สื่อการเรียนการสอน

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

พบกลุ่มครั้งที่ 1


แผนการจัดการเรียนรู้ ครั้งที่ 1.doc

พบกลุ่มครั้งที่ 2



แผนการจัดการเรียนรู้

รายวิชา เศรษฐกิจพอเพียง   รหัสวิชา ทช 21001     จำนวน  1  หน่วยกิต ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

การจัดการเรียนรู้แบบ  พบกลุ่ม   สัปดาห์ที่  …2…..  วันที่  .........................................จำนวน   3   ชั่วโมง

……………………………………………………………………………………………………………......

เรื่อง      ความพอเพียง

ตัวชี้วัด    1. อธิบายความเป็นมา ความหมายและหลักแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

             2. อธิบายและวิเคราะห์การบริหารจัดการชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง                

 เนื้อหา    1.  ความเป็นมา  ความหมายหลักแนวคิด

             2.  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการความรู้            

ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้

ขั้นที่ 1 กำหนดสภาพปัญหาการเรียนรู้

      1. ครูสนทนากับผู้เรียนถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงว่าเคยทราบเรื่องนี้มาก่อนหรือไม่และมีความเข้าใจว่าอย่างไร
      2. ครูสอบถามกับผู้เรียนถึงเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัวว่ามีสาเหตุมาจากเรื่องใดบ้าง เช่น ปัญหาความยากจน  การว่างงาน  ครอบครัวแตกแยกแต่ละคนแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังจากนั้นครูให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องความพอเพียง

 

ขั้นที่ 2 แสวงหาข้อมูลและจัดการเรียนรู้

        1. ครูให้ผู้เรียนดูวิดีโอเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

     2. ครูให้ผู้เรียนศึกษาใบความรู้ที่1,2และ3

ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและการนำไปใช้

       1. ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยเป็น 5 กลุ่มละเท่าๆกันแล้วให้แต่ละกลุ่มสรุปองค์ความรู้จากการดูวิดีโอและการศึกษาใบความรู้ เรื่องความเป็นมา  ความหมายหลักแนวคิดและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการความรู้ แล้วจัดทำเป็นแผนผังความคิดเรื่องความพอเพียง                

      2. ครูให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

      3. ครูให้ผู้เรียนทำใบงานที่1

      3. ครูและผู้เรียนสรุปบทเรียนที่ผ่านมาร่วมกัน

 

ขั้นที่ 4 การประเมินผลการเรียนรู้

         1.ครูให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนเรื่องความพอเพียง

         2.ครูประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากผลงาน ใบงาน   ตามสภาพความเป็นจริง

         3. ครูมอบหมายให้ผู้เรียนไปศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองในเรื่อง ชุมชนพอเพียง การแก้ปัญหาชุมชน สถานการณ์ของประเทศกับความพอเพียงและสถานการณ์โลกกับความพอเพียงโดยจัดทำเป็นเล่มรายงาน

         4.ครูมอบหมายให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติการปลูกผักกลุ่มละ1ชนิด

 

 สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

         1. หนังสือเรียนวิชาเศรษฐกิจพอเพียงระดับม.ปลาย

         2. สื่ออินเตอร์เน็ต/วิดีโอเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

         3. ใบความรู้

         4.แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนเรื่องว่าความพอเพียง

การวัดและประเมินผล

1.   การสังเกตพฤติกรรม

2.   การอภิปรายหน้าชั้นเรียน

3.   แบบทดสอบก่อนเรียน -หลังเรียน

4.   ผลงาน

5.   สรุปงาน

เครื่องมือวัดและประเมินผล

         - แบบบันทึกผลการประเมินผลการเรียนรู้

         - แบบทดสอบ

 เกณฑ์การวัดและประเมินผล

         -ถือเกณฑ์การผ่านประเมิน ระดับดี ขึ้นไป

          

ใบความรู้ที่1

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง 

 เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร  

 เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระ

ราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ 

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง 

          หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้ 

1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤตเพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา 

 2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน 

3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้ 

3.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่

เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นเช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 

3.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไป

อย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ 

3.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการ

เปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึง ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล 

4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 

4.1 เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบ

ด้านความรอบคอบ ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ 

4.2 เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความ

ซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต 

5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี 

          หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่มีคุณค่ายิ่ง  และยังมีความลึกซึ้งก้าวหน้าและเหมาะสมสำหรับสังคม  หลักการสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มี  5  ประการ  คือ 1.ความพอประมาณ  คือ  ความพอดี  ไม่น้อยเกินไป  ไม่มากเกินไป  ไม่เติบโตเร็วเกินไป  ไม่ช้าเกินไปและไม่โดเด่นเกินไป 2.ความมีเหตุผล  คือทุกอย่างต้องมีที่ไปที่มา  อธิบายได้  การส่งเสริมกันในทางที่ดีสอดคล้องกับหลักพุทธรรม คือ ความเป็นเหตุเป็นผลเพราะสิ่งนี้ทำให้เกิดสิ่งนี้  ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นตามเหตุผลปัจจัย  3.ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี  จะต้องปกป้องคุ้มครองไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่ไม่ควรจะเป็น  เช่น เกิดความเสี่ยงเพราะมีความโลภมากเกินไป 4. ความรอบรู้  ต้องมีความรอบคอบ มีการใช้ความรู้ ใช้วิทยาการด้านความระมัดระวัง  มีการจัดองค์ความรู้ที่ดี  ดำเนินการอย่างรอบคอบ  ครบถ้วนรอบด้าน  ครบทุกมิติ

5.ความมีคุณธรรมความดี  คุณธรรมความดีเป็นพื้นฐานของความมั่นคง  ซึ่งประกอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  มานะอดทน  พากเพียรและใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต


ใบความรู้ที่ 2

 เรื่อง  คิดเป็น

คิดเป็น (khit pen) เป็นศัพท์ บัญญัติ โดย ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ให้เงื่อนไขนิยามว่า คิดเป็นหมายถึงการคิดเพื่อการตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูล ส่วนตัว ข้อมูลทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ
          กระบวนการ คิดเป็น  โดย ดร.โกวิท วรพิพัฒน์  มีดังนี้


ส่วนที่เป็นสีชมพู  แทนการคิดโดยอาศัยข้อมูลด้านตนเองด้านเดียว
ส่วนที่เป็นสีเขียว  แทนการคิดที่อาศัยข้อมูลด้านสังคมสิ่งแวดล้อมเพียงด้านเดียว
ส่วนที่เป็นสีฟ้า  แทนการคิดที่อาศัยข้อมูลด้านวิชาการเพียงด้านเดียว
ส่วนที่เป็นสีเหลือง  แทนการคิดที่อาศัยข้อมูลด้านตนเอง และด้านสังคมสิ่งแวดล้อม โดยไม่ได้คำนึงถึงข้อมูลทางด้านวิชาการ
ส่วนที่เป็นสีฟ้าอ่อน  แทนการคิดที่อาศัยข้อมูลด้านสังคมสิ่งแวดล้อม และด้านวิชาการ โดยไม่ได้คำนึงถึงข้อมูลด้านตนเอง
ส่วนที่เป็นสีม่วง  แทนการคิดที่อาศัยข้อมูลด้านตนเองและด้านวิชาการ โดยไม่ได้คำนึงถึงข้อมูลด้านสังคมสิ่งแวดล้อม
ส่วนที่เป็นสีขาว  แทนการคิดที่อาศัยข้อมูลครบทั้งสามด้าน ในวิถีการดำรงชีวิตในสังคม ซึ่งไม่มีคำตอบสำเร็จรูป ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลที่สัมพันธ์กับสถานการณ์ของสังคม สิ่งแวดล้อม และวิชาการ สามารถคิด ตัดสินใจ สู่การปฏิบัติ จนกระทั่งเกิดความพอใจและพบความสุขตามหลักการ คิดเป็น

