แบบทดสอบวิชาวิทยาการคำนวณ

วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

วิทยาการคำนวณม.1


หน่วยการเรียนรู้ที่1

การออกแบบและการเขียนอัลกอริทึม

ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. สัญลักษณ์ต่อไปนี้ ตรงกับข้อใด

1. แสดงผลหน้าจอ 2. การประมวลผล

3. การเปรียบเทียบ 4. รับข้อมูลนำเข้าจากคีย์บอร์ด

2. สัญลักษณ์ต่อไปนี้ ตรงกับข้อใด

1. แสดงผลหน้าจอ 2. การประมวลผล

3. การเปรียบเทียบ 4. รับข้อมูลนำเข้าจากคีย์บอร์ด

3. สัญลักษณ์ต่อไปนี้ ตรงกับข้อใด

1. จุดเชื่อมต่อ 2. การประมวลผล

3. การเปรียบเทียบ 4. แสดงผลทางเครื่องพิมพ์

4. ข้อใดไม่ใช่รูปแบบการเขียนอัลกอริทึม

1. ฟังก์ชัน (function)

2. รหัสจำลอง (Pseudo Code)

3. การเขียนผังงาน (Flowchart)

4. การบรรยาย (Narrative Description)

5. ข้อใดไม่ใช่โครงสร้างโปรแกรม

1. โครงสร้างตามลำดับ

2. โครงสร้างแบบทำงานซ้ำ

3. โครงสร้างแบบมีทางเลือก

4. โครงสร้างแบบมีทางเลือกทำงานซ้ำ


6. ข้อใดคือประโยชน์ของอัลกอริทึม (Algorithm)

1. ใช้สัญลักษณ์แทนการแก้ปัญหา

2. มีความชัดเจน สั้น และได้ใจความ

3. มีการทำงานตามเงื่อนไขที่ผู้ใช้กำหนด

4. การแยกแยะกิจกรรม ทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นไป

อย่างรวดเร็ว

7. การเขียนผังงาน (Flowchart) มีกี่แบบ

1. 1 แบบ

2. 2 แบบ

3. 3 แบบ

4. 4 แบบ

8. การใช้รูปภาพสัญลักษณ์แทนขั้นตอนการเขียนโปรแกรม คือข้อใด

1. ฟังก์ชัน (function)

2. รหัสจำลอง (Pseudo Code)

3. การเขียนผังงาน (Flowchart)

4. การบรรยาย (Narrative Description)

9. การเขียนผังงานอยู่ในขั้นตอนใดของการพัฒนา

โปรแกรม

1. การจัดทำเอกสาร

2. การเขียนโปรแกรม

3. การวิเคราะห์ระบบ

4. การออกแบบโปรแกรม

10. ข้อใดคือความหมายของอัลกอริทึม (Algorithm)

1. การแก้ปัญหาทางตรรกะ

2. การพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์

3. รูปแบบการเขียนโปรแกรม

4. ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม



หน่วยการเรียนรู้ที่2

การออกแบบและการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น

ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. ข้อใดที่ไม่จำเป็นต้องมีในการเขียนโปรแกรม

1. #define

2. #include

3. { }

4. main ()

2. ถ้าต้องการ Save Souce File โปรแกรมภาษา C

ต้อง Save นามสกุลไฟล์ ตามข้อใด

1. .o

2. .c

3. .cpp

4. .exe

3. คำสั่งต่างๆของโปรแกรมภาษาซีจะต้องอยู่ภายใน

เครื่องหมายใด

1. ( )

2. [ ]

