พุทธประวัติ

พุทธประวัติ  คือ ประวัติ เรื่องราวต่าง ๆ ของพระพุทฺธสุมฺมโณ ตลอดถึงเรื่องราวต่างของบุคคลและสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า

พุทธประวัติที่เป็นหนังสือหรือตำรา นอกจากจะมีเนื้อหาที่ประวัติของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังมีเนื้อหาที่เป็นประวัติพระสาวก ประวัติสถานที่ เหตุการณ์และประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน

พุทธประวัติรวบรวมได้จากพระไตรปิฎกโดยเก็บเนื้อหาซึ่งกระจายอยู่ในพระวินัยบ้าง พระสูตรบ้าง มาจัดลำดับให้เป็นเรื่องราวติดต่อกันไปตามเหตุการณ์จริง นำเนื้อหาจากคัมภีร์อรรถกถาเข้ามาเสริมบ้างเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้น


สังเวชนียสถาน

สังเวชนียสถาน หมายถึง สถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกระลึกถึงพระพุทธเจ้า เกิดความแช่มชื่น เบิกบาน เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดี เมื่อได้ไปพบเห็น

สังเวชนียสถาน มี 4 แห่ง คือ


เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล เป็นพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบลเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศอินเดีย ลุมพินีวัน เดิมเป็นสวนป่าสาธารณะหรือวโนทยานที่ร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน ในสมัยพุทธกาลลุมพินีวันตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ ในแคว้นสักกะ บนฝั่งแม่น้ำโรหิณี หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้โปรดให้สร้างเสาหินขนาดใหญ่มาปักไว้ตรงบริเวณที่ประสูติ เรียกว่า เสาอโศก ที่จารึกข้อความเป็นอักษรพราหมีว่าพระพุทธเจ้าประสูติที่ตรงนี้

ปัจจุบันลุมพินีวันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนประเทศอินเดียทางเหนือเมืองโคราฆปุระ ห่างจากเมืองติเลาราโกต (หรือนครกบิลพัสดุ์) ทางทิศตะวันออก 11 กิโลเมตร และห่างจากสิทธารถนคร (หรือนครเทวทหะ) ทางทิศตะวันตก 11 กิโลเมตร ซึ่งถูกต้องตามตำราพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าลุมพินีวัน สถานที่ประสูติ ตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ ปัจจุบันลุมพินีวันมีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ ทางการเรียกสถานที่นี้ว่า รุมมินเด มีสภาพเป็นชนบท มีผู้อาศัยอยู่ไม่มาก มีสิ่งปลูกสร้างเป็นพุทธสถานเพียงเล็กน้อย แต่มีวัดพุทธอยู่ในบริเวณนี้หลายวัด รวมทั้งวัดไทยลุมพินี ลุมพินีวันได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นแหล่งมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540

2. สถานที่ตรัสรู้

พธคยา หรือชาวไทยนิยมเรียก พุทธคยา เป็นพื้นที่ทางศาสนาและสถานที่จาริกแสวงบุญที่มีความเกี่ยวเนื่องจากหมู่มหาโพธิวิหาร โพธคยาตั้งอยู่ในอำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เป็นที่รู้จักในฐานะสถานที่ตรัสรู้ของพระโคตมพุทธเจ้า พระศาสดาของศาสนาพุทธ ภายใต้ต้นโพธิ์] นับตั้งแต่ในอดีต โพธคยาได้สถานะเป็นสถานที่ทางศาสนาต่อทั้งชาวฮินดูและชาวพุทธมาตลอด

สำหรับชาวพุทธ โพธคยาเป็นแหล่งจาริกแสวงบุญสำคัญสี่แห่ง (สังเวชนียสถาน) อีกสามแห่งได้แก่ กุสินารา, ลุมพินี และ สารนาถ ในปี 2002 มหาโพธิวิหารซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโพธคยาได้รับสถานะเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก



3. สถานที่แสดงปฐมเทศนา

สารนาถ เป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 (1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ) ตั้งห่างจากเมืองพาราณสี เมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาฮินดู ไปทางเหนือราวเก้ากิโลเมตร อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน หรือ แคว้นกาสี ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล

เหตุที่ได้ชื่อว่าสารนาถ เนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชนทั้งหลาย และบ้างก็ว่ามาจากศัพท์ว่า สารงฺค + นารถ = ที่อยู่ของสัตว์จำพวกกวาง สารนาถยังรู้จักกันดีในชื่อ "อิสิปตนมฤคทายวัน" หรือ "ฤๅษีปัตนมฤคทายวัน" (บาลี: อิสิปตนมิคทายวน) แปลว่า ป่าอันยกให้แก่หมู่กวาง และเป็นที่ชุมนุมฤๅษี

ภายในอาณาบริเวณสารนาถมี ธรรมเมกขสถูป เป็นพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด สันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้งของธรรมเมกขสถูป เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศพระสัจจธรรมเป็นครั้งแรกที่นี่

4. สถานที่ปรินิพพาน

กุสินารา หรือ กุศินคร เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 4 ในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเอกหนึ่งในสองของแคว้นมัลละ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมือง ปาวา เป็นที่ตั้งของ สาลวโนทยาน หรือป่าไม้สาละที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานและเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า

กุสินาราจัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 4 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือกาสยา ในเขตจังหวัดเทวริยา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย สาลวโนทยาน สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฎ ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ ปรากฏตามคัมภีร์ว่า เมืองนี้เคยเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ เป็นที่เกิดบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หลายครั้ง เคยเป็นราชธานีนามว่ากุสาวดี ของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ์



