมชนแห่งนี้มีการเรียนรู้เรื่องราวในพุทธประวัติตอนอัฐมีบูชาโดยละเอียดแม้ว่าทางราชการจะมิได้กำหนดให้เป็นวันสำคัญทางศาสนาของไทย หรือแม้แต่บรรจุในหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับแต่ประการใดซึ่งผู้ริเริ่มนั้น จะเรียนรู้จากแหล่งใด มิอาจทราบได้แน่ชัดแต่การที่ชุมชนมีการนำจุดเล็กๆในพุทธประวัติมาเป็นคติ ในการทำบุญ และยังคงสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นนั้นนับเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความเจริญทางอารยธรรมของชุมชนลุ่มน้ำนครชัยศรี

      

แหล่งข้อมูลเนื้อหาโดย พระครูวนกิจโสภณ เจ้าอาวาสวัดใหม่สุคนธาราม

อำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม 

และนายอาทร สูญจันทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด )

เรียบเรียงเนื้อหาโดย 

: (นายธนวิชญ์ คำวรรณ ครู กศน.ตำบลวัดละมุด  กศน.อำเภอนครชัยศรี

สำนักงาน กศน.จังหวัดนครปฐม)

ชื่อผู้ถ่ายภาพ/อ้างอิงที่มา  

1.องค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด 

2.นายธนวิชญ์ คำวรรณ 



แผนที่