Thesis/Project Reports

Check List ของการเขียนรายงาน วิทยานิพนธ์

====== บทคัดย่อ ======

  • เริ่มจากความสำคัญของปัญหา/โจทย์ สัก 1-2 ประโยค

  • หัวข้อนี้มีวัตุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจวัตถุประสงค์ วิธีการที่นำเสนอ และผลการทดลอง ทดสอบว่าให้ผลเป็นอย่างไร (ดีกว่าวิธีก่อนหน้านี้เท่าไร กี่เปอร์เซ็นต์...)

======= บทนำ =======

  • ที่มาและแรงจูงใจของโครงงาน/วิทยานิพนธ์

    • เริ่มจากประโยคที่ทั่วๆไปในด้านนั้นๆ ตามด้วยว่าโจทย์สำคัญคืออะไร

    • อธิบายว่างานก่อนหน้านี้ มีอะไรบ้าง ใส่เอกสารอ้างอิงให้ชัดเจน ข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีคืออะไร และมีจุดใดที่ยังควรแก้ไข หรือยังไม่มีใครแก้ไข/นำเสนอ ...ตรงนี้เพื่อเชื่อมต่อไปยังวัตถุประสงค์ในหัวข้อถัดไป

  • วัตถุประสงค์

    • ควรมีไม่เกิน 3 ข้อ โดยปกติจะเขียนในลักษณะของการนำเสนอวิธีใหม่ เช่น นำเสนอวิธี xxxx เพื่อพัฒนา... เพื่อทดสอบวิธีที่นำเสนอ.....

  • ขอบเขต (วิจัย)

    • ในหัวข้อนี้ หลายคนมักจะ **เข้าใจผิด**...โดยนำเอาวัตถุประสงค์มาเขียนใหม่ แต่จริงๆแล้วคือการเขียนอธิบายว่าในการพัฒนา วิจัย มีข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่ใช้งาน

ตัวอย่างของข้อมูล เช่น

      • ส่วนประกอบของโครงงาน ระบบที่พัฒนาขึ้น ใช้อุปกรณ์อะไร ซอฟต์แวร์ (โปรแกรม) ชนิดไหน

      • วิธีที่นำเสนอ ใช้วิธีอะไร

      • การทดสอบใช้ข้อมูลเท่าไร กี่ปี สถานที่ในการทดสอบคือที่ใด ตัวแปรในการวัดผลใช้อะไร

      • .....

  • หัวข้อนี้เรามาเขียนทีหลัง โดยพิจารณาจากเนื้อหาในบทที่ เขียนขั้นตอนการทดลอง ตัวแปรในการทดลอง ผลการวิจัย การทดลองก็ได้


====== ทฤษฎี และวิธีที่นำเสนอ =======

  • เน้นสิ่งที่ต้องรู้ เพื่อที่จะเข้าใจวิธีการที่นำเสนอ ไม่จำเป็นต้องทบทวนทุกเรื่อง

  • สำหรับวิธีสำคัญที่นำเสนอ หรือที่ใช้เป็นวิธีอ้างอิง ถ้ามีแต่คณิตศาสตร์มากๆและเข้าใจยาก ควรเพิ่มตัวอย่างเชิงตัวเลขสั้นๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ

  • ตัวแปร ดัชนี (i,j,k) เวกเตอร์ต่างๆ ใช้ให้เหมือนกันทั้งเล่ม อย่าเปลี่ยนไปๆมาๆ

  • ห้ามไปก็อปเอกสารใด ที่คนอื่นเขียนมา ต้องทำการเรียบเรียงใหม่เสมอ

  • รูปภาพ ถ้านำมาจากที่อื่นๆ ให้ใส่เอกสารอ้างอิง ใต้ภาพเสมอ

  • หากเป็นภาพง่ายๆ ควรวาดเองในแบบของเรา (การวาดรูปของคนอื่น โดยไม่เปลี่ยนแปลงใด...ถือว่าเป็นการลอก plagiarisim) และไม่ควรนำภาพคนอื่นที่วาดง่ายๆ มาใส่โดยพร่ำเพรื่อ

  • ในวิธีที่นำเสนอ ควรอธิบายให้ชัดเจนว่าคืออะไร แตกต่างจากวิธีก่อนหน้านี้อื่นๆ ตรงจุดไหน

====== ผลการทดลอง ผลการทดสอบ ========

  • หากกราฟจำนวนมาก ให้แยกเป็นหัวข้อย่อยๆ

  • การอธิบายกราฟ ถ้าเป็นรูปแรกที่แสดงผลแบบหนึ่งๆ ให้อธิบายว่าแต่ละแกน สีแทนอะไร ยกตัวอย่างบางกรณีในรูปแล้วอธิบาย จากนั้นสรุปว่ากราฟนั้นบอกอะไร...ในส่วนนี้อาจจะสรุปทีเดียวหลังจากอธิบายกราฟในทำนองเดียวกัน หลายกราฟแล้วก็ดี เพื่อผู้อ่านจะได้เข้าใจประเด็น จุดไหนในกราฟซึ่งให้ค่าที่เป็นผลเด่น ผลที่แปลกหรือไม่ตรงกับที่คาดไว้ ควรอธิบายด้วย