การแสวงหาสัจธรรม

1 ศึกษาในสำนักอาจารย์อาฬรดาบส กาลามโคตร อุทกดาบส ลามะบุตร ฝึกปฏิบัติได้ญาณสมาบัติ 7 และญาณสมาบัติ 8 ญาณ คือ สมาธิ

2 การบำเพ็ญตบะและทุกกิริยา กิริยาที่ทำได้ยากยิ่ง 3 ขั้นตอน กัดฟัน กลั้นลม อดอาหาร ยิ่งไม่ตรัสรู้คิดได้ว่ามิใช่วิธีการที่ถูกต้อง

3 ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิต คิดค้นหาเหตุผลทางจิตใจโดยใช้อานาปะอานสติจนเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงสามารถดับทุกข์ได้ด้วยอริยสัจ 4


การผจญมาร 

พระพุทธเจ้าทรงใช้ความเพียรพยายามอย่างมากในการเอาชนะมารพระองค์กล่าวว่ามารก็คือความเบื่อหน่ายความเมื่อยล้าที่พระองค์ทรงเผชิญขณะบำเพ็ญเพียรทางจิตการปฏิบัติดังกล่าวทำให้พระองค์สามารถชนะมารหรือจิตใจของพระองค์ได้ 

มาร ในทางพระพุทธศาสนา คือ สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรือเป็นผู้ขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุผลสำเร็จอันดีงา

มารในพระพุทธศาสนาประกอบไปด้วย 5 มารได้แก่

1 กิเลสมาร หมายถึง ความอยากได้ความอยากมีความอยากของแต่ละบุคคล 

2 ขันธมาร หมายถึง รูปเวทนาสัญญาสังขารความหลงในสภาพที่ปรุงแต่งขึ้นเช่นลงและยึดติดในรูปกายของตนเอง 

3 อภิสังขารมาร หมายถึง มาที่ขัดขวางมิให้หลุดพ้นจากสั่งสารวัตรคือเวียนว่ายตายเกิด

4 เทวปุตตมาร หมายถึงอมนุษย์ประเภท 1 รวมถึงบุคคลรอบข้างที่คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งไม่ให้ทำความดีและยุยงให้ทำความชั่ว 

5 มัจจุมาร หมายถึง ความตายเพราะความตายเป็นตัวการตัดโอกาสที่จะกระทำความดีต่างๆ 


พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรจนบรรลุยาม 3 ยานได้แก่

1.ปฐมยาม พระองค์ทรงบรรลุบุพเพนิวาสานุสติญาณคือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและของผู้อื่น 

2 มัชฌิมยาม พระองค์ทรงบรรลุจุตูปาตญาณ คือทรงได้ตาทิพย์คือการรู้แจ้งการเกิดและดับ 

3 ปจฉิมยาม พระองค์ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐคืออริยสัจ 4 


อริยสัจ 4 

1 ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก 

2 สมุทัย คือ ต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ 

3.นิโรธ คือ ความดับทุกข์ 

4 มรรค  คือ  ข้อปฏิบัติหรือหนทางปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์


ก่อตั้งพระพุทธศาสนา

หลังจากที่พระพุทธองค์ตรัสรู้มีพราหมณ์ชื่อท้าวสหัมบดีพราหมณ์ ไพฑูรย์อาราธนาให้แสดงธรรมที่ค้นพบแกเวไนยสัตว์เถิดคือพวกเราที่เป็นมนุษย์ซึ่งมนุษย์ซึ่งพระพุทธองค์เปรียบมนุษย์ไว้เสมือนบัว 4 เหล่า

1. บัวพพ้นน้ำ คือ มนุษย์ที่พูดนิดเดียวก็เข้าใจฉลาดเฉลียว 

2. บัวปริ่มน้ำ(เสมอน้ำ) คือ สติปัญญาปานกลาง 

3. บัวใต้น้ำ คือ สติปัญญาน้อย 

4. บัวที่จมโคลนตม คือ ไม่สามารถสอนให้เข้าใจได้แม้หลายหลายครั้ง


1.ขอพบอาจารย์อาฬารดาบส กาลามโคตร อุทกดาบส รามบุตร

2.โปรดปัญจวัคคีย์ประถมเทศนาครั้งแรกในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 คือ วันอาสาฬหบูชาชื่อธรรมคือธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร 1 มัชฌิมาปฏิปทา 2 อริยสัจ 4 

3. โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมขอบวชเป็นพระภิกษุองค์แรกในพระพุทธศาสนาโดยพระพุทธเจ้าประทานอุปสมบทให้เรียกว่าเอหิภิกขุอุปสัมปทา 

4. ยศสกุลบุตรและบริวารขอบวชเป็นบุตรเศรษฐีที่กรุงพาราณสีรวมเป็น 55 รูป 5 โปรดชฎิลสามพี่น้อง 

อุรุเวกัสสปะบริวาร 500 คน 

นทีกัสสปะบริวาร 300 คน คยากัสสปาบริวาร 200 คน 6 

พระเจ้าพิมพิสารถวายวัดเวฬุวัน 7 พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวก

บทสรุป

การศึกษาเกี่ยวกับการผจญมาร การตรัสรู้ และการสั่งสอน ทำของพระองค์ทำให้เห็นถึงความเพียรพยายาม ตลอดจนวิธีการสั่งสอนธรรมของพระองค์ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 

บทเรียนเพิ่มเติม