ปรัชญา  คิดเป็น  อยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่า ความต้องการของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนมีจุดรวมของความต้องการที่เหมือนกัน คือ ทุกคนต้องการความสุข คนเราจะมีความสุขเมื่อเราและสังคมสิ่งแวดล้อมประสมกลมกลืนกันได้ โดยการปรับปรุงตัวเราให้เข้ากับสังคมหรือสิ่งแวดล้อมหรือโดยการปรับปรุงสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเรา หรือปรับปรุงทั้งตัวเราและสังคมสิ่งแวดล้อมให้ประสมกลมกลืนกัน หรือเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับตน คนที่สามารถทำได้เช่นนี้ เพื่อให้ตนเองมีความสุขนั้น จำเป็นต้องเป็นผู้มีความคิดสามารถคิดแก้ปัญหา รู้จักตนเองและธรรมชาติสิ่งแวดล้อม จึงจะเรียกได้ว่าผู้นั้นเป็นคนคิดเป็น หรืออีกนัยหนึ่งปรัชญา “คิดเป็น” มาจากความเชื่อพื้นฐานตามแนวพุทธศาสนา ที่สอนให้บุคคลสามารถพ้นทุกข์ และพบความสุขได้ด้วยการค้นหาสาเหตุของปัญหา สาเหตุของทุกข์ ซึ่งส่งผลให้บุคคลผู้นั้นสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

ความหมายของ   คิดเป็น

         โกวิท วรพิพัฒน์ ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับ คิดเป็น ว่า  บุคคลที่คิดเป็นจะสามารถเผชิญปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีระบบ บุคคลผู้นี้จะสามารถพินิจพิจารณาสาเหตุของปัญหาที่เขากำลังเผชิญอยู่ และสามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับทางเลือก เขาจะพิจารณาข้อดีข้อเสียของแต่ละเรื่อง โดยใช้ความสามารถเฉพาะตัวค่านิยมของตนเอง และสถานการณ์ที่ตนเองกำลังเผชิญอยู่ ประกอบการพิจารณา

         การ  คิดเป็น  เป็นการคิดเพื่อแก้ปัญหา คือ มีจุดเริ่มต้นที่ปัญหาแล้วพิจารณาย้อนไตร่ตรองถึงข้อมูล 3 ประเภท คือ ข้อมูลด้วยตนเองชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และข้อมูลวิชาการ ต่อจากนั้นก็ลงมือกระทำถ้าหากสามารถทำให้ปัญหาหายไป กระบวนการก็ยุติลง แต่หากบุคคลยังไม่พอใจแสดงว่ายังมีปัญหาอยู่ บุคคลก็จะเริ่มกระบวนการพิจารณาทางเลือกใหม่อีกครั้ง และกระบวนการนี้ยุติลงเมื่อบุคคลพอใจและมีความสุข

สรุป ความหมายของ คิดเป็น   ได้ดังนี้

• การวิเคราะห์ปัญหาและแสวงหาคำตอบหรือทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาและดับทุกข์
• การคิดอย่างรอบคอบเพื่อการแก้ปัญหาโดยอาศัยข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคมสิ่งแวดล้อมและข้อมูลวิชาการ

เป้าหมายของ   คิดเป็น

         เป้าหมายสุดท้ายของการเป็นคน คิดเป็น  คือความสุข คนเราจะมีความสุขเมื่อตัวเราและสังคมสิ่งแวดล้อมประสมกลมกลืนกันอย่างราบรื่นทั้งทางด้านวัตถุ กายและใจ

 แนวคิดหลักของ  คิดเป็น

• มนุษย์ทุกคนล้วนต้องการความสุข
• ความสุขที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับการปรับตัวของแต่ละคนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมตามวิธีการของตนเอง
• การตัดสินใจเป็นการคิดวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือด้านตนเอง ด้านสังคม และด้านวิชาการ
• ทุกคนคิดเป็น เท่าที่การคิดและตัดสินใจทำให้เราเป็นสุขไม่ทำให้ใครหรือสังคมเดือดร้อน

 

คิดอย่างไรเรียกว่า  คิดเป็น

           คิดเป็น  เป็นการคิดแบบพอเพียง พอประมาณ ไม่มาก ไม่น้อยเป็นทางสายกลาง สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล พร้อมที่จะรับผลกระทบที่เกิดโดยมีความรอบรู้ในวิชาการที่เกี่ยวข้องอย่างรู้จริง สามารถนำความรู้มาใช้ประโยชน์ได้ มีคุณภาพใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ซึ่งแนวคิดนี้สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั่นเอง เป็นการบูรณาการเอาการคิด การกระทำ การแก้ปัญหา ความเหมาะสมและความพอดี มารวมไว้ในคำว่า  คิดเป็น  คือ การคิดเป็นทำเป็นอย่างเหมาะสมตนเกิดความพอดี และแก้ปัญหาได้ด้วย

 

 

 

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้เป็นคน  คิดเป็น

         กระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญา  คิดเป็น  นี้ ผู้เรียนสำคัญที่สุดผู้สอนจะเป็นเพียงผู้จัดโอกาส จัดกระบวนการ จัดระบบข้อมูล และแหล่งการเรียนรู้ กิจกรรมในการเรียนรู้อาจมีแนวปฏิบัติ  ดังนี้

1. กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์จากปัญหาและความต้องการของตนเอง
2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
3. เรียนรู้จากการอภิปรายถกเถียงในประเด็นที่เป็นปัญหา
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากกระบวนการกลุ่ม มีการใช้ข้อมูลหลาย ๆ ด้าน
5. เรียนรู้จากวิถีชีวิตจริง จากการทำงาน
6. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการทำโครงงาน
7. เรียนรู้จากการศึกษา กรณีตัวอย่างเพื่อการแก้ปัญหาชุมชน
8. ผู้เรียนต้องรู้จักใช้ข้อมูลที่ลึกซึ่ง ฝึกตัดสินใจด้วยระบบข้อมูลที่เพียงพอและเชื่อถือได้
9. นำเวทีชาวบ้านมาเป็นเครื่องมือสำคัญในกระบวนการคิดแก้ปัญหา
10. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ตัดสินใจในการแก้ปัญหาบนพื้นฐานของข้อมูลตนเอง ชุมชนสิ่งแวดล้อม และวิชาการ

