กราฟิก (Graphic) หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายของข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
ส่วนคำว่า คอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphics : CG) หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ การสร้างภาพตามจิตนาการและการใช้ภาพกราฟิกในการการนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตามที่ผู้สื่อสารต้องการและเพิ่มความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นด้วยกราฟิกแผนภูมิ แผนภาพ ฯลฯ
ประเภทของรูปร่างและภาพกราฟิก
ประเภทของรูปร่างแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. รูป 2 มิติ (2D Shapes)
คือ เส้นรอบนอกทางกายภาพของวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ คน สัตวื และพืชมีลักษณะเป็น 2 มิติ มีความกว้างและความยาวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามลักษณะของขอบหรือด้านของรูปได้แก่
กลุ่มที่มีขอบหรือด้านของรูปเป็นส่วนของเส้นตรง กลุ่มนี้ คือ รูปหลายเหลี่ยม (Polgon) กลุ่มที่มีขอบหรือด้านเป็นเส้นโค้งงอ เช่น รูปวงกลม และรูปวงรี ฯลฯ กลุ่มนี้ไม่มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ
2. รูปสามมิติ (3D Shapws)
คือ โครงสร้างทั้งหมดของวัตถุที่ปรากฏแก่สายตาในลักษณะ 3 มิติ มีทั้งส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนาหรือ โดยจะให้ความรู้สึกเป็นแท่ง มีเนื้อที่ภายใน มีปริมาตร และมีนํ้าหนัก
2.ประเภทของภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ มีลักษณะดังนี้
1) ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ (2 dimension) : 2D) เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวามถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศนื ตัวอย่างเช่น การ์ตูนเรื่องพิภพยมราช ชินจัง และโดราเอม่อน ฯลฯ ซึ่งการ์ตูนจะเป็นภาพกราฟิกเคลื่อนไหว (Animation) โดยจะมีกระบวนการสร้างที่ซับซ้อนกว่าภาพปกติ
2) ภาพกราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติ โดยเฉพาะ เช่นโปรแกรม 3Ds Max โปรแกรม Maya ฯลฯ
ซึ่งทำให้ได้ภาพที่มีและแสงเงาเหมือนจริง เหมาะกับงานดด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบต่างๆ รวมถึงการสร้างเป็นภาพยนต์การ์ตูน หรือโฆษณาสินค้าต่างๆ เช่น ภาพยนต์แอนิเมชันเรื่องนีโมปลาเล็กโต๊โต (FINGNG NEMO) และภาพยนต์แอมิเมชันเรื่อง ศาสตรา ฯลฯ
หลักการของภาพแบบเวกเตอร์และบิตแมป
ภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ (Vector) คือ การสร้างภาพโดยอาศัยการวาดเส้นและรูปทรงของภาพโดยการคำนวณจากจุดและสมการทางคณิตศาสตร์ ภาพจะมีความเป็นอิสระด้วยกัน แยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง (STraight Line) เส้นโค้ง (Curves) รูปทรง (Shapa) เมื่อการการขยายความขยายละเอียดของภาพจะไม่ลดลง ข้อดีของภาพเวกเตอร์จะมีความละเอียดของภาพในการแสดงสูงมาก ไม่ว่าจะย่อหรือขยายภาพจะยังคงความละเอียดเสมอ แต่การแสดงผลจะช้ากว่าภาพแบบิตแมป
