หน้าที่ชาวพุทธ:มรรยาทของศาสนิกชน

การเข้าใจบทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 


พระภิกษุเป็นผู้สละเหย้าเรือน สละความสุขทางโลกเพื่อแสวงหาสัจธรรม หน้าที่ส าคัญของพระภิกษุ ก็คือ ศึกษา พระธรรมค าสอนของพระพุทธองค์ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ แล้วน ามาเผยแผ่แก่มวลมนุษย์ เพื่อเป็นหนทางให้โลก ได้พบความสงบและสันติอย่างแท้จริง 

การเผยแผ่พระศาสนาของพระภิกษุ 

การแสดงธรรม การแสดงปาฐกถาธรรม 

1.การแสดงธรรม เรียกว่า การแสดงพระธรรมเทศนา หรือการเทศน์เป็นรูปแบบที่ทำกันมาแต่โบราณ มีระเบียบวิธีปฏิบัติเป็นแบบอย่างโดยเฉพาะ มีการอาราธนาศีล อาราธนาธรรม ผู้ฟังนั่งอย่างสงบเรียบร้อย ประนมมือ ตั้งใจฟัง 

2.การแสดงปาฐกถาธรรม เป็นการแสดงธรรมโดยใช้ภาษาธรรมดาที่สื่อความหมายได้ง่าย ตัดรูปแบบและ พิธีกรรมอย่างที่ใช้ในการเทศน์ออก 

การประพฤติตนให้เป็นแบบอย่าง 

1.วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ การประพฤติตนให้เป็นแบบอย่าง ผู้ที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้นั้น ก่อนอื่นก็จะต้องเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี คือ รู้และเข้าใจหลักธรรมถูกต้องและปฏิบัติตามหลักธรรมนั้นด้วย

2.พระภิกษุมีหน้าที่ที่จะทำให้เห็นว่า การมีชีวิตตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้นเป็นไปได้ หลักคำสอนเป็นนามธรรม 

การปฏิบัติเป็นรูปธรรม พระภิกษุต้องมีชีวิตเรียบง่าย พึ่งเพียงปัจจัย ๔ เลี้ยงชีพ ไม่สะสมทรัพย์สินเงินทอง ไม่ยึดติด 

ในลาภสักการะ มีเมตตา ไม่พยาบาท ไม่คิดร้ายต่อผู้อื่น 

3.พระสงฆ์มีบทบาทหน้าที่โดยตรงในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ส่วนประชาชนทั่วไปหรือแม้แต่เราเอง ก็มีภารกิจทางโลก ที่ต้องท าอาจไม่มีเวลาหรือความรู้มากพอที่จะเผยแผ่ แต่หากมีโอกาสเหมาะสมในการประพฤติปฏิบัติก็ควรทำหน้าที่ เท่าที่สามารถทำได้ คือ การบรรยายธรรม การจัดนิทรรศการ

การบรรยาย

เมื่อได้ยินคำว่าบรรยาย คนทั่วไปอาจนึกถึงห้องใหญ่ๆ บรรจุคนได้เป็นร้อยหรือพัน มีคนอยู่บนเวทีบรรยาย แต่จริงๆ แล้ว การบรรยายอาจมีคนฟังไม่ถึงสิบคน ห้องไม่ใหญ่โต ไม่มีเวที มีแต่เพียงโต๊ะและเก้าอี้ธรรมดาก็ได้ การบรรยายก็เป็นเพียงการฝึกบรรยายเท่านั้น บางครั้งเรายังขาดความรู้และประสบการณ์คงไปบรรยายเต็ม รูปแบบไม่ได้ หลักธรรมของพระพุทธศาสนาบางเรื่องก็ลึกซึ้ง เข้าใจยาก มีแง่มุมในการมองหลายด้าน ผู้ที่มี ความรู้ไม่พออาจอธิบายผิดและทำให้คนอื่นเข้าใจผิดได้ ในการบรรยายเพื่อเผยแผ่พระศาสนานั้น มีข้อควรคำนึง ดังนี้ 

• อย่าดูหมิ่นศาสนาอื่น ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ควรให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน 

• ต้องดูกาลเทศะที่เหมาะสม ไม่อธิบายหรือบรรยายพร่ำเเพื่อ ไม่พูดถึงแต่ศาสนาของตน 

• ในการบรรยายเมื่อเปรียบเทียบกับศาสนาอื่น ควรแยกให้ออกว่าอะไรคือข้อเท็จจริง อะไรเป็นความเห็น ผู้รู้น้อยควร       หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบ 