ตัวอย่างการคิดเป็น

        ปราชญ์ชาวบ้าน คุณลุงประยงค์ รณรงค์ แห่งชุมชนบ้านไม้เรียงจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นตัวอย่างของบุคคลที่เป็นรูปแบบของความหมาย  คิดเป็น  ได้อย่างดี ลุงประยงค์ จะมีความคิดที่เชื่อมโยง คิดแยกแยะ ชัดเจน เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการนำไปปฏิบัติ และต้องทดลองความรู้ที่หามาได้ก่อนการยืนยันเสมอ แนวคิดเช่นนี้ทำให้ลุงประยงค์เป็นแกนนำสำคัญที่ทำให้ชุมชนไม้เรียง เป็นชุมชนตัวอย่างหนึ่งที่เข้มแข็งมานาน พึ่งพาตนเองได้อย่างเหมาะสมพอดีกับบริบทของตนเอง

ตัวอย่าง การคิดเป็น  เรื่องถ้าคิดจะเลี้ยงหมู จะต้องพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้

ตนเอง ว่ามีความพร้อมด้านทรัพยากรของตนเองเช่น เงินทุน สถานที่ ทำเล  แรงงาน ฯลฯ

ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม มีความขัดแย้ง หรือเอื้ออำนวยต่อการดำเนินการหรือไม่ตลอดจนถึง ด้านความต้องการของชุมชน ฯลฯ
ด้านวิชาการ หมายถึงความรู้วิชาการทุกอย่างที่จำเป็นต้องใช้ในการเลี้ยงหมู ว่าตนเองมีความรู้พร้อมหรือ มีแหล่งใดที่จะสามารถหาเพื่อรู้หาได้หรือไม่

หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยตนเอง พิจารณาความเป็นไปได้ แล้วจึงตัดสินใจ เลี้ยงหรือไม่เลี้ยง "กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" ระบบนี้เรียกว่า "คิดเป็น"

สรุป  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้  คิดเป็น  นั้นคือ

• สำรวจปัญหาลำดับความสำคัญของปัญหาที่ต้องแก้ไขก่อนหลัง
• แสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยการรวบรวมข้อมูล
• วิเคราะห์ข้อมูล
• สรุปตัดสินใจเลือกวิธีการที่ดีที่เหมาะสมที่สุด
• นำไปปฏิบัติและตรวจสอบ

       

ใบความรู้ที่3

เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการความรู้
            การจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management เป็นคำที่ได้รับความสนใจไม่น้อยในยุคปัจจุบัน เนื่องจากองค์กรธุรกิจต่างตระหนักถึงคุณค่าของสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) ในองค์กรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และได้พยายามศึกษาถึงวิธีการในการสร้างและรักษาสินทรัพย์ประเภทดังกล่าวไว้ในกิจการ จนกลายเป็นศาสตร์แขนงที่มีการค้นคว้าและมีการสร้างทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวอย่างมากมาย
คำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์ของการจัดการความรู้ มักจะประกอบไปด้วยคำว่า ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และปัญญา ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ สารสนเทศ (Information) คือ ข่าวสาร หรือข้อมูลที่ถูกจัดรูปเพื่อการแสดงหรือการชี้แจง สำหรับนำไปใช้วิเคราะห์และการคำนวณ ความรู้ (Knowledge) คือ เนื้อความ หรือสารสนเทศที่ผ่านการถอดความ ผ่านกระบวนการคิดและเข้าใจ เป็นข้อมูลที่ถูกจดจำในรูปของประสบการณ์ ปัญญา (Wisdom) คือ ความรู้ที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ปราศจากอคติและความคิดเห็น มีความเที่ยงตรง ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
ในทางธุรกิจ การใช้เทคโนโลยีกับการบริหารจัดการข้อมูลและสารสนเทศ เช่น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล การใช้ซอฟต์แวร์กับการจัดการสารสนเทศและการคำนวณต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จนถึงกับมีศาสตร์แขนงใหม่ที่เรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology – IT) คุณประโยชน์ที่ได้รับจากศาสตร์แขนงนี้ ได้ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลกับระบบเศรษฐกิจ เกิดการเคลื่อนย้ายจากเศรษฐกิจยุคอุตสาหกรรม มาสู่เศรษฐกิจยุคสารสนเทศอย่างเต็มรูปในทศวรรษที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี การขยายขอบเขตของการใช้เทคโนโลยีกับความรู้นั้น มีพัฒนาการอยู่ในระดับจำกัด แม้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์จะเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วและมิได้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ถึงกับมีความพยายามที่จะบริหารจัดการความรู้ในองค์กรธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบหลัก แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก สาเหตุที่แท้จริงคือ ด้วยคุณสมบัติของตัวความรู้เอง ที่ต้องอาศัยกระบวนการทางความคิด (Thinking) ที่มีอยู่ในตัวคนหรือสิ่งมีชีวิตเท่านั้น นอกเหนือจากความจำ (Memory) และการประมวลผล (Computing) ซึ่งสามารถใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ช่วยเหลือสนับสนุนได้
ด้วยเหตุนี้ เทคนิคการจัดการความรู้ในระยะหลัง จึงดำเนินผ่านกระบวนการเรียนรู้ระหว่างคนสู่คนเป็นหลัก ผ่านทางกลไกต่างๆ ที่เรียกว่า ชุมชนแห่งการปฏิบัติ (Community of Practice) หรือองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) หรือบทสนทนา (Dialogue) เป็นต้น โดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นเพียงองค์ประกอบรอง และลำดับขั้นของการพัฒนาศาสตร์ในแขนงนี้ในปัจจุบัน ยังหยุดอยู่ที่ขั้นความรู้ (Knowledge) ยังไม่ครอบคลุมถึงขั้นปัญญา (Wisdom)
                  ความรู้ในฐานะที่เป็นเงื่อนไขในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แม้ว่าการอธิบายถึงคุณลักษณะและเงื่อนไขในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะใช้คำว่าความรู้ อันเป็นที่ตกลงและเข้าใจกันทั่วไป แต่หากพิจารณาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขและพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่นั้นอย่างละเอียด กลับพบคำว่า “ความรอบรู้” ซึ่งกินความมากกว่าคำว่า “ความรู้” คือ นอกจากจะต้องอาศัยความรู้ในเชิงลึกเกี่ยวกับงานที่จะทำแล้ว ยังจำเป็นจะต้องมีความรู้ในเชิงกว้าง ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมและสถานการณ์ที่เกี่ยวพันกับงานที่จะทำทั้งหมด โดยเฉพาะที่พระองค์ท่านทรงเน้น คือ ระบบชีวิตของคนไทย อันได้แก่ ความเป็นอยู่ ความต้องการ วัฒนธรรม และความรู้สำนึกคิดโดยเบ็ดเสร็จ จึงจะทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้
        การนำองค์ประกอบด้านความรู้ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ในทางธุรกิจ จึงมิได้จำกัดอยู่เพียงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับมิติทางเศรษฐกิจ ที่คำนึงถึงความอยู่รอด กำไร หรือการเจริญเติบโตของกิจการแต่เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับมิติทางสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่นนั้นๆ สอดคล้องตามหลัก “การไม่ติดตำรา” เช่น ไม่ควรนำเอาความรู้จากภายนอกหรือจากต่างประเทศ มาใช้กับประเทศไทยโดยไม่พิจารณาถึงความแตกต่างในด้านต่างๆ อย่างรอบคอบระมัดระวัง หรือไม่ควรผูกมัดกับวิชาการ ทฤษฎี และเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตแ  ละความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทยและสังคมไทย
ยิ่งไปกว่านั้น “ความรู้” ที่ปรากฏในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยังประกอบไปด้วย “ความระลึกรู้” (สติ) กับ “ความรู้ชัด” (ปัญญา) ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่วิชาการหรือทฤษฎีในตะวันตกที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ยังไม่ครอบคลุมถึงหรือยังไม่พัฒนาก้าวหน้าไปถึงขั้นดังกล่าว จึงไม่มีแนวคิดหรือเครื่องมือทางการบริหารจัดการความรู้ใดๆ ที่มีความละเอียดลึกซึ้งเท่ากับที่ปรากฏอยู่ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอีกแล้ว


แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน

เรื่องความพอเพียง

1. เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงอะไร

ก. การทำเกษตรกรรม

ข. การดำรงชีวิตอยู่อย่างพออยู่พอกิน

ค. การค้าขายให้ได้เงินเพียงพอสำหรับครอบครัว

ง. การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เพื่อให้ครอบครัวพออยู่พอกิน

2. เป้าหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือข้อใด

ก. มุ่งแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจชาติ

ข. เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง

ค. เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกในยุคโลกภิวัฒน์

ง. มุ่งให้เกิดความสมดุลพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง

3. การปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะก่อให้เกิดผลดีต่อตนเองและครอบครัว ยกเว้น ข้อใด

ก. มีความรับผิดชอบต่อสังคม

ข. มีความพอประมาณในการใช้จ่าย

ค. มีการวางแผนการบริหารจัดการประเทศ

ง. ทำให้รู้จักใช้เหตุผลในการวางแผนและการปฏิบัติตน

4.แนวทฤษฎีใหม่ให้ความสำคัญกับการจัดทรัพยากรให้มากที่สุด

ก. มนุษย์                                      ข. ทรัพยากรน้ำ

ค. ทรัพยากรดิน                            ง. ทรัพยากรป่าไม้

5.แนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเริ่มต้นเมื่อใด

ก. พ.ศ. 2507                                 ข. พ.ศ. 2517

ค. พ.ศ. 2527                                 ง. พ.ศ. 2537

6.หลักคิดในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ยกเว้นข้อใด

ก. ความมีเหตุผล                              ข. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

ค. ความขยันหมั่นเพียร                       ง. ใช้คุณธรรมนำความรู้

7.การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยสิ่งใดเป็นพื้นฐาน

ก. ความซื่อสัตย์และความรู้                   ข. ความรู้และคุณธรรม

ค. คุณธรรมและความเพียร                   ง. ความเพียรและสติปัญญา

8.ข้อใดเป็นการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ก. รู้จักประหยัด

ข. ยืมเงินเพื่อนและผ่อนใช้ทีหลัง

ค. อดอาหารกลางวันเพื่อเก็บเงินใส่ออมสิน

ง. ทำงานหลังเลิกเรียนเพื่อเก็บเงินไว้ซื้อสิ่งของที่อยากได้

9.ข้อใดคือความหมายของการพึ่งตนเอง

ก. มีความมั่นใจว่าตนเองเก่ง

ข. มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

ค. ขอความช่วยเหลือเมื่อทำสิ่งนั้นไม่ได้

ง. พยายามทำทุกอย่างด้วยตนเองแม้จะทำไม่ได้ดี

10.ข้อใดเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อปลูกฝังแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงต่อตนเอง

ก. การนำน้ำล้างจานไปรดต้นไม้

ข. เปลี่ยนหลอดไฟเป็นแบบหลอดประหยัดไฟฟ้า

ค. ไม่ทิ้งขยะในที่สาธารณะและแหล่งน้ำในชุมชน

ง. ใช้ถุงผ้าแทนถุงกระดาษแทนและถุงพลาสติกในการซื้อของ


ใบงานที่1

เรื่องความพอเพียง

1.เศรษฐกิจพอเพียงมีความเป็นมาอย่างไร

................................................................................................................................................................................................................................................

2.เศรษฐกิจพอเพียงมีหลักแนวคิดที่สำคัญอย่างไร

................................................................................................................................................................................................................................................

3.วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้คืออะไร

.........................................................................................................................................................................


4.การจัดการความรู้ในชุมชนเพื่อการพัฒนาอาชีพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีกระบวนการและวิธีการอย่างไร

.........................................................................................................................................................................


































พบกลุ่มครั้งที่ 3


แผนการจัดการเรียนรู้

รายวิชา สุขศึกษา พลศึกษา    ทช21002วิชา   จำนวน...2..หน่วยกิต ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

การจัดการเรียนรู้แบบ  พบกลุ่ม  สัปดาห์ที่  3  วันที่......เดือน.................................พ.ศ.2564 จำนวน   3   ชั่วโมง 

..........................................................................................................................................................................

เรื่อง  พัฒนาการของร่างกาย

ตัวชี้วัด  1.อธิบายโครงสร้าง หน้าที่ และการทำงานของระบบอวัยวะสำคัญของร่างกาย 5 ระบบได้อย่าง  

              ถูกต้อง

         2.ปฏิบัติตนในการดูแลรักษาและป้องกันอาการผิดปกติของระบบอวัยวะสำคัญ  5 ระบบได้อย่าง 

              ถูกต้อง

         3.อธิบายพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงตามวัยของมนุษย์ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม

              สติปัญญาได้อย่างถูกต้อง

เนื้อหา   1.โครงสร้าง หน้าที่ การทำงาน และการดูแลรักษาระบบต่างๆที่สำคัญของร่างกาย 5 ระบบ

                     -ระบบผิวหนัง

                     -ระบบกล้ามเนื้อ

                     -ระบบกระดูก

                     -ระบบไหลเวียนโลหิต

                     -ระบบหายใจ

         2.พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงตามวัยด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา

                 -วัยทารก

           -วัยเด็ก

           -วัยรุ่น

           -วัยผู้ใหญ่

                  -วัยชรา

         ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้

ขั้นที่ 1 การกำหนดสภาพ ปัญหา ความต้องการในการเรียนรู้

         1.ครูทักทายผู้เรียนและให้ผู้เรียนทุกคนยืนขึ้นพร้อมกับบอกอวัยวะต่างๆบนร่างกายของผู้เรียนว่ามีอะไรบ้างแล้วให้ผู้เรียนช่วยกันตอบว่าระบบต่างๆที่สำคัญของร่างกายมีอะไรบ้าง

         2.ครูให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องพัฒนาการของร่างกาย

ขั้นที่ 2 การแสวงหาข้อมูล และจัดการเรียนรู้

1.ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 6 คน

2.ครูให้ผู้เรียนดู Yotobe เรื่อง พัฒนาการของร่างกายแล้วมอบหมายให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มสรุป

องค์ความรู้จากที่ได้ดู Yotobe เรื่อง พัฒนาการของร่างกายในเรื่องต่อไปนี้แล้วทำเป็นแผนผังความคิด

   -โครงสร้าง หน้าที่ การทำงานและการดูแลรักษาระบบต่างๆที่สำคัญของร่างกาย 5 ระบบ

   -พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงตามวัยด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา

ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและนำไปประยุกต์ใช้

1. ครูให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานที่มอบหมายหน้าชั้นเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันโดยที่ครูจะคอยเพิ่มเติมในส่วนของเนื้อหาที่ยังไม่สมบูรณ์ของแต่ละกลุ่มให้สมบูรณ์มากที่สุด