ทั้งนี้ ภาพกราฟฟิกแบบเวกเตอร์(Vector) นิยมใช้ในงานสถาปัตกรรมตกแต่งภายในและการออกแบบต่าง เช่น การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การออกแบบอาคาร การสร้างภาพการ์ตูน ฯลฯ โปรแกรมที่นิยมใช้ คือ โปรแกรม Adobe Illustrator, Macrmadia Freehanad, Light Wave, Tex3D, CoreIDRAW, Maya, macromemedia Flash, 3ฏห ?ฟป c]t AutoCAD ฯลฯ
ภาพกราฟิกแบบบิตแมป (Bitmap) คือ การสร้างภาพโดยใช้ชุดสีเล็กๆ จำนวนมาก ซึ่งเรียกว่า ซิกว่า พิกเซล (Pixel) ภายในแต่ละพิกเซลจะมีองค์ประกอบที่ใช้ในการแสดงสี รุปทรง รูปแบบไฟล์ ทั้งนี้ องค์ประกอบของพิกเซลเหล่านี้เรียกว่า บิต(Bit) ข้อดี คือ ภาพที่ได้มีความละเอียดสวยงาม ทำให้เทคนิคบการสร้างภาพแบบบิตแมปนิยมนำมาใช้กับงานภาพที่ต้องการความละเอียดมาก เช่น ภาพถ่าย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา คือ เมื่อภาพมีควารมละเอียดมากขนาดภาพจะใหญ่ตามไปด้วยและจะทำให้ความละเอียดลดลง
การกำหนดพิกเซลควรกำหนดให้เหมาะสมกับงานที่สร้างดังนี้
1) การใช้งานทั่วไป กำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 100-150 ppi (Pixels/Inches) หรือจำนวนพิกเซลต่อ 1 ตารางนิ้ว
2) งานที่ต้องการความละเอียดน้อยและแฟ้มมีขนาดเล็ก เช่น ภาพสำหรับใช้กับเว็บไซต์ กำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 72 ppi
3) งานพิมพ์ เช่น นิตสาร โปรเตอร์ขนาดใหญ่ กำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 300-350 ppi ข้อดีของภาพกราฟิกแบบบิตแมป คือ สามารถแก้ไข ปรับแต่งสี ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม โปรแกรมที่นิยมใช้คือ Adobe Photoshop, Fractal Design Painter, Paint Shop Pro, LView ฯลฯ
ตารางเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างภาพชกราฟิกแบบเวกเตอร์กับแบบบิตแมป
1. ใช้สมการทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพโดยรวมเอาวัตถุ (Object) เช่น วงกลม เส้นตรง ต่างชนิดมาผสมกัน
2. สามารถย่อและขยายขนาดได้มากกว่าโดยสัดส่วนและลักษณะของภาพยังเหมือนเดิมความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง
3. เหมาะสำหรับงานแบบวางโครงร่าง (Layout) งานพิมพืตัวอักษร (Line Art) หรือภาพประกอบ (Illustation)
4. คอมพิวเตอร์จะใช้เวลาในการเเสดงภาพมากกว่าเนื่องจากต้องทำตามคำสั่งที่มีจำนวนมาก
1. ลักษณะภาพประกอบขึ้นด้วยจุดต่างๆ มากมาย
2. ภาพมีจำนวนพิกเซลคงที่จึงต้องการค่าความละเอียดมากขึ้นเมื่อขยายภาพ โดยจะคำนวณค่าสีทีละพิกเซล ทำให้ภาพแตกเมื่อขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น
3. เหมาะสำหรับงนกราฟิกในแบบที่ต้องการให้แสงเงาในรายละเอียด
4. แสดงภาพความจำที่เก็บภาพไปยังหน่วยความจำของจอภาพ
โปรแกรมที่ใช้สำหรับงานแบบเวกเตอร์กับแบบบิตแมป
1. Adobe Illustrator
2. Freehand
3. CoreIDRAW
4. Flash
1. Adobe Photoshop
2. Fractal Design Painter
3. Paint Shop Pro
4. Painter
รูปแบบของแฟ้มข้อมูลภาพกราฟิก
รูปแบบของแฟ้มข้อมูลภาพกราฟิก หมายถึง รูปแบบของข้อมูลที่ใช้ในการจัดเก็บภาพกราฟิกลงในแฟ้มมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งานดังนี้