  • รายละเอียดเกี่ยวกับรูปภาพ, กราฟ ดูด้านล่าง

======= บทสรุป =======

  • เริ่มจากสรุปว่าในวิทยานิพนธ์นี้นำเสนออะไร

  • สำหรับแต่ละวัตถุประสงค์ สรุปได้ว่าอย่างไร

  • ผลการทดลอง วิจัยสำคัญคืออะไร

  • การต่อยอดทำได้อย่างไร

==== คำแนะนำโดยทั่วไป =====

** ภาษา **

  • ตรวจสอบตัวสะกดให้เรียบร้อย

  • ในครั้งแรกที่ใช้คำเทคนิคที่กรรมการอาจจะไม่เข้าใจ ให้ใส่วงเล็บภาษาอังกฤษไว้ และในการใช้คำเทคนิคนี้ครั้งต่อๆไป หากมีการทับศัพท์ ให้ใช้แบบเดียวกันทั้งเล่ม

  • หากเป็นคำเทคนิคที่เรียนกันโดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องใส่ภาษาอังกฤษ


** สมการ **

  • การอธิบายสมการ ให้พูดถึงตัวแปรด้านซ้ายก่อนสมการ แล้วหลังจากสมการให้อธิบาตว่าตัวแปรด้านขวาของสมการคืออะไร ยกตัวอย่างเช่น

เวกเตอร์สถานะ (state vector) ณ เวลา k แทนด้วย X_k สามารถเขียนได้ในรูปสมการ

X_k = F*X_(k-1) + w_k

โดยที่ F คือเมทริกซ์ของระบบ และ w_k คือตัวแปรสุ่มชนิดเกาส์เซียนขาว ....

  • เวกเตอร์ สมการ ให้ใช้ **ตัวหนา** **ตัวตรง** เสมอ


** ตาราง รูปภาพ การอธิบายรูปภาพ **

  • ต้องกล่าวถึงทุกรูปในรายงาน เช่น xxx แสดงดังรูปที่ 1.xx

  • ต้องมีการอธิบายทุกรูป หากรูปมีความซับซ้อนมาก ก็ควรอธิบายยาวกว่ารูปที่ไม่ซับซ้อนอะไร

  • ขนาดของรูปภาพเหมาะสม อ่านได้ง่าย (โดยเฉพาะกรณีของ flow chart)

  • ขนาดฟอนต์ในรูปภาพไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป (ขนาดใกล้เคียงกับในรายงาน หรือเล็กกว่า)


  • ชื่อตาราง อยู่ **เหนือ** ตาราง

  • ชื่อรูป กราฟ อยู่ ** ใต้ ** รูป/กราฟ

  • เมื่อมีหลายรูปย่อย ให้ใส่ (ก), (ข),... ใต้รูป

  • การตั้งชื่อรูป ควรสื่อรูปที่จะแสดงให้ชัดเจน มีพารามิเตอร์ ข้อมูลสำคัญในรูป มีการกล่าวถึง (ก), (ข), ....

  • หากนำรูปภาพมาจากแหล่งอื่น ต้องเขียนอ้างอิง ด้านหลังชื่อภาพ เช่น [xxxx] แล้วใส่รายละเอียดเอกสารอ้างอิง ในบทของเอกสารอ้างอิง

  • ชื่อกราฟ ไม่ต้องใส่คำว่า 'กราฟ ......' ให้ใส่ลักษณะกราฟได้เลย เช่น "ผลการเปรียบเทียบระหว่างวิธี xxx กับวิธี yyy ....", "แผนภาพ....", "สมรรถนะของระบบ เมื่อค่า x = ..., y = .." เป็นต้น

=====================================================================

การบันทึกชื่อไฟล์รายงาน

  • บันทึกชื่อไฟล์ประกอบด้วย ชื่อโครงงาน (โดยย่อ) ตามด้วยเวอร์ชัน หรือวันที่ เพื่อง่ายต่อการติดตาม

เช่น TrainTracking_Report_v1.doc หรือ .pdf

TrainTracking_Report_03_Dec_2016.doc หรือ .pdf


Check List ของการจัดทำสไลด์

1. จำนวนสไลด์ใกล้เคียงกับจำนวนนาทีที่พรีเซ็นต์ เช่น ถ้าพูดในเวลา 15 นาที ควรมีจำนวนสไลด์ไม่เกิน 20 แผ่น

2. ขนาดฟอนต์ ไม่ต่ำกว่า 18

3. หากนำรูปภาพมาจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ ต้องมี **การอ้างอิง**

4. ในส่วนของผลลัพธ์ เขียนประโยคที่แสดงใจความสำคัญๆ ไว้บนสไลด์

5. เรียงตามหัวข้อ

  • ชื่อโครงงาน รายชื่อสมาชิก อาจารย์ที่ปรึกษา (หน่วยงานที่ร่วมมือด้วย ผู้ให้ทุน)

  • Outline ( หัวข้อที่นำเสนอ)

  • Objectives (วัตถุประสงค์)

  • Problem and Motivation (ปัญหา และแรงจูงใจ)

  • Overall Block diagram of system

  • Work of this semester, next semester (remaining works)

  • Theory (ถ้ามี)

  • Design methods หรือ Proposed Methods (การออกแบบ)

  • Test Results (ผลการทดสอบ การวัดผล)

  • Conclusions

  • Remaining works (ถ้ามี)


การบันทึกชื่อไฟล์ (สไลด์)

บันทึกชื่อไฟล์ประกอบด้วย ชื่อโครงงาน (โดยย่อ) ตามด้วยเวอร์ชัน หรือวันที่ เพื่อง่ายต่อการติดตาม

เช่น TrainTracking_Slides_v1.doc หรือ .pdf

TrainTracking_Slides_03_Dec_2016.doc หรือ .pdf