2. ครูให้ผู้เรียนทุกคนทำใบงานที่1เรื่องโครงสร้าง หน้าที่ การทำงานและการดูแลรักษาระบบต่างๆ

3. ครูให้ผู้เรียนทุกคนทำใบงานที่2เรื่องพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

4. ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปบทเรียนที่เรียนมาและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสอบถามในเรื่องที่ยังไม่เข้าใจ

5. ครูมอบหมายให้ผู้เรียนไปศึกษาด้วยตนเองในเรื่อง

-การดูแลรักษาสุขภาพ

           -สารอาหาร

           -โรคระบาด

ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มไปศึกษาค้นคว้าตามเรื่องที่มอบหมายจาก สื่ออินเทอร์เน็ต แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ แล้วสรุปเป็นเล่มรายงาน

ขั้นที่ 4 การประเมินผล

         1.  ครูให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนเรื่องพัฒนาการของร่างกายเพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนมา

สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

         1.สื่ออินเตอร์เน็ต

         2.หนังสือแบบเรียนวิชาสุขศึกษาพลศึกษา

         3.ใบงานที่ 1เรื่องโครงสร้าง หน้าที่ การทำงานและการดูแลรักษาระบบต่างๆ

         4.ใบงานที่ 2 เรื่องพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

5.แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องพัฒนาการของร่างกาย

การวัดและประเมินผล

         วิธีการ

         การตรวจ

         - แบบทดสอบ

         - ใบงาน

เครื่องมือวัดและประเมินผล

         - แบบบันทึกผลการประเมินผลการเรียนรู้

         - แบบทดสอบ

         -ใบงาน

 เกณฑ์การวัดและประเมินผล

         -ถือเกณฑ์การผ่านประเมิน ระดับดี ขึ้นไป


แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน

เรื่องพัฒนาการของร่างกาย

1.การเจริญเติบโตของร่างกายคืออะไร

         ก.  การที่ร่างกายสูงใหญ่ขึ้น

         ข.  การที่อวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานได้ดี

         ค.  การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต

         ง.  การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

2.การเจริญเติบโตและการพัฒนาการมีความสัมพันธ์กันหรือไม่อย่างไร

         ก.  สัมพันธ์กันเพราะต้องใช้ควบคู่กันไป

         ข.   สัมพันธ์กัน เพราะเมื่อร่างกายเจริญเติบโตขึ้นย่อมมีการพัฒนาการมากขึ้น

         ค.  ไม่สัมพันธ์กัน เพราะการเจริญเติบโตมีความหมายแตกต่างกับการพัฒนาการ

         ง.  ไม่สัมพันธ์กัน เพราะการเจริญเติบโตเป็นเรื่องของร่างกาย ส่วนการพัฒนาการเป็นเรื่องของจิตใจอารมณ์และสังคม

3.อาหารประเภทแป้งถูกย่อยทางเคมีเป็นครั้งแรกที่อวัยวะในข้อใด
        ก. ปาก                                  ข. หลอดอาหาร
        ค. กระเพาะอาหาร                  ง. ลำไส้เล็ก 

4.เอนไซม์ในน้ำลายช่วยย่อยอาหารประเภทใด
        ก. คาร์โบไฮเดรต                    ข. โปรตีน
        ค. ไขมัน                                ง. วิตามิน

5. ระบบหายใจเป็นระบบที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนระหว่างแก๊สชนิดใด

         ก.คาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน

         ข.ไนโตรเจนและออกซิเจน

         ค.คาร์บอนไดออกไซด์และไนโตรเจน

         ง.ไนโตรเจนและคลอรีน

6.หลอดเลือดที่มีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์อยู่มากเรียกว่าอะไร

         ก.หลอดเลือดดำ                      ข.หลอดเลือดฝอย

         ค.หลอดเลือดแดง                    ง.หลอดเลือดเหลือง

7.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจ

         ก.เพศหญิงจะมีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่าเพศชาย

         ข.วัยเด็กจะมีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่าผู้ใหญ่

         ค.กิจกรรมขณะใช้แรงจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่าขณะพัก

         ง.ถูกทั้ง ก และ ข

8.เพื่อนมีอิทธิพลมากกว่าผู้ใหญ่ เป็นพัฒนาการด้านสังคมของวัยใด
         ก. วัยทารก                             ข. วัยเด็ก
        ค. วัยรุ่น                                ง. วัยผู้ใหญ่

9.เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนคนใดปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง

         ก.หลังเลิกเรียนนภาเล่นกีฬากับเพื่อนก่อนทำการบ้าน

         ข.สุชาติดูแลสุขภาพตามสุขปฏิบัติ

         ค.สุดาเล่าเรื่องการเปลี่ยนแปลงของร่างกายให้เพื่อนฟัง

         ง.เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพประชาจะปรึกษาพ่อแม่

10.ข้อใดปฏิบัติได้ถูกสุขปฏิบัติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ

         ก.ใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับเพื่อนสนิท

         ข.สวมชุดชั้นในที่สะอาดมีขนาดรัดแน่น

         ค.อาบน้ำทุกวันวันละ 2 ครั้ง

         ง.ล้างอวัยวะเพศให้สะอาดทั้งภายในและภายนอก



 ใบงานที่ 1

เรื่องโครงสร้าง หน้าที่ การทำงานและการดูแลรักษาระบบต่างๆ

1 ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าโครงสร้างหน้าที่และการดูแลรักษาระบบที่สำคัญของร่างกาย

1.1   ระบบผิวหนัง

ความหมาย

................................................................................................................................................................................................................................................

                    หน้าที่

..................................................................................................................................................................................................................

                    วิธีการป้องกันดูแลรักษา.......................................................................................................................................................................................................................................

            1.2 ระบบกล้ามเนื้อ

ความหมาย

...............................................................................................................................................................................................................................................              หน้าที่......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

                     วิธีการป้องกันดูแลรักษา.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

              1.3 ระบบกระดูก

ความหมาย

................................................................................................................................................................................................................................................

               หน้าที่......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

                วิธีการป้องกันดูแลรักษา.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

          1.4 ระบบไหลเวียนโลหิต

ความหมาย

................................................................................................................................................................................................................................................

      หน้าที่..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

       วิธีการป้องกันดูแลรักษา.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................   

 1.5 ระบบหายใจ

               ความหมาย.......................................................................................................................................................................................................................................

         หน้าที่......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

               วิธีการป้องกันดูแลรักษา....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


 

ใบงานที่ 2

เรื่องพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

1. ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าการพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ของแต่ละวัย

2.1 วัยทารก อายุ.............. ปี

                - ด้านร่างกาย....................................................................................................................

         - ด้านจิตใจ.......................................................................................................................

         - ด้านอารมณ์...................................................................................................................

         - ด้านสังคม.....................................................................................................................

         - ด้านสติปัญญา................................................................................................................

 2.2 วัยเด็ก อายุ..................... ปี

             - ด้านร่างกาย...................................................................................................................

         - ด้านจิตใจ.......................................................................................................................

         - ด้านอารมณ์...................................................................................................................

         - ด้านสังคม.....................................................................................................................

         - ด้านสติปัญญา................................................................................................................