.GIF (Graphics Inerchange Format) คือ รูปแบบแฟ้มภาพและแฟ้มภาพเคลื่อนไหว ถูกออกแบบโดยบริษัท CompuSeve เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ต่างแบบต่างรุ่นได้ ทำให้เหมาะสมสำหรับการนำมาใช้ในเว็บเพจเพราะต้องแสดงได้บนเครื่องที่แตกต่างกัน แต่ข้อจำกัดของ .GIF ที่สำคัญ คือ สามารถใช้สีได้สูงสุดเพียงครั้งละ256 สีเท่านั้น กราฟิกชนิด .GIF ใช้การบีบอัดข้อมูลเพื่อลดพื้นที่การจัดเก็บข้อมูล ลักษณะการบีบอัดข้อมูลในรูปแบบนี้จะได้ผลมากกับกราฟิกที่ใช้สีที่มีความสมํ่าเสมอ เช่น ภาพ การ์ตูน หรือโลโก้ โดยที่จำนวนสีที่ใช้ไม่มากนัก
จุดเด่น
1) มีขนาดไฟล์เล็ก
2) สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ (Transparnt)
3) มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ความละเอียดในรบบ Interface
4) มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
5) เรียกดูได้กับ Graphics Browser
6) ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว (Gif animation)
จุดด้อย
แสดงสีได้เพียง 256 สี
.JPEG (Jont Photographic Expert Group Graphics) คือ รูปแบบการบีบอัดแฟ้มแบบสูญเสียโดยยังให้เสียความละเอียดน้อยที่สุด รูปแบบแฟ้มสำหรับวิธีการนี้ ได้แก่ .jpeg .jpg jpe jfif .jfi (จะเป็นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้) ซึ่งเป็นรูปแบบไฟล์ภาพ สำหรับภาพถ่าย เช่น ภาพถ่ายะรรมชาติ ภาพถ่ายคน รถ สิ่งของ ฯลฯ
รูปแบบแฟ้ม .JPEG นี้ เป็นรูปแบบแฟ้มที่ใช้กันในการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนรูปภาพบนเว็บไซต์มากที่สุดโดยเฉพาะภาพถ่าย เนื่องจากสามารถเก็บความละเอียดของภาพได้สูงโดยใช้ขนาดไฟล์ที่เล็ก สามารถเก็บภาพสีได้หลากหลายระดับความแม่นยำของสี (Bit Depth) ความสามารถในการย่อขนาดไฟล์ของแฟ้ม .JPEG นั้นเกิดจากการใช้เทคนิคการย่อขนาดภาพแบบการบีบอัดคงข้อมูลหลัก (Lossy Compression) หรือการบีบอัดแบบมีความสูญเสียทำให้ไม่นิยมใช้กับภาพที่เป็นลายเส้นหรือไอคอนต่างๆ เนื่องจากจะไม่ได้ประสิทธิภาพเท่ากับการเก็บในรูปแบบอื่น เช่น .PNG หรือ .GIF
จุดเด่น
1) สนับสนุนสีได้ถึง 16.5 ล้านสี
2) สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ตามที่ต้องการ
3) มีระบบแสดงผลแบบหยาบๆและค่อยๆ ขยายไปสู่ความละเอียดในระบบ Progressive
4) มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
5) เรียกดูได้กับ Graphics Broeser
6) ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้ (Compress Files)
จุดด้อย
ไม่สามารถทำให้พื้นของรูปโปร่งใสได้
.BMP (Bitmap) เป็นรูปแบบของแฟ้มภาพกราฟิก ซึ่งออกแบบโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เป็นรูปแบบพื้นฐานที่ใช้งานได้ดีกับโปรแกรมที่ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติ Windows และใช้งานมากบนระบบปฏิบัติการ Windows จุดประสงค์ของรูปแบบนี้ คือ เน้นให้แสดงผลได้อย่างรวดเร็วบนระบบปฏิบัติการ Windows ขนาดของแฟ้มภาพที่ได้จึงมีมีขนาดใหญ่กว่ารูปแบบของแฟ้มชนิดอื่น ปกติภาพที่ได้จากโปรแกรมการวาดจะมีรูปแบบของแฟ้มเป็น .BMP ไฟล์ .BMP ที่พบบ่อย คือ ภาพพื้นหลัง (Wallpapar) ที่แสดงบนจอภาพของระบบปฏิบัติการ Windows โดยสามารถแสดงได้ตั้งแต่ 2, 16, 256 และ 16.5 ล้านสี