3. { }

4. /* */

4. การวนซ้ำใช้ข้อใดในการนับรอบการทำงาน

1. ตัวดำเนินการ

2. ชนิดข้อมูล

3. ค่าคงที่

4. ตัวแปร

5. ข้อใดเรียงลำดับขั้นตอนการเขียนโปรแกรมได้ถูกต้อง

1. เขียนโปรแกรม > เขียนผังงานและซูโดโค้ด >

ทดสอบโปรแกรม > วิเคราะห์ปัญหา

2. เขียนโปรแกรม > ทดสอบโปรแกรม >

วิเคราะห์ปัญหา > เขียนผังงานและซูโดโค้ด

3. วิเคราะห์ปัญหา > เขียนผังงานและซูโดโค้ด >

เขียนโปรแกรม > ทดสอบโปรแกรม

4. วิเคราะห์ปัญหา > เขียนโปรแกรม >

เขียนผังงานและซูโดโค้ด > ทดสอบโปรแกรม


6. โครงสร้างโปรแกรมแบบใดที่แสดงขั้นตอนการทำงาน

ตามลำดับก่อน-หลังจากบนลงล่าง โดยแต่ละขั้นตอน

จะถูกประเมินผลเพียงครั้งเดียว

1. โครงสร้างแบบทำซ้ำ

2. โครงสร้างแบบข้อความ

3. โครงสร้างแบบลำดับ

4. โครงสร้างแบบทางเลือก

7. โครงสร้างแบบทางเลือกมีลักษณธการทำงานอย่างไร

1. ทำงานตามลำดับก่อน-หลัง

2. เลือกทำงานแบบเงื่อนไงเป็นจริงและเท็จเท่านั้น

3. ทำงานแบบอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างเงื่อนไขจริงและเท็จ

4. ทำตามคำสั่งแบบหลายทางเลือกมากกว่า 2 ทาง

8. ถ้าต้องการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยในการคำนวณ

หาค่าของพื้นที่สามเหลี่ยม ข้อมูลที่ต้องส่งเพื่อเป็นข้อมูลเข้า เครื่อง คอมพิวเตอร์เพื่อใช้แก้ไขปัญหา คือข้อมูลในข้อใด

1. ความยาวฐานและความสูง

2. พื้นที่สามเหลี่ยมและความสูง

3. พื้นที่สามเหลี่ยมและความยาวฐาน

4. พื้นที่สามเหลี่ยมความยาวฐานและความสูง

9. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการวนซ้ำโดยใช้คำสั่ง do-while

1. ใช้เมื่อทราบจำนวนรอบแน่นอน

2. วนซ้ำเมื่อนิพจน์ตรวจสอบให้ผลลัพธ์เป็นเท็จเท่านั้น

3. วนซ้ำก่อน 1 รอบเสมอ

4. วนซ้ำได้ไม่เกิน 65536 รอบ

10. ภาษาซีใช้ตัวแปลภาษาชนิดใดในการแปลคำสั่ง

1. แสดงผลหน้าจอ

2. การประมวลผล

3. การเปรียบเทียบ

4. รับข้อมูลนำเข้าจากคีย์บอร์ด



หน่วยการเรียนรู้ที่3

การจัดการข้อมูลสารสนเทศ

ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. เป็นคุณสมบัติของสารสนเทศ

1. ความถูกต้อง

2. ความรวดเร็ว

3. ความสมบูรณ์

4. ถูกทุกข้อ

2. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลที่สำคัญที่สุดคือข้อใด

1. การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ

2. การจัดหาข้อมูล

3. การประมวลผลข้อมูล

4. การเพิ่มข้อมูลตามต้องการ

3. สารสนเทศหมายถึงข้อใด

1. ข้อมูลความรู้ที่ได้รับการประมวลผลแล้ว

2. ข้อมูลคะแนน

3. ข้อมูลที่นำมาใช้ประโยชน์

4. ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง

4. ข้อใดกล่าวถึงข้อมูลทุติยภูมิได้ถูกต้อง

1. ตรงต่อความต้องการมากที่สุด

2. เป็นข้อมูลที่ผู้อื่นรวบรวมและบันทึกไว้

3. เป็นการแบ่งข้อมูลตามระบบคอมพิวเตอร์

4. สามารถรวบรวมได้โดยการบันทึกจาก

แหล่งข้อมูลนั้นโดยตรง

5. ข้อใดหมายถึงข้อมูล

1. สิ่งต่าง ๆ ที่เรารับรู้ได้

2. สิ่งที่ถูกต้องและเชื่อถือได้

3. ข้อเท็จจริงที่แสดงในหนังสือเรียน

4. ข้อเท็จจริงที่ได้รับการยืนยันว่าถูกต้องข้อใด

6. องค์ประกอบสารสนเทศ ประกอบด้วยอะไรบ้าง

1. ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร

2. ข้อมูลและสารสนเทศ บุคลากร

3. ฮาร์ดแวร์ กระบวนการทำงาน บุคลากร

4. ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูลสารสนเทศ บุคลากร

และกระบวนการทำงาน

7. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่ดีของข้อมูล

1. มีความถูกต้อง

2. มีความทันสมัย

3. มีความสวยงาม

4. มีความน่าเชื่อถือ

8. การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดในการพิมพ์เอกสารเป็นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับระดับใด

