Academic Writing techniques

Checklist การเขียนบทความ (.doc) (.pdf)

เหตุผลที่ต้องมีการเขียนบทความ/รายงานวิจัย


  • เป็นการแชร์ผลงานกับคนในวงการเดียวกัน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนกัน จะได้ทราบว่าใครทำอะไรอยู่ที่ไหน

  • ไม่เสียเวลาทำงานซ้ำกับผู้อื่น

  • งานวิจัยส่วนใหญ่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ จึงต้องมีการเผยแพร่

  • งานวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาคเอกชน ไม่ควรทำการเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต หากมีมูลค่า มักนำไปจดสิทธิบัตรแทน


หลักการเขียนบทความ

** คำแนะนำทั่วๆไป **

  • ประโยคไม่ควรยาวเกินไป (แบ่งเป็นประโยคสั้นๆหลายๆประโยค แล้วตอนปรับแก้ค่อยนำมารวมกันจะดีกว่า)


1. การเขียนรายงาน/บทความ จะแบ่งเป็นหลายย่อหน้า

  • แต่ละย่อหน้ามักจะเริ่มต้นด้วยประโยคที่เป็นใจความหลัก แล้วตามด้วยรายละเอียด


2. **INTRODUCTION**

ในทางวิศวกรรม ปกติวัตถุประสงค์ของงานคือ

  • นำเสนอวิธีใหม่ (present a novel method..)

  • นำเสนอวิธีปรับปรุง (improve …., present the improvement of …..)

  • วิเคราะห์ (analyze)

  • พิสูจน์สูตรใหม่ๆ (derive)

  • พัฒนาวิธี ระบบ สิ่งของใหม่ๆ (develop)

  • ทดลอง (experiment) เพื่อให้เข้าใจกระบวนการมากขึ้น ....

  • จำลอง (simulate)

  • ทดสอบ (test) ... แต่ควรมีแง่มุมใหม่ๆ

*** ปกติ วัตถุประสงค์ของงาน ไม่ควรเป็นศึกษา


  • เริ่มจากประโยคทั่วๆไปเกี่ยวกับเรื่องที่วิจัย ความสำคัญ เช่น

XXX Technology plays an important role in .....


  • รีวิวงานก่อนหน้านี้ แบ่งเป็นย่อหน้า แต่ละย่อหน้าเกี่ยวข้องกับงานก่อนหน้านี้กลุ่มหนึ่ง

  • เมื่อทำการรีวิว เขียนให้ชัดว่างานก่อนหน้านี้ มีเทคนิคอะไร มีข้อเด่นข้อด้อยอะไร (ที่จะทำให้เราศึกษาในงานนี้)

เช่น Although previous works have studied/proposed xxx, none has looked into .....

  • ทำการนำเสนอวัตถุประสงค์ของงานนี้ เช่น

- In this work, xxx is proposed. Specifically, xxxx is computed, then ....

- The novelty of this work is in ....

- The contribution of this work is xxx fold. We propose.... We show ....


3. Theory

  • อธิบายทฤษฎีพื้นฐานสำคัญ และที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่นำเสนอ

  • การเขียนสมการ ตัวสมการถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของประโยคเสมอ เช่น

The performance parameter A ….. can be expressed as

A = cX +dY, <--- มีคอมมา ',' เมื่อตามด้วย where…..)

where X is ...., Y is ....., c is ...... and d is ......

Eq.(xx) can then be written as

A = cX +dY. (เติม ‘.’ หากจบประโยค)

  • โดยปกติไม่ควรเขียนสมการติดกันหลายบรรทัด ถ้าจำเป็นควรมี 'คอมมา' คั่น

เช่น

A = cX +dY,

and

B = dG + pK.

  • ในกรณีที่เป็นสมการของตัวแปรในกลุ่มเดียวกัน ทำได้ เช่น

The constants c1 to c4 can be computed from

c1 = ……………………………….. , (xx)

c2 = ……………………………….. , (xx)

c3 = ……………………………….. , (xx)

c4 = ……………………………….. . (xx)

  • ดังนั้น ไม่ควรเขียนประโยคที่จบไปแล้ว ตามด้วยบรรทัดถัดไปซึ่งมีแต่สมการโผล่ขึ้นมา เช่น

The parameter …. can be computed in Eq.(3).

A = cX +dY (3)


**Format ของตัวแปร, เมทริกซ์.... **

  • ต้องนิยามทุกตัวแปร

  • ตัวแปรเขียนเป็น ‘ตัวเอียง’ แต่ตัวเลขในตัวแปรเขียน ‘ตัวตรง’

เช่น c1

  • เมทริกซ์, เวกเตอร์ ให้เขียนตัวหนา (bold) และตัวตรงเสมอ

เช่น X = [1 2 1]^T ---> นิยาม เวกเตอร์ เป็น column vector เสมอ

  • ห้ามขึ้นประโยคด้วย ตัวแปร, เมทริกซ์ เช่น

k is an index in the simulation



4. PROPOSED METHOD

  • อธิบายทฤษฎี สมการที่นำเสนอ เขียนให้ชัดเจนว่าความใหม่ คือขั้นตอนไหน มีที่มาอย่างไร แตกต่างจากงานก่อนหน้านี้ตรงไหน

ตัวอย่างเช่น

  • The proposed method is based on ....

  • Motivated by ...., we modify the equation (xx) by including the parameter ....

  • Note that the proposed method has an advantage in ...


5. RESULTS AND DISCUSSIONS

ปกติควรมีกราฟหรือตารางแสดงผลลัพธ์ ตัวอย่างประโยคที่ใช้คือ

- xxx is/are shown in Fig. xx

- In Fig. xxx, xxxx are shown

- In Fig. xxx, xxxx and yyyy are compared during ....

- The results show that....

- The results indicate that ...

- From the results, it can be inferred that .....


6. ตรวจสอบ format ของเอกสารอ้างอิงให้ดีๆ ควรใช้ format เดียวกัน

  • ปกติวิธี่หนึ่งที่นิยมใช้คือ [xx] A.C. Lastname, “….. ,” ……

เช่น [10] P. Anderson, "Effects of ..... ," Journal of XXXX,

vol.xx, no. xx, p. xx-xx, 2016.


Check List – Conference papers

1. Does the abstract include the followings?

  • A few general sentences about this topics

  • Purpose of this works

  • How is the simulation, data analysis made?

  • Main results from this work

  • Is the abstract concise?

2. Does the Introduction have the followings?

  • Background information

  • Previous works, important results and disadvantages of previous works

  • Purpose of this work

  • Novelty (New analysis) or Hybrid methods of exisiting ones

    • Totally new?

    • Modify existing techniques?

  • When an acronym is first used, write out the full name?

3. Data setup, Observation methods, Proposed methods/systems

  • Contents of each Section

  • Are the references adequate?

4. Background Theory/Methods

  • Mathematics – check how to write/define variables, matrices?

  • Describe only relevant theories/methods?

5. Results/Discussions

  • Graphs

  • Axis labeling

  • Tables

  • Describe the results?

  • Have baseline system/data for comparison?

  • Infer the results?

  • Discussions?

6. Conclusions

  • What has been done?

  • Major results

  • Future works

7. Acknowledgments

  • Grant support

  • (Writing, Technical) Help from others

  • Source of external data

8. References

  • Consistent formats?

9. Language

  • Check grammar?

  • Redundant sentences?