2.3 วัยรุ่น      อายุ.................... ปี

         - ด้านร่างกาย.....................................................................................................................

         - ด้านจิตใจ........................................................................................................................

         - ด้านอารมณ์.....................................................................................................................

         - ด้านสังคม........................................................................................................................

         - ด้านสติปัญญา..................................................................................................................      

2.4  วัยผู้ใหญ่    อายุ.................... ปี

         - ด้านร่างกาย.....................................................................................................................

         - ด้านจิตใจ........................................................................................................................

         - ด้านอารมณ์.....................................................................................................................

         - ด้านสังคม.......................................................................................................................

         - ด้านสติปัญญา.................................................................................................................        

2.5  วัยชรา      อายุ..................... ปี

         - ด้านร่างกาย.....................................................................................................................

         - ด้านจิตใจ........................................................................................................................

         - ด้านอารมณ์.....................................................................................................................

         - ด้านสังคม.......................................................................................................................

          - ด้านสติปัญญา.................................................................................................................       

 



พบกลุ่มครั้งที่ 4


แผนการจัดการเรียนรู้

รายวิชา ศิลปศึกษา ทช21003  จำนวน...2..หน่วยกิต ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

การจัดการเรียนรู้แบบ  พบกลุ่ม   สัปดาห์ที่ 4  วันที่                                                         2566  จำนวน 3 ชั่วโมง

..........................................................................................................................................................................

เรื่อง  ทัศนศิลป์ไทย

ตัวชี้วัด  1. อธิบายความรู้พื้นฐานของ ทัศนศิลป์ไทย ดนตรีไทย และนาฏศิลป์ไทย

 2. สร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ความรู้พื้นฐาน ด้าน ทัศนศิลป์ไทย คนตรีไทย และนาฏศิลป์ไทย

 3. ชื่นชม เห็นคุณค่าของ ทัศนศิลป์ไทย ดนตรีไทย และนาฏศิลป์ไทย

 4. วิเคราะห์ วิพากย์ วิจารณ์ งานด้านทัศนศิลป์ไทย คนตรีไทย และนาฏศิลป์ไทย

 5. อนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาด้านทัศนศิลป์ไทย คนตรีไทย และนาฏศิลป์ไทย

เนื้อหา  1. จุด เส้น สี แสง เงา รูปร่าง และรูปทรงที่ใช้ในทัศนศิลป์ไทย

          2. ความเป็นมาของทัศนศิลป์ไทยด้านจิตรกรรมไทย ประติมากรรมไทย สถาปัตยกรรมไทย ภาพพิมพ์

          3. ความงามและคุณค่าของทัศนศิลป์ไทย

          4 .การนำความงามของธรรมชาติมาสร้างสรรค์ผลงาน

          5. ความคิดสร้างสรรค์ ในการนำเอาวัสดุและสิ่งของต่าง ๆ มาตกแต่งร่างกายและสถานที่

          6. คุณค่าของความซาบซึ้งของวัฒนธรรมของชาติ

ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้

ขั้นที่ 1 การกำหนดสภาพ ปัญหา ความต้องการในการเรียนรู้

         1.ครูสนทนากับผู้เรียนเกี่ยวกับงานวาดภาพ ความเป็นมาของทัศนศิลป์ไทยแล้วให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างศิลปินทัศนศิลป์สาขาจิตรกรรมที่รู้จัก

2.ครูให้ผู้เรียนสังเกตสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวว่ามีสิ่งของอะไรบ้างที่เป็นผลงานทัศนศิลป์หรือเกิดจากการนำความรู้ทางทัศนศิลป์ไปใช้ประโยชน์ครูอธิบายเพิ่มเติมแล้วทำแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องทัศนศิลป์ไทย

ขั้นที่ 2 การแสวงหาข้อมูล และจัดการเรียนรู้

1.ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็น 4 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มไปร่วมกันศึกษาความรู้เรื่องต่างๆ จากหนังสือเรียน หรือ  อินเตอร์เน็ต ดังนี้

กลุ่มที่ 1ทัศนศิลป์ไทยด้านจิตรกรรมไทย

กลุ่มที่ 2 ประติมากรรมไทย

กลุ่มที่ 3 สถาปัตยกรรมไทย

กลุ่มที่ 4 ภาพพิมพ์  

2. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

3. ผู้เรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการในการสร้างผลงานทัศนศิลป์ประเภทต่างๆ

 

 

 

ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและนำไปประยุกต์ใช้

             1.  ครูมอบหมายให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจัดบอร์ดแสดงผลงานทัศนศิลป์ด้านต่างๆ ที่ได้ไปศึกษาค้นคว้ามา

         2.  ครูและผู้เรียนร่วมสรุปองค์ความรู้ร่วมกัน

         3. ครูมอบหมายให้ผู้เรียนไปศึกษาด้วยตนเองในเรื่องดนตรีไทย

1.ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของเครื่องดนตรีไทย

2. เทคนิควิธีการเล่นของเครื่องดนตรีไทยแต่ละประเภท

3. คุณค่าของความงามและไพเราะของเพลงและเครื่องดนตรีไทย

4. ประวัติของคุณค่าความรักและหวงแหน ของภูมิปัญญา ตลอดจน กิจกรรมกระบวนการ

ถ่ายทอดของภูมิปัญญาทางด้านเพลงและดนตรีไทยโดยให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าจากสื่ออินเตอร์เน็ต หรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆปแล้วสรุปองค์ความรู้มาเป็นใบความรู้

ขั้นที่ 4 การประเมินผล

         1.ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนเรื่องทัศนศิลป์ไทย เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจในเรื่องทีเรียนมา

สื่อการเรียนรู้

1.       ใบความรู้

2.       หนังสือเรียนวิชาศิลปศึกษา

3.       อินเตอร์เน็ต

4.       ใบงาน

การวัดและประเมินผล

         วิธีการ

         การตรวจ

         - แบบทดสอบ

         - ใบงาน

เครื่องมือวัดและประเมินผล

         - แบบบันทึกผลการประเมินผลการเรียนรู้

         - แบบทดสอบ

         -ใบงาน

 เกณฑ์การวัดและประเมินผล

         -ถือเกณฑ์การผ่านประเมิน ระดับดี ขึ้นไป

          


แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน

เรื่อง ทัศนศิลป์ไทย

 

คำชี้แจง    ให้ผู้เรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

 

1.   หลักฐานผลงานทัศนศิลป์ยุคหินเก่าคือข้อใด

   ก.อาวุธ                         ข.  ภาพเขียน

   ค.  ภาพแกะสลัก                   ง.เครื่องล่าสัตว์

           

2.   การนำความงามทางศิลปะมาประยุกต์เข้ากับการ

   ดำรงชีวิตประจำวันคือข้อใด

   ก.พานิชศิลป์                         ข.  นิเทศศิลป์

   ค.  ประยุกต์ศิลป์                   ง.ศิลปะกับชีวิต

 

3.   ข้อใดไม่ใช่ทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพทาง

   ทัศนศิลป์

   ก.มีความคิดสร้างสรรค์

   ข.  มีความรู้ทางด้านศิลปะ

   ค.  มีความอดทนมานะพยายาม

   ง.มีประสบการณ์ทางด้านศิลปะ

 

