ความหมายของสี
สี(Color) หมายถึง ลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสี มีผลตามจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสงที่อารมณ์และรู้สึกได้การได้เห็นสีจากสายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ตามอิทธิพลของสี เช่น สดชื่น ร้อน ตื่นเต้น เศร้า สีมีความหมายอย่างมากเพราะศิลปินต้องการใช้สีเป็นสื่อสร้าง ความประทับใจในผลงานของศิลปะและสะท้อนความประทับใจนั้นให้บังเกิดแก่ผู้ดู มนุษย์เกี่ยวข้างกับสีต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกัน สีเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อประโยชน์กับตนเอง และผู้สร้างงานจิตรกรรมเพราะเรื่องราวของสีนั้นมีหลักวิชาเป็นวิทยาศาสตร์ จึงควรทำความรู้เข้าใจวิทยาศาสตร์ของสีเพราะจะส่งผลให้การใช้สีบรรลุผลสำเร็จในงานมาขึ้น หากยังไม่เข้าใจเรื่องสีดีพอสมควร ถ้าได้ศึกษาเรื่องสีดีแล้ว งานศิลปะจะประสบความสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง
คุณลักษณะของสี
2.1 สีแท้ (Hue) คือ สีที่ยังไม่ถูกสีอื่นเข้าผสม เป็นลักษณะของสีแท้ที่มีความสะอาดสดใส เช่น สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน
2.2 สีอ่อนหรือสีจาง (Tint) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีขาว เช่น สีเทา สีชมพู
2.3 สีแก่ (Shade) ใช้เรียกสีแท้ที่ผสมด้วยสีดำ เช่น สีน้ำตาล
ทฤษฎีสี
ทฤษฎีสี (Theory fo Color) หมายถึง ทฤษฎีของแม่สีที่เป็นต้นกำเนิดของการผสมสีเพื่อให้เกิดเป็นสีแล้วนำไปใช้สร้างงานศิลปะหรืองานออกแบบแขนงต่างๆ
แม่สี (Primarie) สีต่าง ๆ นั้น มีอยู่จำนวนมากแหล่งกำเนิดของสีและวิธีการผสมของสีตลอดจนความรู้สึกที่มีต่อมนุษย์แต่ละกลุ่มย่อมความแตกต่างกัน สีต่าง ๆ ที่ปรากฎย่อมเกิดขึ้นจากแม่สีในลักษณะที่แตกต่างกันตามชนิดและประเภทของสีนั้น
แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม แม่สี มีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. แม่สีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน อยู่ในรูปของแสงรังสี ซึ่งเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีสี คุณสมบัติของแสงสามารถนำมาใช้ในการถ่ายภาพ ภาพโทรทัศน์การจัดแสงสีในการาแสดงต่าง ๆ ฯลฯ
2. แม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการัสงเคราะห์โดยกระบวนการทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลืง และสีน้ำเงิน แม่สีวัตถุเป็นแม่สีที่นำมาใช้งานกันได้อย่างกว้างขางในวงการศิลปะ วงการอุตสาหรกรรม ฯลฯ
แม่สีวัตถุธาตุ เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์จะทำให้เกิดวงจรสี ซึ่งเป็นวงสีธรรมชาติเกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ในวงจรสีจะแสดงสีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
วงจรสี (Color Circle)
สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่
สีแดงสีเหลืองสีน้ำเงิน
สีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้เกิดสีใหม่ 3 สี
สีแดง + สีเหลือง = สีส้ม
สีแดง + สีน้ำเงิน = สีม่วง
น้ำเหลือง + สีน้ำเงิน = สีเขียว
สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน ขะได้สีอื่นๆ อีก 6 สี
สีแดง + สีส้ม = สีแดงส้ม
สีแดง + สีม่วง = สีแดงม่วง
สีเหลือง + สีเขียว = สีเหลืองเขียว
สีน้ำเงิน + สีเขียว = สีน้ำเงินเขียว
สีน้ำเงิน + สีม่วง = สีน้ำเงินม่วง
สีเหลือง + สีส้ม = สีเหลืองส้ม
ระบบสี RGB
ระบบสี RGB เป็นระบบสีของแสง ซึ่งเกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึมจนเกิดแถบสีที่เรียกว่า สีรุ่ง (Spectrum) โดยแยกสีตามที่สายตามองเห็นได้ 7 สี คือ แดง แสด เหลือง เขียว น้ำเงิน คราม ม่วง ซึ่งเป็นพลังงานอยู่ในรูปของรังสีที่มีช่วงคลื่นที่สายตาสามารถมองเห็นได้ แสงสี่ม่วงมีความถี่คลื่นสูงที่สุด คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าแสงสีม่วง เรียกว่า อัลตราไวโอแลต (Ultra Vioiet) และคลื่นแสงสีแดง มีความถี่คลื่นต่ำที่สุด คลื่นแสงที่ตำกว่าแสงสีแดง เรียกว่า อินฟราเรด (lnfared) คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่ามีม่วงและต่ำกว่าสีแดงนั้นสายตาของมนุษย์ไม่สามารถรับได้
เมื่อศึกษาแล้วพบว่าแสงสีทั้งหมดเกิดจากแสงสี 3 สี คือ สีแดง (Red) สีน้ำเงิน (Blue) และสีเขียว (Green) ทั้งสามสีถือเป็นแม่สีของแสง เมื่อนำมาฉายแสงสีทั้งหมดรวมกันจะทำให้เกิดสีใหม่อีก 3 สี คือ สีแดงมาเจนตา สีฟ้าไซแอน และสีเหลือง และถ้าฉายแสงสีทั้งหมดรวมกันจะได้แสงสีขาว จากคุณสมบัติของแสงนี้ได้นำมาใช้ประโยชน์ทั่วไป ในการฉายภาพยนตร์ การบันทึกภาพวิดิโอ ภาพโทรทัศน์ การสร้างภาพเพื่อการนำเสนอทางจอคอมพิวเตอร์และการจัดแสงสีในการแสดง ฯลฯ
รหัสสี
รหัสค่าสีที่ใช้กับเว็ตไซต์หรือคอมพิวเตอร์ จะถูกแบ่งออกเป็นชุด โดยมี 3 ชุด ซึ่งทั้ง 3 ชุดถูกแบ่งออกตามระบบแม่สี RGB ดังนี้
1. ชุดเลข 2 ตัวแรก จะบอกถึง สีแดง (R)
2.ชุดเลข 2 ตัวกลาง จะบอกถึง สีเขียว (G)
3. ชุดเลข 2 ตัวสุดท้าย จะบอกถึง สีน้ำเงิน (B)
และตามหลักการเขียนโค้ดรหัสสีนั้น ที่หน้ารหัสค่าสีจะต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมายชาร์ป (#) เช่น #002255 ฯลฯ
จากตารางตัวอย่างค่าสีข้างต้นเป็นการเขียนและบอกถึงค่าสีต่าง ๆ ดังจะอธิบาย ดังนี้
#000000 เป็นรหัสค่าสีของสีดำ (Black) เนื่องจากค่าสีในระบบ RGB ทั้ง 3 ถูกกำหนดให้มีค่าต่ำที่สุด คือ เลข 0 ทำให้แสงที่จะมาผสมเป็นค่าสีนั้น มีความมืดทืบ ซึ่งความมึดทืบนั้นคือ สีดำ
#FF0000 เป็นค่ารหัสค่าสีของสีแดง (Red) เนื่องจากกำหนดให้เลข 2 ตัวกลางเป็น FF ซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุดในระบบเลขฐาน 16 กำหนดให้สีในชุดอื่น ๆ มีค่าน้อยที่สุด โดยกำหนดเป็นเลข 0 ทำให้สีที่แสดงออกมาเป็นสีแดง
#00FF00 เป็นค่ารหัสค่าสีของสีเขียว (Green) เนื่องจากกำหนดให้เลข 2 ตัวกลางเป็น FF ซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุดในระบบเลขฐาน 16 กำหนดให้สีในชุดอื่น ๆ มีค่าน้อยที่สุด โดยกำหนดเป็นเลข 0 ทำให้สีที่แสดงออกมาเป็นสีเขียว
#0000FF เป็นค่ารหัสค่าสีของสีน้ำเงิน (Blue) เนื่องจากกำหนดให้เลข 2 ตัวกลางเป็น FF ซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุดในระบบเลขฐาน 16 กำหนดให้สีในชุดอื่น ๆ มีค่าน้อยที่สุด โดยกำหนดเป็นเลข 0 ทำให้สีที่แสดงออกมาเป็นสีน้ำเงิน