1. ระดับองค์กร 2. ระดับกลุ่ม

3. ระดับบุคคล 3. ระดับหน่วยงาน

9. ข้อมูลและสารสนเทศต่างกันอย่างไร

1. ความเป็นจริงของข้อมูล

2. สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้

3. มีการรับรองข้อมูลที่ถูกต้อง

4. มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

10. การฝากถอนเงินในธนาคาร เป็นการประมวลผล

แบบใด

1. การประมวลผลแบบกลุ่ม

2. การประมวลผลแบบเชื่อมตรง

3. การประมวลผลแบบต่อเนื่อง

4. การประมวลผลแบบชั่วคราว



หน่วยการเรียนรู้ที่4

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นการขโมยข้อมูลมีลักษณะอย่างไร

1. ขโมยข้อมูลจากร้านสะดวกซื้อ

2. ขโมยข้อมูลจากห้างสรรพสินค้า

3. ขโมยข้อมูลจากธนาคาร

4. ขโมยข้อมูลจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต

2. การกระทำใดเป็นการใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสม

1. ไม่ควรใช้อินเทอร์เน็ตทุกวัน

2. ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงเท่านั้น

3. ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจเท่านั้น

4. ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อทำร้านผู้อื่น

3. สิ่งที่อาจจะก่อให้เกิดเสียหายต่อคุณสมบัติของข้อมูลด้านใดด้านหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งด้าน คือข้อใด

1. ภัยธรรมชาติ

2. ภัยพิบัติ

3. อุทกภัย

4. ภัยคุกคาม

4. หากต้องการใช้คอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ภาพ สิ่งใดที่นักเรียนไม่ควรกระทำ

1. เผยแพร่ภาพลามกอนาจาร

2. เผยแพร่ภาพกีฬาสี

3. เผยแพร่ภาพไปเที่ยวลงใน Facebook

4. เผยแพร่ภาพอาหารที่กำลังรับประทาน

5. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

1. การกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และเป็นความผิดทางอาญา

2. การกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย

3. การกระทำใด ๆ ที่เป็นความผิดทางอาญา

4. การกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้ผู้กระทำผิดได้รับผลประโยชน์

6. นักเรียนมีบทบาทอย่างไรในการมีส่วนร่วมที่จะส่งเสริมให้คนทั่วไปใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีมารยาท

1. ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น

2. ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี เคารพกฎระเบียบ

3. สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น

4. ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น

7. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์

1. การเจาะเข้าไปในระบบรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล

2. การเจาะเข้าไปในระบบรักษาความปลอดภัยส่วน

ที่เป็นระบบปฏิบัติการ

3. การเจาะเข้าไปในระบบสื่อสารและรักษาความปลอดภัย

ของซอฟต์แวร์ข้อมูล

4. การเจาะเข้าไปในระบบรักษาความปลอดภัยของเว็บสาธารณะ

8. การนำข้อมูลของผู้อื่นมาเป็นประโยชน์ต่อตนเอง

จัดเป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ประเภทใด

1. การแทรกแซงข้อมูลโดยมิชอบ

2. การละเมิดลิขสิทธิ์และปลอมแปลง

3. อันธพาลทางคอมพิวเตอร์และผู้ก่อการร้าย

4. การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ดัดแปลงข้อมูล

9. บุคคลใดปฏิบัติตามมารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต

1. ก้านเข้าไปซื้อเสื้อผ้าลอกเลียนแบบในเว็บไซต์ขายเสื้อผ้า

2. ไก่พบบุคคลน่าสงสัยในห้องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน

จึงนำเรื่องไปแจ้งให้ครูผู้ดูแลทราบ

3. ก้อยคัดลอกภาพอาหารของผู้อื่นเพื่อนำมาทำเป็นเมนูอาหารของร้าน

4. กุ๊กพิมพ์ไลน์ต่อว่าเพื่อนด้วยถ้อยคำที่รุนแรง เนื่องจากเพื่อผิดนัดตน

10. จากบทความต่อไปนี้

“เป็ดต้องการซื้อรองเท้าคู่ใหม่แต่มีเงินไม่พอ ซันจึงชักชวนเป็ดเข้าไปเล่นพนันฟุตบอลในเว็บไซต์หนึ่ง ต่อมาเป็ดเล่นพนันชนะ จึงนำเงินไปซื้อรองเท้าคู่ใหม่”

การกระทำของเป็ดเป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ประเภทใด

1. การใช้คอมพิวเตอร์เผยแพร่ภาพ

2. การฟอกเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

3. การละเมิดลิขสิทธิ์และการปลอมแปลง

4. อาชญากรรมที่ใช้การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์



วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4

วิทยาการคำนวณม.4


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

แนวคิดเชิงคำนวณในการพัฒนาโครงงาน

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับแผนภาพกระแสข้อมูล

1. ตัวแทนข้อมูล

2. แหล่งจัดเก็บข้อมูล

3. ขั้นตอนการดำเนินงาน

4. เส้นทางการไหลของข้อมูล

5. หน้าจอส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน

2. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนเบื้องต้นของการพัฒนาโครงงานทางด้านเทคโนโลยี

1. ติดตั้งระบบ 2. ออกแบบระบบ

3. เลือกวิธีที่ดีที่สุด 4. บำรุงรักษาระบบ

5. พัฒนาระบบ และทดสอบระบบ

3. ข้อใดสอดคล้องกับแนวคิดการแยกย่อย

1. การเข้าใจรูปแบบ

2. การแยกแยะปัญหา

3. การคัดเลือกวัสดุที่นำมาใช้ทำชิ้นงาน

4. การหาแนวคิดรวมยอดของแต่ละปัญหาย่อย

5. การออกแบบลำดับขั้นตอนของการแก้ปัญหา

4. ข้อใดไม่สอดคล้องกับขั้นตอนกำหนดปัญหา

1. จัดทำแผนการดำเนินงาน

2. การประชุมทีมงานผู้พัฒนา

3. วิเคราะห์ความเป็นไปได้และวางแผน

4. จัดทำเอกสารการวางแผนการดำเนินงาน

5. ไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขแผนการดำเนินงานได้

5. ข้อใดกล่าวถึงแนวคิดเชิงคำนวณได้ไม่ถูกต้อง

1. เป็นการคิดเหมือนหุ่นยนต์

2. เป็นการแก้ปัญหาแบบมีลำดับขั้นตอน

3. เป็นทักษะที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องมี

4. มีแนวคิดเชิงนามธรรมเป็นหนึ่งในทักษะย่อย

5. วิธีการแก้ปัญหาที่มนุษย์และคอมพิวเตอร์สามารถ

เข้าใจร่วมกันได้

6. การที่มุ่งเน้นความสำคัญของปัญหาโดยไม่สนใจรายละเอียดที่ไม่จำเป็นสอดคล้องกับแนวคิดใด

1. แนวคิดเชิงรูปธรรม 2. แนวคิดเชิงนามธรรม

3. แนวคิดการแยกย่อย 4. แนวคิดการจดจำรูปแบบ

5. แนวคิดการออกแบบขั้นตอน

7. การแก้ปัญหาโดยการออกแบบกระบวนการทำงาน

อย่างเป็นลำดับขั้นตอนสอดคล้องกับแนวคิดใด

1. แนวคิดเชิงรูปธรรม 2. แนวคิดเชิงนามธรรม

3. แนวคิดการแยกย่อย 4. แนวคิดการจดจำรูปแบบ

5. แนวคิดการออกแบบขั้นตอน

8. ข้อใดไม่ใช่ทักษะย่อยของแนวคิดเชิงคำนวณ

1. แนวคิดเชิงรูปธรรม 2. แนวคิดเชิงนามธรรม

3. แนวคิดการแยกย่อย 4. แนวคิดการจดจำรูปแบบ

5. แนวคิดการออกแบบขั้นตอน

9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับขั้นตอนกับการวิเคราะห์ระบบ