จุดเด่น
1) สามารถแสดงรุปภาพได้อย่างเนียบเนียน เพราะภาพบิตแมปจะประกอบด้วยพิกเซลซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นจุดสี การวางตำแหน่งจุดสีที่แตกต่างกันให้เหมาะสมจะทำให้ภาพลวงตาของสีใดสีหนึ่งกลมกลืนกันจึงง่ายต่อการทำได้ดูสมจริงมากขึ้น
2) สามารถแชร์และแก้ไขรูปภาพได้
3 มีโปรแกรมการวาดภาพและแก้ไขรูปภาพจำนวนมาก
จุดด้อย
1) ปรับขนานของภาพได้ยาก
2) ขนาดของไฟล์ใหญ่ ไม่มีการบีบอัด อาจใช้เวลานานในการโหลดส่งหรือรับ
.PNG (Portabie Network Graphics) เป็นรูปแบบของไฟล์รูปภาพที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการแสดงผลบนเว็บไซต์โดยเฉพาะ และเพื่อใช้แทนรูปแบบของไฟล์ .GIF แต่สามารถปรับค่าความโปรงใสได้ เพราะ .PNG นั้นรองรับ Alpha Transparency แต่ .GIF นั้นจะรองรับ Binary Transparency กล่าวคือ .GIF สามารถทำให้มีภาพพื้นหลัง 100% และไม่มีพื้นหลัง (พื้นหลัง0%) แต่จะไม่สามารถทำให้พื้นหลังทีค่าที่ต่างไผจากนี้ได้ เช่นให้พื้นหลังมีค่า 50% จะไม่สามารถทำได้ จึงเรียนคุณสมบัตินี้ว่า Binary Transparency ด้วยเหตุผลทางด้านลิขสิทธิ์ เพราะ .PNG นั้น เป็นรุปแบบของไฟล์รูปภาพที่มีลิขสิทธิ์โอเพนซอร์ส (Open Source) สามารถนำไปใช้ และพัฒนาต่อได้อย่างอิสระ
จุดเด่น
1) รูปแบบไฟล์แบบ .PNG นั้น สามารถที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กกว่า .GIF ประมาณ 10-30%
2) สามารถทำพื้นหลังโปร่งใส (Transparency) ได้เหมือนกับ .GIF
3) การใช้ Transparency กับไฟล์ .GIF นั้น จะต้องกำหนดค่า matte เพื่อให้ขอบภาพกลืนไปกับสีของพื้นหลังที่จะนำภาพไปประกอบ
ถ้าทำการเปลี่ยนสีพื้นหลังดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนค่า matte ตามไปด้วยเพราะอาจทำให้ภาพออกมาในลักษณะที่ขอบของภาพแตกได้ ซึ่งถ้าเป็นไฟล์ PNG จะไม่มีปัญหาเหล่านี้ และ .PNG ยังสามารถปรับค่าความโปร่งใสได้หลายระดับอีกด้วย
จุดด้อย
1) ไม่รองรับ EXIF แบบ Native
2) ไฟล์มีขนาดใหญ่กว่า .JPEG
.PSD (Photoshop File) คือ นามสกุลไฟล์ของโปรแกรม Photoshop โดยเฉพาะ ซึ่งจะบันทึกแบบแยกเลเยอร์ และประวัติการทำงาน เช่น รายละเอียดการตกแต่งภาพ ว่าได้เปลี่ยนแปลงและตกแต่งอะไรบ้างเก็บเอาไว้ให้ นอกจากนี้ การเปิดไฟล์นั้นนอกจากใช้โปรแกรม Photoshop เปิดแล้ว ยังสามารถใช้โปรแกรมอื่น 174 ACDsee, Adobe ImageReady, Adobe Illustrator ฯลฯ
จุดเด่น
1) เปิดไฟล์เพื่อแก้ไขได้
2) มีการแยกเลเยอร์ที่ทำให้สะดวกต่อการแก้ไข
3) รองรับไฟล์ที่มีความสูงและความกว้างสูงสุด 30,000 พิกเซลและขนาดสูงสุด 2 GB ได้
จุดด้อย
1) ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ ต้องบันทึกไฟล์ต่างๆ ก่อน เช่น .JPEG .GIF .PNG .TIF ฯลฯ
2) ไฟล์ .PSD มีเนื้อที่ค่อนข้างมาก
.PSD (Photoshop File) คือ นามสกุลไฟล์ของโปรแกรม Photoshop โดยเฉพาะ ซึ่งจะบันทึกแบบแยกเลเยอร์ และประวัติการทำงาน เช่น รายละเอียดการตกแต่งภาพ ว่าได้เปลี่ยนแปลงและตกแต่งอะไรบ้างเก็บเอาไว้ให้ นอกจากนี้ การเปิดไฟล์นั้นนอกจากใช้โปรแกรม Photoshop เปิดแล้ว ยังสามารถใช้โปรแกรมอื่น 174 ACDsee, Adobe ImageReady, Adobe Illustrator 909