การจัดนิทรรศการ 

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่อาจทำได้อีกวิธีหนึ่ง คือ การจัดนิทรรศการ เป็นวิธีธรรมชาติที่ดีอีก วิธีหนึ่ง ที่ใช้ อวัยวะอื่นรับรู้ด้วยก็คือเห็นด้วยตา ก็จะเข้าใจชัดขึ้นและจำได้ดีขึ้น การจัดนิทรรศการมีการใช้รูปภาพประกอบ เป็นสื่อที่เพิ่มเข้ามาอีกอย่างหนึ่ง น่าจะเพิ่มประสิทธิภาพในการเผยแผ่ศาสนาได้มากขึ้น สิ่งที่นำมาแสดงใน การจัดนิทรรศการเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาอาจมีทั้งหนังสือ บทความ ภาพถ่าย โปสเตอร์ ในงานนิทรรศการ อาจมีบริการถามตอบในเรื่องของพระพุทธศาสนาด้วยก็ได้ 

การจัดนิทรรศการมีส่วนดีหลายอย่าง แต่ก็มีจุดอ่อน การที่จะให้คนเข้าใจหลักธรรมที่ค่อนข้างยากและลึกซึ้ง โดยการจัดนิทรรศการนั้นเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตามการจัดนิทรรศการอาจช่วยให้ผู้ที่รู้จักพระพุทธศาสนา น้อยมากหรือไม่รู้เลยมาสนใจและอยากรู้จักพระพุทธศาสนา เกิดความสนใจในพระพุทธศาสนามากขึ้นได้ 

ทิศ ๖ ถือเป็นหลักธรรมที่จะก่อให้เกิดความสมานฉันท์ และการเกื้อกูลกันระหว่างบุคคลต่างๆ เพื่อจะได้ เป็นบุตรธิดาและเป็นบิดามารดาที่ดี เป็นศิษย์และเป็นครูอาจารย์ที่ดี เป็นมิตรสหายที่ดี เป็นสามีและภรรยาที่ดี เป็นนายจ้างและลูกจ้างที่ดี และเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี 

ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะทิศเบื้องหน้าซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ ทิศเบื้องหน้า (ปุรัตถิมทิศหรือทิศตะวันออก) ได้แก่ บิดามารดา ซึ่งถือว่าท่านทั้งสองเป็นผู้ที่มีอุปการคุณแก่เราอย่างสูงที่สุด ท่านเป็นบุรพเทพ คือ เป็นเทวดาองค์แรก ของลูกและเป็นบุรพาจารย์ คือ เป็นอาจารย์คนแรกของลูก 

การปฏิบัติตนเพื่อเป็นลูกที่ดีตามหลักทิศ ๖ 

บิดามารดาปฏิบัติต่อบุตรธิดา 

บุตรธิดาปฏิบัติต่อบิดามารดา 


สภาพสังคมในปัจจุบันเต็มไปด้วยปัญหาต่างๆ มากมาย ทั้งปัญหาโสเภณี แรงงาน เยาวชน สิ่งแวดล้อม การเมือง อาชญากรรม 

ยาเสพติด ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้เกิดจากความเห็นแก่ตัว การเอารัดเอาเปรียบ การขาดคุณธรรม ส่งผลให้สังคมเสื่อมโทรม ไม่สงบสุข จากปัญหาดังกล่าว การแก้ปัญญาทางหนึ่งก็คือ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กหรือเยาวชน ซึ่งเป็น วัยรุ่นที่กำลังสดใส ตื่นตัว เต็มไปด้วยพลังทางกาย พลังทางความคิด และพลังสติปัญญา หากเยาวชนเหล่านี้ ได้รับการพัฒนาอย่างถูกวิธีอย่างมีระบบแบบแผน ก็จะเป็นก าลังส าคัญในการพัฒนาชาติ 

การหาวิธีให้เยาวชนเข้าใจบทบาทของตนเองมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม โดยการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้น การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้เยาวชนรู้จักนำหลักธรรมไปใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม เช่น กิจกรรม กตัญญูกตเวทีกิจกรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย กิจกรรมสร้างสายสัมพันธ์ กิจกรรมสร้างความสามัคคี หน้าที่ชาวพุทธ การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับศาสนาหรือลัทธิประเพณีที่ก าหนดขึ้น เป็นแบบอย่างส าหรับให้พุทธศาสนิกชนได้ยึดถือปฏิบัติ เป็นการแสดงออกถึงความเชื่อทางศาสนา ซึ่งกระทำ เพื่อให้เกิดความอบอุ่นทางใจ ทำให้การปฏิบัติศาสนกิจเป็นสิ่งสำคัญและมีความน่าเชื่อถือ น่าศรัทธามากยิ่งขึ้น 

การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในหลายๆ ด้านต้องรู้จุดมุ่งหมาย แห่งการกระทำรู้ว่าสิ่งใดมีประโยชน์ สิ่งใดไม่มีประโยชน์ และต้องมีหลักเกณฑ์ในการจัด เพราะถ้าหาก ไม่รู้ หลักเกณฑ์แล้ว อาจจะเป็นการบ่อนทำลายพิธีกรรมนั้นๆ ทางอ้อมด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ 

หลักเกณฑ์การประกอบพิธีกรรม หรือการเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา 

1.มีใจมั่น คือ มีจิตใจบริสุทธิ์ และมีความแน่วแน่ที่จะเข้าร่วมพิธีกรรมนั้นๆ 

2.ถูกต้องตามหลัก พระพุทธศาสนา คือ การเข้าร่วมพิธีกรรมต่างๆ จะต้องยึดถือหลักเกณฑ์และระเบียบทางพระพุทธศาสนา เป็นสำคัญ 

3.ประหยัด คือ รู้จักพิจารณาว่าสิ่งใดฟุ่มเฟือย สิ่งใดไม่ฟุ่มเฟือย ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ มีการวางแผน โดยยึดหลักเกณฑ์ทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางสำคัญ 

4.คำนึงถึงผลประโยชน์ คือ พิจารณาว่าการเข้าร่วมในพิธีกรรมนั้นๆ จะได้รับคุณประโยชน์อย่างใดบ้าง เช่น ช่วยลด ความเห็นแก่ตัว 

ทำให้จิตใจบริสุทธิ์ 

5.มีความเหมาะสม คือ พิธีกรรมนั้นไม่ขัดต่อประเพณีนิยม วัฒนธรรม ระเบียบกฎเกณฑ์ ธรรมเนียมปฏิบัติอันดีงาม ของสังคม ตลอดจนไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น 

การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ 

พุทธมามกะ หมายถึง ผู้ถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของเรา หรือผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตนผู้ประกาศตนว่า เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนาดังนั้น การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ก็คือ การประกาศตนว่าเป็นผู้ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นการแสดงให้ปรากฏว่า ตนยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชีวิตของตน ตามปกติแล้ว คนไทยส่วนใหญ่จะรับนับถือพระพุทธศาสนาตามอย่างบิดามารดา เมื่อแจ้งทะเบียนสำมะโนครัว ในการเกิดก็มักแจ้งว่าศาสนาพุทธ จึงเป็นพุทธศาสนิกชนไปโดย เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งในพระพุทธศาสนาจึงนำมาสู่การจัดกิจกรรมการแสดงตนเป็นพุทธมามกะขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ เยาวชนตั้งมั่นในความเป็นพุทธมามกะของตน 

มารยาทชาวพุทธ (การต้อนรับ) 

การต้อนรับ อาจทำได้หลายวิธี คือ ปฏิสันถารด้วยวาจา ปฏิสันถารด้วยการให้ที่พักอาศัยและปฏิสันถารด้วยการ แสดงน้้ำใจต่อกัน ในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าตรัสว่า การปฏิสันถารเป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิตพรหมจรรย์เลย ทีเดียว ทรงกำชับให้พระสงฆ์เอาใจใส่ต้อนรับอาคันตุกะด้วยอัธยาศัยอันดีงาม ดังมีผู้กล่าวสรรเสริญพระองค์ว่าทรง มีพระพักตร์เบิกบานแจ่มใสอยู่เสมอ ทรงทักทายแขกก่อน และตรัสปฏิสันถารด้วยพระวาจาที่ไพเราะ รื่นหู คนไทย เราได้รับอิทธิพลส่วนดีเหล่านี้มาจากพระพุทธศาสนา จนมีคำพังเพยว่า “เป็นธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ” 

มารยาทของผู้เป็นแขก 


ระเบียบพิธีปฏิบัติต่อพระภิกษุสงฆ์

การยืน 

 การให้ที่นั่ง 

การเดินสวนทาง 

การสนทนา 

การรับสิ่งของ 

การแต่งกายไปวัด 

การแต่งกายไปงานมงคล 

การแต่งกายไปงานอวมงคล