1. วิเคราะห์ความเป็นไปได้และวางแผน

2. ในขั้นนี้ไม่จำเป็นต้องระบุวิธีการทำงาน

3. เป็นขั้นตอนการทำความเข้าใจกับระบบงาน

4. ในขั้นนี้มีการจัดทำเอกสารการวิเคราะห์ระบบ

5. มีขั้นตอนย่อย 2 ขั้นตอน คือ สัมภาษณ์ผู้ใช้งาน และวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ

10. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการสร้างแผนภาพกระแสข้อมูล

1. เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้งาน

2. เป็นแผนภาพที่ประกอบด้วยกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว

3. เป็นแผนภาพที่ใช้ในการพัฒนาต่อในขั้นตอนของการออกแบบระบบอนาคต

5. เป็นแผนภาพที่ที่สรุปรวมข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการวิเคราะห์ ในลักษณะของรูปแบบที่เป็นโครงสร้าง


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

แนวคิดเชิงคำนวณในการพัฒนาโครงงาน

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. จุดมุ่งหมายของการจัดทำเค้าโครงของโครงงานคืออะไร

1. เพื่อให้สามารถทดสอบและแก้ไขโครงงานได้

2. เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการประเมินผลโครงงาน

3. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงงานในอนาคต

4. เพื่อนำเสนอข้อมูลต่อครูที่ปรึกษาในการขอคำแนะนำ

5. เพื่อใช้จะได้ทราบงบประมาณที่ใช้ในการทำโครงงาน

2. โครงงานพัฒนาโปรแกรมเกม จัดเป็นโครงงาน

คอมพิวเตอร์ประเภทใด

1. โครงงานพัฒนาบุคลากร

2. โครงงานทดลองทฤษฎี

3. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ

4. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

5. โครงงานพัฒนาโปรแกรมประยุกต์

3. ขั้นตอนใดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงงาน

1. การลงมือทำโครงงาน

2. การเขียนรายงานโครงงาน

3. การนำเสนอและแสดงโครงงาน

4. ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหา

5. การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล

4. ข้อใดเป็นลักษณะโครงงานที่ดี

1. ไม่เป็นไปตามขอบเขตที่กำหนดไว้

2. เกิดผลกระทบทางลบต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ

3. ดำเนินการตามแผน แต่เสร็จช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด

4. นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงงานในอนาคต

5. ตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาของโครงงาน

ได้อย่างครบถ้วน

5. เพราะเหตุใดจึงต้องมีการประเมินผลโครงงาน

1. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้ทำโครงงาน

2. เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ทราบรายละเอียดของโครงงาน

3. เพื่อวัดคุณภาพของโครงงานว่ามีคุณภาพเพียงใด

4. เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะในการทำโครงงานต่อไป

5. เพื่อส่งเสริมให้การทำโครงงานได้รับความนิยม

6. โครงการจัดระบบจองตั๋วรถไฟบนอินเทอร์เน็ต

จัดเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทใด

1. โครงงานทดลองทฤษฎี

2. โครงงานประยุกต์ใช้งาน

3. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ

4. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

5. โครงงานพัฒนาเครื่องมือเพื่อการเกษตร

7. ข้อใดไม่ใช่ทักษะที่เกิดจากการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

1. ทักษะการแสวงหาความรู้

2. ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา

3. ทักษะการสื่อสารถ่ายทอดความคิด

4. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

5. ทักษะการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

8. โครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทใดที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนมากที่สุด

1. โครงงานทดลองทฤษฎี

2. โครงงานประยุกต์ใช้งาน

3. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ

4. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

5. โครงงานประเมินความเสียหายจากแผ่นดินไหว

9. โครงงานพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จัดเป็น

โครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทใด

1. โครงงานพัฒนาบุคลากร

2. โครงงานทดลองทฤษฎี

3. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ

4. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

5. โครงงานพัฒนาโปรแกรมประยุกต์

10. โครงงานพัฒนาเครื่องมือหมายถึงข้อใด

1. การใช้คอมพิวเตอร์จำลองสถานการณ์ต่าง ๆ

2. การใช้โปรแกรมทำนายการเกิดแผ่นดินไหว

3. การพัฒนาฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

4. การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภายในโรงเรียน

5. การส่งเสริมให้นักเรียนใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียน


วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5


วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6