จุดเด่น
1) เปิดไฟล์เพื่อแก้ไขได้
2) มีการแยกเลเยอร์ที่ทำให้สะดวกต่อการแก้ไข
3) รองรับไฟล์ที่มีความสูงและความกว้างสูงสุด 30,000 พิกเซลและขนาดสูงสุด 2 GB ได้
จุดด้อย
ไม่เหมาะสมสำหรับการใช้งานอื่นๆ นอกจากพิมพ์เอกสาร
คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้งานต่างๆ
คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ คอมพิวเตอร์กราฟิกสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
ที่มา : https://bit.ly/3xXv48Y
คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านการออกแบบ
คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทกับงานด้านการออกแบบในสาขาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น งานด้านสถาปัตยกรรมออกแบบภายใน การออกแบบทางวิศวกรรม การออกแบบรถยนต์ การออกแบบเครื่องจักรกลรวมถึงการออกแบบวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งโปรแกรมที่ใช้จะเป็นโปรแกรม 3 มิติ เช่น CAD(Computer Aided Design) เพราะสามารถกำหนดสีและแสงเงาได้เหมือนจริงที่สุดอีกทั้งสามารถดูมุมมองด้านต่าง ๆ ได้มุมมอง การ
ที่มา : https://bit.ly/3ydZSIX
คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านโฆษณา
ปัจจุบันการโฆษณาสินค้าทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ได้นำภาพกราฟิกเข้ามาช่วยในการโฆษณาสินค้าเพื่อเพิ่มความน่าสนใจมากขึ้น เช่น การทำหิมะตก การนำการ์ตูนมาประกอบการโฆษณาขนมเด็ก ฯลฯ และการโฆษณาสินค้าด้วยภาพกราฟิกยังมีอยู่ทุกที่รอบตัวไม่ว่าจะเป็นตาม ป้ายรถเมล์ ข้างรถโดยสาร หน้าร้านค้าตามแหล่งชุมชนต่าง ๆ ฯลฯรม
ที่มา : https://bit.ly/3onDqSQ
คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านการนำเสนอ
การนำเสนอ ข้อมูลต่าง ๆ เป็นการสื่อความหมายให้ผู้รับสารเข้าใจในสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการและการสื่อสารที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ภาพเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้รับสาร เช่น การสรุปยอดขายสินค้าในแต่ละปีด้วยกราฟหรือการอธิบายระบบการทำงานของบริษัทด้วยแผนภูมิ ฯลฯ
ที่มา : https://bit.ly/3uCatEy
คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านธุรกิจสื่อออนไลน์
ธุรกิจ ด้านสื่อออนไลน์ของบริษัทหรือหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งบุคคลที่ทำธุรกิจอนไลน์ ได้นำคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาช่วยในการสร้างสื่อเพื่อให้ออนไลน์ที่สร้างมีความสวยงามน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ที่มา : https://bit.ly/3v2lezu
คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้าน Image Retouching
ปัจจุบันธุรกิจคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ใช้ในการ Retouching ภาพ ได้เปิดตัวขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลในการทำภาพตามจินตนาการได้เป็นอย่างดี เช่น การทำภาพผิวกายให้ขาวเนียนเหมือนดารา การทำภาพเก่าให้เป็นภาพใหม่ การทำภาพขาวดำเป็นภาพสี และการทำภาพคนแก่ให้ดูหนุ่มหรือสาวขึ้น ฯลฯ
คำศัพท์ที่ควรรู้