Tool Box หรือกล่องเครื่องมือ
1.1 Tool Box หรือกล่องเครื่องมือ ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการวาด ตกแต่ง และแก้ไขภาพ เครื่องมือเหล่านี้มีจำนวนมาก ดังนั้น จึงมีการรวามเครื่องมือที่ทำหน้าที่คล้ายๆ กันไว้ในกลุ่มเครื่องมือเดียวกันโดยจะมีลักษณะรูปสามเหลี่ยมอยู่บริเวณมุมด้านล่างขิงแต่ละเครื่องมือ เพื่อแสดงว่าในเครื่องมือนี้ยังมีเครื่องมืออื่นๆ ด้วย
Manu Bar เมนูคำสั่งหรือแถบควบคุมโปรแกรม ประกอบด้วย
1.2.1 File เป็นเมนูที่รวบรวมคำสั่งที่ใช้จัดการเกี่ยวกับไฟล์รูปภาพ เช่น สร้างไฟล์ใหม่ (New) เปิด (Open) ปิด (Close) บันทึก (Save/Save As) นำเข้าไฟล์ (Import) ส่งออกไฟล์ (Export) และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับไฟล์
1.22 Edit เป็นเมนูที่รวบรวมคำสั่งที่ใช้สำหรับแก้ไขภาพและปรับแต่งการทำงานของโปรแกรมเบื้องต้น เช่น คัดลอก (Copy) วาง (Paste) ยกเลิกคำสั่ง (Undo) แก้ไขเครื่องมือ (Tool) และอื่นๆ
1.2.3 Imge เป็นเมนูที่รสมคำสั่งที่ใช้ปรับแต่งภาพ เช่น ปรับโหมดสี (Mode) ปรับแสง (Adjustment) ปรับขนาดของภาพ (Imge Size) การหมุนภาพ (Imge Rotation)
1.2.4 Layer เป็นเมนูที่รวมคำสั่งที่ใช้ในการจัดการกับเลเยอร์ (Layer) ทั้งการสร้างเลเยอร์ แปลงเลเยอร์และจัดการเกี่ยวกับเลเยอร์ในด้านต่างๆ
1.2.5 Type เป็นเมนูคำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการตัวอักษร
1.2.6 Select เป็นเมนูคำสั่งเกี่ยวกับการเลือกวัตถุหรือพื้นที่บนรูปภาพ (Selection) เพื่อนำไปใช้งานร่วมกับคำสั่งอื่นๆ เช่น เลือกเพื่อเปลี่ยนสี ลบ หรือใช้เอฟเฟกต์ (Effects) ต่างๆ กับรูปภาพ
1.2.7 Filter เป็นเมนูคำสั่งเกี่ยวกับการเล่นเอฟเฟกต์ (Effects) ต่างๆ สำหรับรูปภาพ
1.2.8 3D เป็นเมนูคำสั่งเกี่ยวกับรูปแบบ 3D
1.2.9 View เป็นเมนูคำสั่งเกี่ยวกับมุมมองของภาพและวัตถุในลักษณะต่างๆ เช่น การขยายภาพ (Zoom Out) และย่อภาพ (Zoom In)
1.2.10 Window เป็นเมนูคำสั่งในการเลือกใชเอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่จำเป็นในการใช้สร้างเอฟเฟกต์ (Effects) ต่างๆ
1.2.11 Help เป็นเมนูคำสั่งเพื่อแนะนำเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม และจะมีรายละเอียดของโปรแกรมอีกด้วย
1.3 Option Bar เป็นส่วนที่ใช้ปรับแต่งค่าการทำงานของเครื่องมือต่างๆ โดยรายละเอียดใน Option Bar จะเปลี่ยนไปตามเครื่องมือที่เลือกจากกล่องเครื่องมือในขณะนั้น เช่น เมื่อเลือกเครื่องมือ Type (ตัวอักษร) บน Option Bar จะปรากฏ Option ที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบ ขนาด และสีตัวอักษร ฯลฯ
1.4 Work Area เป็นพื้นที่ทีี่ใช้สำหรับการทำงาน
1.5 Panel หรือพาเนล เป็น Window ย่อยๆ ที่ใช้เลือกรายละเอียดหรือคำสั่งควบคุมการทำงานต่างๆ ของโปรแกรม Adobe Photshop มีพาเนลอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น พาเนล Color ใช้สำหรับเลือกสี พาเนล Layers ใช้สำหรับการจัดการเลเยอร์ และพาเนล Info ใช้แสดงค่าสีตรงตำแหน่งที่ชี้เมาส์ รวามถึงขนาด/ตำแหน่งของพื้นที่ที่เลือกไว้
เครื่องมือของโปรแกรม
เครื่องมือของโปรแกรมที่เป็นส่วนหลักของเครื่องมือ โดยแต่ละเครื่องมือหลักจะมีเครื่องมือย่อยถ้าเครื่องมือนั้นมีลูปศรอยู่บริเวณด้านล่าง เช่น เครื่องมือ Move Tool จะมีเครื่องมือย่อยอีก คือ Artboard Tool ฯลฯ
2.1 Move tool (v) ใช้เพื่อเลื่อนส่วนที่เลือก หรือไว้เลื่อน Layer และ guide ต่างๆ
2.2 Rectangular Marquee (M) เป็นการเลือกแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า แถวขนาด 1 พิกเซล (Single Row) หรือคอลัมน์ 1 พิกเซล (Single Column