#FFFFFF เป็นรหัสค่าสีของสีขาว (White) เนื่องจากค่าสีในระบบ RGB ทั้ง 3 ถูกกำหนดให้มีค่าสูงที่สุด คือ เลข F ทำให้แสงที่จะมาผสมเป็นค่าสีนั้น มีความสว่างมากที่สุด จึงเกิดเป็นสีขาวนั้น
ระบบสี CMYK
ระบบสี CMYK ซึ่งเป็นสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ CMYK ย่อมาจาก cyan (ฟ้า) Magenta (แดงอมม่วง) Yellow (เหลือง) Key (สีดำ ไม่ได้ใช้ B Black) ระบบสี CMYK นั้นเหมาะสำหรับงานพิมพ์ เช่น หนังสือ โปสเตอร์ แผ่นพับ หรืองานไวนิลทั่วไป สรุปคืองานทุกอย่างที่ต้องพิมพ์ออกมาจะใช้ระบบสีเป็น CMYK
จิตวิทยาแห่งสี
ในด้าจิตวิทยา สีเป็นตัวกระตุ้นความรู้สึกและมีผลต่อจิตใจของมนุษย์ สีต่าง ๆ จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน
สีที่ใช้ในการออกแบบ
สีที่เหมาะสำหรับการออกแบบจะแยกเป็นชุด ๆ เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องและสวยงาม
การกำหนดขนาดและสีพื้นหลัง
การกำหนดขนาด (Siza) และสีพื้นหลัง (Background Color) มีวิธีปฎิบัติดังนี้
1. เข้าสู่โปรแกรม
2. คลิกที่ Create New...
3. เลือกขนาดพื้นหลังที่เคยทำไว้แล้ว หรือกำหนดที่ PRESET DETALS โดยกำหนดรายละเอียดดังนี้
3.1. กำหนดขนาด ความกว้าง (Width) ความสูง (Heinght) ซึ่งสามารถเลือกหน่วยวัดได้
3.2. ค่าความละเอียด(Resolution) ปกติจะกำหนด 72 ppi แต่ถ้าเป็นงานพิมพ์ที่ต้องการความละเอียดมาก เช่น ปก จะใช้ประมาณ 300 ppi (Pixels per inchs) และงานไวนิลจะตามกำหนดตามขนาด เช่น ขนาดไม้อัด (240 x 120 cm) จะกำหนดเท่ากับ 50 ppc (pixels per centimeters)
3.3. โหมดสี ถ้าเป็นงานคอมพิวเตอร์ เช่น เว็บไซต์ จะใช้โหมดสี RGB ส่วนงานพิมพ์จะใช้โหมดสี CMYK
3.4. ส่วนที่กำหนดสีพื้นหลัง จะกำหนดที่ Background Contents โดยอาจจะเลือกที่ Background Color หรือคลิกที่สี เพื่อกำหนดสีที่ต้องการ
3.5. ในส่วนของ New และ current เป็นการเปรียบเทียบสีที่เลือกใหม่กับสีปัจจุบัน
3.6. เมื่อกำหนดขนาดและพื้นหลังแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม Create
1. เข้าสู่โปรแกรม
2. คลิกที่ Create New...
3. เลือกขนาดพื้นหลังที่เคยทำไว้แล้ว
4. หรือกำหนดที่ PRESET DETALS โดยกำหนดรายละเอียดดังนี้
กำหนดขนาด ความกว้าง (Width) ความสูง (Heinght) ซึ่งสามารถเลือกหน่วยวัดได้
ค่าความละเอียด(Resolution) ปกติจะกำหนด 72 ppi แต่ถ้าเป็นงานพิมพ์ที่ต้องการความละเอียดมาก เช่น ปก จะใช้ประมาณ 300 ppi (Pixels per inchs) และงานไวนิลจะตามกำหนดตามขนาด เช่น ขนาดไม้อัด (240 x 120 cm) จะกำหนดเท่ากับ 50 ppc (pixels per centimeters) โหมดสี ถ้าเป็นงานคอมพิวเตอร์ เช่น เว็บไซต์ จะใช้โหมดสี RGB ส่วนงานพิมพ์จะใช้โหมดสี CMYK
ส่วนที่กำหนดสีพื้นหลัง จะกำหนดที่ Background Contents โดยอาจจะเลือกที่ Background Colo
หรือคลิกที่สี เพื่อกำหนดสีที่ต้องการ
จะปรากฎสีให้เลือก
ในส่วนของ New และ current เป็นการเปรียบเทียบสีที่เลือกใหม่กับสีปัจจุบัน
เมื่อกำหนดขนาดและพื้นหลังแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม Create
คำศัพท์ที่ควรรู้