ครงการพัฒนาครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร : เฟสที่ 1

ะยะที่ 1 สำรวจปัญหาและความต้องการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

ระยะที่ 2 การเขียนข้อเสนอโครงการฯ

ระยะที่ 3 ดำเนินงานตามโครงการฯ

| ปฏิทินการดำเนินงานโครงการฯ เฟส 1

กิจกรรม

1. ประชุมชี้แจงปฏิทินดำเนินงานร่วมกับภาคี

2. ประชุมติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาเครื่องมือ

3. ประชุมเตรียมความพร้อมก่อนอบรมฯ

4. อบรมพัฒนาสมรรถนะครูใน รร.ตชด.

5. นิเทศจากครูใหญ่และครูแกนนำ รร.ละ 2 ครั้ง

6. PLC โค้ช/มหาวิทยาลัย/ตำรวจนิเทศ รร.ละ 2 ครั้ง

7. กสศ.ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการฯ

8. ประชุมสรุปงานคณาจารย์คณะครุศาสตร์

9. ประชุมสรุปผลการพัฒนาสมรรถนะครูใน รร.ตชด.

10. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระดับภูมิภาค (ตัดต่อวิดีโอ)

11. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู่ร่วมกันส่วนกลาง

วัน เดือน ปี

21 ต.ค. 63

28 ต.ค. 63

11 พ.ย. 63

16-17 พ.ย. 63

ธ.ค.63-ม.ค. 64

ธ.ค.63-ม.ค. 64

1 ธ.ค. 63

10 ก.พ. 64

17 ก.พ. 64

พ.ค. 64

24-25 พ.ค. 64

สถานที่

ประชุมออนไลน์ผ่านระบบ ไลน์

ณ ห้องประชุมครุศาสตร์ ชั้น 2 อาคารนวัตกรรมการศึกษา

ณ ห้องประชุมครุศาสตร์ ชั้น 2 อาคารนวัตกรรมการศึกษา

โรงเรียนชุมชนบ้านป่ามะม่วง อ.เมือง จ.ตาก

ณ รร.ตชด. ของแต่ละที่

ณ รร.ตชด. ของแต่ละที่

ณ รร.ตชด.บ้านแม่กลองคี

ณ ห้องประชุมครุศาสตร์ ชั้น 2 อาคารนวัตกรรมการศึกษา

ณ ห้องประชุมครุศาสตร์ ชั้น 2 อาคารนวัตกรรมการศึกษา

ผ่านระบบออนไลน์

ผ่านระบบออนไลน์

| วัตถุประสงค์โครงการฯ

วัตถุประสงค์ที่ 1


...เป้าหมายโครงการฯ การพัฒนาสมรรถนะฯ ครู รร.ตชด. นำร่อง 50 แห่ง 15 จังหวัด ซึ่งเป้าหมายของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครู รร.ตชด. 6 แห่ง ในสังกัดกองกำกับตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 จังหวัดตาก


วัตถุประสงค์ที่ 2



...เป้าหมายโครงการฯ การพัฒนาครู รร.ตชด. ให้มีคุณวุฒิทางการศึกษา 218 แห่ง 40 จังหวัด ซึ่งมีสถาบันอุดมศึกษาที่มีหลักสูตรประถมศึกษาและมีที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกับ กก.ตชด. ในพื้นที่ 4 ภูมิภาค ๆ ละ 1 แห่ง รวม 4 สถาบัน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร พัฒนาหลักสูตรพัฒนาครู จำนวน 2 หลักสูตร

| ผลผลิตของโครงการฯ

ผลลัพท์ตามวัตถุประสงค์ที่ 1

......ครูในโรงเรียน ตชด. นำร่อง จำนวน 50 แห่ง ได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบจากการฝึกปฏิบัติจริงในภาระงานที่ปฏิบัติในโรงเรียน ทั้งด้านความรู้ในเนื้อหา การจัดการเรียนรู้ คุณลักษณะความเป็นครู และความสัมพันธ์กับชุมชน ได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน สภาพปัญหา และความต้องการของครู

ผลลัพท์ตามวัตถุประสงค์ที่ 2

.....สถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ สามารถปรับการจัดการศึกษาในหลักสูตรผลิตครูของสถาบันทั้งในแง่การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์การจัดการศึกษาระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit bank) และการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อเอื้อให้ครู ตชด. ทุกโรงเรียน รวม 218 แห่ง มีทางเลือกในการศึกษาต่อเพื่อเพิ่มคุณวุฒิทางวิชาชีพครูสำหรับการดำเนินงานโครงการระยะต่อไป

| ผลลัพธ์ของโครงการฯ

..........1) อัตราส่วนครู ตชด. ที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะต่อเด็กเยาวชนด้อยโอกาส (Disadvantage Children) ในถิ่นทุรกันดารมีแนวโน้มสูงขึ้น

..........2) นักเรียนในโรงเรียน ตชด. นำร่อง จำนวน 50 แห่ง ได้รับการพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสมตามช่วงวัยจากการพัฒนาสมรรถนะครูในโรงเรียน ตชด.

..........3) โรงเรียน ตชด. นำร่อง จำนวน 50 แห่ง ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูตามความจำเป็น

..........4) เกิดองค์ความรู้ แนวทางการพัฒนาครู ตชด. ต้นแบบ และการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารให้มีคุณภาพและทั่วถึงมากขึ้น

| การประเมินสมรรถนะครูใน รร.ตชด. ตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการฯ

ด้านที่ 1

ร้อยละ 75 ของครูในโรงเรียน ตชด. พื้นที่เป้าหมาย บรรลุผลการเปลี่ยนแปลงสมรรถนะตามที่กำหนดไว้

ด้านที่ 2

ร้อยละ 80 ของสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อปรับหลักสูตรผลิตครู บรรลุผลการดำเนินงานตามที่กำหนดไว้ โดยสามารถจัดทำหลักสูตรเพื่อเพิ่มคุณวุฒิทางวิชาชีพครู เพื่อใช้จัดการศึกษาให้กับครู ตชด. ในการดำเนินงานโครงการระยะต่อไป