2.3 Lasso tool (L) ใช้เพื่อสร้าง Selection แบบอิสระ แบบตามจุดที่คลิก (Polygonal) และแบบดึงเข้าหาขอบภาพ (Magnetic)
2.4 Quick Selection tool (W) ใช้ระบายเพื่อเลือกพื้นที่ที่ต้องการแก้ไข
2.5 Crop tool (C) ใช้ในการเลือกบางส่วนของภาพ
2.6 Frame tool (K) ใช้ปรับขนาดภาพให้พอดีกับขนานของหน้างานหรือรูปร่างที่ต้องการโดยอัตโนมัติ
2.7 Eyedropper tool (I) ใช้เลือกสีต่างๆ บนภาพ
2.8 Spot Healing Brush tool (J) ใช้ลบริ้วรอยและตกแต่งส่วนที่ต้องการของรูปภาพเช่นเดียวกับ Clone Stamp Tool
2.9 Brush tool (B) ใช้ในการวาดเส้น Brush ต่างๆ
2.10 Clone Stamp tool (S) ใช้ลบริ้วรอยและตกแต่งส่วนที่ต้องการของรูปภาพโดยต้องคัดลอกพื้นที่ที่ต้องการ
2.11 History Brush tool (Y) ใช้กลับคืนภาพเดิมจาก State หรือ Snapshot ของรูปเดียวกัน
2.12 Eraser tool (E) ใช้ลบหรือลบบางส่วน
2.13 Gradient tool (G) ใช้เพื่อไล่สีระหว่างสีหลายๆ สีในแบบต่างๆ
2.14 Blur tool ใช้ในการปรับขอบภาพให้ดูเบลอ
2.15 Dodge tool (O) ใช้ในการปรับขอบให้ดูเบลอ
2.16 Pen tool (P) ใช้ในการลากเส้น Path ซึ่งสามารถดัดโค้งตามภาพได้
2.17 Horizontal type tool (T) ใช้ในการสร้างตัวอักษร
2.18 Path Selection tool (A) ใช้เพื่อเลือก Shape หรือ path เพื่อแสดง Anchor Paint, Direction Line และ Direction Paint
2.19 Rectangle tool (U) ใช้วาดรูปทางเรขาคณิตหรือรูปทรงสำเร็จรูป
2.20 Hand tool (H) ใช้เลื่อนภาพที่อยู่หน้าต่างเดียวกัน
2.21 Zoom tool (Z) ใช้ในการขยายและย่อส่วนการแสดงภาพบนหน้าจอ
การสร้างไฟล์ใหม่
การสร้างไฟล์ใหม่ เพื่อสร้างชิ้นงานใหม่ มีวิธีปฏิบัติดังนี้
3.1 เข้าสู่โปรแกรม Adobe Photoshop
3.2 คลิกที่ Create New...เพื่อสร้างไฟล์ใหม่
3.3 กำหนดรายละเอียดต่างๆ เช่น ขนาดของพื้นงาน และสีของพื้นหลัง เสร็จแล้วคลิกที่ Create
3.4 ปรากฏหน้าต่างไฟล์ใหม่ในการทำงานดังนี้
การบันทึก
เมื่อมีการสร้างชิ้นงานเสร็จแล้ว หรอืยังไม่เสร็จเพื่อรอการทำเพิ่มเติม ให้บันทึกไว้ก่อน โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้
4.1 คลิกที่เมนู File แล้วเลือก Save
4.2 กำหนดชื่อไฟล์ ในที่นี่ คือ work01 ในช่อง File name แล้วเลือกแหล่งเก็บข้อมูล เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม Save ซึ่งไฟล์จะมีนามสกุล .PSD โดยสามารถนำมาปรับปรุงและแก้ไขได้
ในกรณีที่ต้องการบันทึกเพื่อนำไปใช้งาน จะมีการบันทึกเป็นไฟล์นามสกุลต่างๆ เช่น .GIF, .PNG ฯลฯ แล้วแต่ลักษณะของงานที่ต้องการนำไปใช้
โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้
1.) คลิกที่เมนู File
2.) เลือกที่ Save หรือ Save As...
3. กำหนดชื่อไฟล์งานในช่อง File name แล้วเลทอกนามสกุลไฟล์ที่ต้องการ
ในช่อง Save as type ในที่นี่เลือก .JPEG
4. ปรากฏหน้าต่าง JPEG Option ให้กำหนดรายละเอียดต่างๆ เสร็จแล้วคลิกที่ OK
การออกแบบจากโปรแกรม
เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว ต้องการออกจากโปรแกรม มีวิธีปฏิบัติดังนี้
5.1 คลิกที่เมนู File
5.2 เลือก Exit หรือคลิกที่เครื่องหมาย X (Close) เพื่อออกจากโปรแกรมก็ได้
การเปิดไฟล์เดิม
ถ้าต้องการเปิดไฟล์เดิมเพื่อนำชิ้นงานมาปก้ไขหรือทำเพิ่มเติม มีวิธีปฏิบัติดังนี้
6.1 คลิกที่เมนู File
6.2 เลือก Open...
6.3 เลือกไฟล์ที่ต้อง (สังเกตไฟล์ที่จะนำมาทำงานต่อ จะมีสัญลักษณ์เป็นตัวอักษร PS PSD) ในที่นี้คือ work01 เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม Open
หรือในกรณีที่เข้าสู่โปรแกรม จะปรากฏหน้าต่าง
ให้คลิกไฟล์งานที่ได้ทำงานไว้แล้ว ตามที่ต้องการได้เลย หรือคลิกปุ่มเครื่องมือOpen แล้วเลือกงานที่อยู่ในแหล่งเก็บอื่น
คำศัพท์ที่ควรรู้