4.   ถ้าเป็นคนช่างคิดควรประกอบอาชีพใดทางทัศนศิลป์

   ก.ครูศิลปะ

   ข.  ช่างศิลป์

   ค.ศิลปินอิสระ

   ง.  นักออกแบบผลิตภัณฑ์

 

5.   อาชีพใดต้องมีความรู้พื้นฐานทางศิลปะเป็นอย่างดี

   ก.ครูศิลป์

   ข.  ช่างศิลป์

            ค.ศิลปินอิสระ

   ง.  นักออกแบบผลิตภัณฑ์

 

6.   ส่วนประกอบที่สำคัญของอาชีพอิสระคือข้อใด

   ก.มีเวลา                               ข.  ทุนทรัพย์

   ค.ประสบการณ์                  ง.  เชื่อมั่นในตนเอง

 

7.   รอบรู้เทคนิคเฉพาะด้านเป็นคุณสมบัติของอาชีพใด

   ก.ช่างไม้                              ข.  ช่างปั้น

   ค.ช่างหล่อ ง.  ช่างศิลปะ

 

8.   ลักษณะเด่นของสินค้าที่ผลิตด้วยมือคือข้อใด

   ก.ใช้วัสดุธรรมชาติ    

   ข.  เป็นสินค้าราคาถูก

   ค.ใช้แรงงานคนเป็นหลัก

   ง.  จำหน่ายตามแหล่งท่องเที่ยว

 

9.   ข้อใดไม่ใช่ทักษะของอาชีพผลิตภัณฑ์ด้วยมือ

   ก.มีเงินลงทุน             

   ข.  เข้าใจเรื่องตลาด

   ค.มีความคิดสร้างสรรค์

   ง.  มีความสามารถในการจัดการ

 

10. ข้อใดคือช่างสิบหมู่

   ก.ช่างฝีมือ                          ข.  ช่างศิลป์

   ค.ช่างหลวง                        ง.  ช่างเอก



                                                                                                                                         ใบงานที่ 1

เรื่อง ทัศนศิลป์ไทย

1. ทัศนศิลป์ (Visual Art) มีความหมายอย่างไร

.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

อ่านเรื่องแล้วตอบคำถาม

         บ่ายวันหนึ่งขณะกำลังเรียนวิชาศิลปะ แสงสว่างในห้องได้ลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว ท้องฟ้าสลัว ลมพัดแรงทำให้หน้าต่างกระแทกฝาห้องดังโครมคราม ผู้เรียนบางคนตกใจไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ภูผาบอกกับเพื่อนๆ ว่า “พวกเราดูท้องฟ้าโน่นสิ เมฆสีดำลอยต่ำปกคลุมไปทั่ว มีฟ้าแลบด้วยอย่างนี้จะต้องมีฝนตกแน่นอน” เพื่อนหลายคนตอบว่า “ใช่แล้ว” แต่บางคนก็ยังสงสัย และก็เป็นอย่างที่ภูผาพูดจริงๆ เพราะต่อมาฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก

2.ทำไมอยู่ๆ ห้องจึงมืดสลัวลงได้เพราะเหตุใด

................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

 

        3. จากเรื่องนี้เราเห็นสิ่งใดบ้างที่มีลักษณะคล้ายจุด เส้น สี รูปร่าง รูปทรง เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

 

 



พบกลุ่มครั้งที่ 5 

แผนการจัดการเรียนรู้

รายวิชา ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน พต21001 จำนวน  4  หน่วยกิต  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

การจัดการเรียนรู้แบบ  พบกลุ่ม     สัปดาห์ที่ 8  วันที่.                                                       2566     จำนวน 3 ชั่วโมง

..........................................................................................................................................................................

เรื่อง  การพูดโทรศัพท์ ( Telephone Conversation)       

ตัวชี้วัด  รับ-ตอบโทรศัพท์อย่างง่าย ๆ

เนื้อหา   1.การโต้ตอบโทรศัพท์เกี่ยวกับคำศัพท์ สำนวน ประโยคต่าง ๆ ที่ใช้ในการสื่อสารในการรับโทรศัพท์อย่างง่ายรวมกัน การรับฝากข้อความทางโทรศัพท์

ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้

ขั้นที่ 1 การกำหนดสภาพ ปัญหา ความต้องการในการเรียนรู้

         1.ครูพูดคุยกับผู้เรียนและทักทายผู้เรียนเป็นภาษาอังกฤษถึงการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์เป็นวิธีการที่สะดวกและรวดเร็ว การรับและพูดโทรศัพท์ โดยใช้ภาษาอังกฤษด้วยสำนวนที่ถูกต้องและชัดเจนตรงตามความต้องการของผู้พูดจะช่วยให้สื่อสารได้เข้าใจตรงกันตามวัตถุประสงค์ ผู้เรียนจึงต้องศึกษา ท่านคิดว่าจะต้องใช้คำศัพท์ สำนวนและประโยคภาษาอังกฤษ ในการสนทนาทางโทรศัพท์ในแต่ละสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม อย่างไรบ้าง จากนั้นให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องการพูดโทรศัพท์

ขั้นที่ 2 การแสวงหาข้อมูลและการจัดการเรียนรู้

         1.ครูเปิดวิดีโอเรื่องBasic Telephone Expressions  การพูดทางโทรศัพท์ให้ผู้เรียนดูหลังจากนั้นครูให้ผู้เรียนจับคู่แล้วฝึกปฏิบัติตามวิดีโอที่เปิดให้ดูพร้อมศึกษาใบความรู้ที่ 1 เรื่องการพูดโทรศัพท์ควบคู่กันไปด้วย

         2.ครูให้ผู้เรียนฝึกพูดพร้อมๆกัน       

ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและนำไปประยุกต์ใช้

         1. ครูให้ผู้เรียนมาฝึกพูดกับครูโดยจับคู่กันมาฝึกปฏิบัติหน้าชั้นเรียน

ขั้นที่ 4 การประเมินผล

         1.ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปบทเรียนในเรื่องที่เรียนผ่านมาจากนั้นครูให้ผู้เรียน

         2. ครูให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนเรื่องการพูดโทรศัพท์เพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนมา

สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

         1. วิดีโอเรื่อง Basic Telephone Expressions   2. สื่ออินเตอร์เน็ต

         3. ใบความรู้ที่ 1 เรื่องการพูดโทรศัพท์   4.แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนเรื่องการพูดโทรศัพท์       

 

การวัดและประเมินผล

         วิธีการ

         การตรวจ

         - แบบทดสอบ

         - การฝึกปฏิบัติจริง

เครื่องมือวัดและประเมินผล

         - แบบบันทึกผลการประเมินผลการเรียนรู้

         - แบบทดสอบ

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

         -ถือเกณฑ์การผ่านประเมิน ระดับดี ขึ้นไป

            

 ใบความรู้ที่ 1

เรื่อง  การพูดโทรศัพท์ (Telephone Conversation)

         สังคมโลกทุกวันนี้มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อด้วย ตนเองหรือติดต่อทางโทรศัพท์ ทางอินเทอร์เน็ต ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่สำคัญ ซึ่งคนส่วนใหญ่ในโลกใช้ในการติดต่อสื่อสารรองลงมาจากภาษาจีน อย่างไรก็ตามแม้ว่าภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน แต่ก็มิได้หมายความว่าทุกคนจะรู้และเข้าใจภาษาอังกฤษได้ทั้งหมด การสนทนาโดยใช้ภาษาท่าทางประกอบจึงเป็นเรื่องจำเป็นอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้คู่สนทนา เข้าใจและสื่อความหมายในชีวิตประจำวันได้

เรื่องที่ การพูดโทรศัพท์ (Telephone Conversation)

การติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์เป็นวิธีการที่สะดวกและรวดเร็ว การรับและพูดโทรศัพท์ โดยใช้ภาษาอังกฤษด้วยสำนวนที่ถูกต้องและชัดเจนตรงตามความต้องการของผู้พูดจะช่วยให้สื่อสารได้เข้าใจตรงกันตามวัตถุประสงค์ ผู้เรียนจึงต้องศึกษาคำศัพท์ สำนวนและประโยคภาษาอังกฤษ ในการสนทนาทางโทรศัพท์ให้เข้าใจและนำไปใช้ในแต่ละสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม

ก่อนอื่นเราต้องทราบวิธีการใช้โทรศัพท์ประเภทต่าง ๆ ที่มักจะใช้ในชีวิตประจำวัน มีดังนี้

1. โทรศัพท์บ้านหรือสำนักงาน (home or office telephone) การใช้โทรศัพท์ ที่ติดตั้งอยู่ที่บ้านหรือสำนักงานเพื่อติดต่อกับบุคคลต่าง ๆ นั้น มีวิธีการใช้ดังนี้

Dial number. (กด/หมุนหมายเลข) 

Speak when connected. (พูดเมื่อมีผู้รับสาย)

 Replace handset. (วางหูโทรศัพท์)

2. โทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile phone หรือ cell phone) ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือที่เรามักเรียกกันว่า “มือถือ” เป็นไปอย่างแพร่หลาย ผู้เรียนเกือบ ทุกคนคงจะคุ้นเคยกับการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่แล้ว

Ensure the phone is switch on and in service. (ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเปิดโทรศัพท์มือถือแล้ว)

Enter the phone number. (กดหมายเลขโทรศัพท์และใช้การได้)

Press dial key. (กดปุ่มต่อสายโทรศัพท์)

Speak when connected. (พูดเมื่อมีผู้รับสาย)

Press end key. (กดปุ่มวางสาย)

Press dial key to answer the phone call. (กดปุ่มต่อสายเมื่อต้องการรับโทรศัพท์)

3. การใช้โทรศัพท์สาธารณะ ในปัจจุบันโทรศัพท์สาธารณะมีอยู่ทั่วไปในที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนไม่น้อย ผู้เรียนคงเคยใช้โทรศัพท์สาธารณะมาแล้ว ลองทบทวนดูว่าได้ทำตาม

Lift handset. (ยกหูโทรศัพท์ขึ้น)

Insert coins. (หยอดเหรียญ)

Listen for dial tone. (ฟังเสียงสัญญาณ) 

Dial number. (กดหมายเลข) 

Speak when connected. (พูดเมื่อมีผู้รับสาย)

 Insert more coins if warning sign shows. (เติมเหรียญเพิ่มหากมีสัญญาณเตือนว่าเงินจะหมด)

Replace handset. (วางหูโทรศัพท์)

Removed unused coins. (หยิบเหรียญที่ไม่ได้ใช้คืน)

คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์ (Word Study)

สำนวนที่มักจะใช้ในการพูดโทรศัพท์ มีดังนี้

Sorry, I can't hear. ขอโทษนะคะ/ครับ ดิฉันไม่ได้ยินเลยค่ะ/ครับ

Louder, please. กรุณาพูดดังกว่านี้ค่ะ/ครับ

Pardon? ขอโทษว่าอะไรนะคะ/ครับ

He's not here now. ขณะนี้เขาไม่อยู่ค่ะ/ครับ

My phone number is…… โทรศัพท์ของฉันเหมายเลข...........................

Sorry, you've got a wrong number. ขอโทษค่ะ/ครับ คุณโทรผิดหมายเลขแล้วค่ะ/ครับ

A phone line is busy. สายโทรศัพท์ไม่ว่าง

A telephone is out of order. โทรศัพท์ขัดข้องหรือเสีย

Who's calling? ใครกำลังพูด, ใครกำลังโทรศัพท์

just a moment, please. กรุณารอสักครู่

just a minutes, please. กรุณารอสักครู่

การสนทนาทางโทรศัพท์ (Telephone conversation)

วิธีการสนทนาทางโทรศัพท์ต้องใช้คำศัพท์และสำนวนที่ถูกต้องในกรณีต่าง ๆ ดังเช่นตัวอย่างสถานการณ์ต่อไปนี้

Situation 1

กรณีที่เราต้องการพูดด้วยอยู่ ณ ที่นั้น

Suda : Hello. Can I speak to Wipa, please?

Malee : Hello. Who's calling, please?

Suda : I'm Suda.

Malee : Hold on, please

Situation 2

กรณีบุคคลที่เราต้องการพูดด้วยไม่อยู่ ณ ที่นั้นและไม่ต้องฝากข้อความไว้ แต่ว่าจะ โทรศัพท์กลับมาอีกครั้งหนึ่ง

Suda : Hello. This is Suda. Could I speak to Wipa, please?

Malee : Sorry. She isn't in. Would you like to leave a message?

Suda : No, thank you. I'll call her later on.

Malee : All right. Goodbye.

Suda : Thanks. Goodbye.

Situation 3

กรณีบุคคลที่เราต้องการพูดด้วยไม่อยู่ ณ ที่นั้นและต้องฝากข้อความไว้

Suda : Hello. Here's Suda speaking. Is Malee in?

Wipa : Sorry. She's out. Would you like to leave a message?

Suda : Yes, please tell her that I can't see her tomorrow.

Wipa : Alright, I'll tell her.

Suda : Thanks a lot. Goodbye.

Wipa : You're welcome. Goodbye


 

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน

เรื่อง  การพูดโทรศัพท์ (Telephone Conversation)

Exercise 1 Complete each blank with one of the verbs given.

Replace Dial Listen Speak Enter

Remove Ensure Lift Insert Press

1. ____________________ handset.             2. ____________________ coins.

3. ____________________ for dial tone.          4. ____________________ number.

5. ____________________ when connected.     6. ____________________ handset after speaking.

7. ____________________ unused coins.         8. ____________________ the phone is switched on.

9. ____________________ the phone number.  10. ____________________ dial key.

Exercise 2 Complete this telephone conversation.

Woman : ______(1)_______ This is 02-3184596.

Jack : _________(2)_________

Woman : Sorry, _______(3)_________

Jack : Oh! I'm Jack Reed.

Woman : Can I _____(4)______ for her, Mr. Reed?

Jack : Yes. Could you tell Pam to ______(5)________ at 02-5618244.

Exercise 3 Complete this telephone conversation.

Pam : Hello. _____(1)_______ .

Jack : Speaking.

Pam : Hi Jack. _____(2)____ My mother told me that you _____(3)___ . and wanted me to call back.

Jack : Oh, yes. Jim cannot go to the concert with me this Friday night

because he's a lot of work to finish for tomorrow meeting.

Would you like to go with?

Pam : ____(4)_____ , but I can't. I have to work late this Friday.

Jack : Oh! That's too bad. Goodbye.

Pam : _____(5)_____ .