หลักการของภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์
หลักการของภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์
เทคนิคการออกแบบภาพกราฟิกงานออกแบบภาพกราฟิก(DesignGraphic) นับว่าเป็นงานที่มีความละเอียดในส่วนต่าง ๆ การถ่ายทอด ศิลปะผ่านเครื่องมือการทำงานที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเห็นงานกราฟิกได้ทั่วทุกมุมทั่วโลกไม่ว่าเป็นกราฟิกออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์กราฟิกรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว กราฟิกในส่วนของเว็บไซต์แบนเนอร์ โบรชัวร์ต่าง ๆ แต่งานกราฟิกที่มีคุณค่า สื่อความหมายนั้นต้องมีคุณสมบัติใดบ้างความสวยงามของชิ้นงานเป็นส่วนสำคัญจึงต้องมีเทคนิคในการออกแบบกราฟิก ดังนี้
ที่มา : https://bit.ly/3uyGVYX
1.1 กลุ่มเป้าหมาย (Goal)
การจัดทำกราฟิกขึ้นแต่ละชิ้น ต้องมีการวางแผนถึงกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้รับสาร ว่าจะเป็นกลุ่มคนประเภทใด อายุเท่าใด และมีความสนใจในเรื่องไหน จะสามารถเข้าใจสิ่งที่สื่อสารออกไปผ่านรูปภาพ ตัวหนังสือ
สัญลักษณ์ คือ การใช้วัตถุ สิ่งของ สัตว์รูปร่างชนิดต่าง ๆ รสชาติ รูปภาพ เข้ามาเป็นตัวแปรในการ สื่อความหมายในขินงานนั้น เป็นการเหิมลูกเล่นชวนให้คนดูคิดตาม มีส่วนร่วมไปกับชิ้นงาน เป็นทักษะที่สำคัญที่นักกราฟิกจำเป็นต้องมีเหมือนเป็นการมีชั้นเชิงในการออกแบบที่โดดเด่นกว่าคนอื่น
ที่มา : https://bit.ly/3ytWCDd
การใช้สีในการออกแบบงานกราฟิกนักออกแบบกราฟิกควรรู้ความหมายเกี่ยวกับสีในวรรณะต่างๆก่อนแล้วนำมาประยุกต์ใช้เข้ากับงานเพื่อให้งานชิ้นนั้นสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน การใช้สีในงานแต่ละงาน ไม่ควรเกิน 3-5 เฉดสี เพื่อเป็นการคุมโทนสี งานจะได้มีทิศทางไปในแบบเดียวกัน ไม่ใช้สีมากจนเกินไป แต่ทั้งนี้การใช้สีขึ้นอยู่กับรูปแบบของงาน เช่น ต้องการแบบคัลเลอร์ฟูล (Colorful) การใช้สีจะต้องมีหลากหลาย สีฉูดฉาด สีบนงานจะต้องดูสดใส
1.4 การใช้ตัวอักษร (Text)
การใช้ตัวอักษรในงานกราฟิกเป็นส่วนที่สื่อความหมายอย่างตรงตัวมากที่สุด ผู้อ่านจะต้องเข้าใจโดยง่าย ไม่ซับซ้อน การใช้ฟอนต์ตัวหนังสือเช่นเดียวกัน ควรเลือกฟอนต์ให้เข้ากับลักษณะงาน เช่น งานราชการ งานกึ่งทางการ งานตามไลฟ์สไตล์ขององค์กรต่าง ๆ
ที่มา : https://pantip.com/topic/40148856
ก่อนที่จะสร้างงานขึ้นมาได้แต่ละชิ้น ต้องมีการวางโครงร่างก่อนหากต้องการสร้างบ้านต้องมีการออกแบบโครงร่างของบ้านงานกราฟิกเช่นเดียวกันจำเป็นต้องวางโครงร่าง(Layout)ว่าในแต่ละส่วนจะนำอะไรลงไปบ้าง เช่น ในส่วนของแบนเนอร์ ด้านข้าง ด้านล่าง เพื่อเป็นการตีกรอบไม่ให้งานหลุดออกจากประเด็นที่ต้องการจะสื่อรวมไปถึงการจัดวางของพื้นที่ไม่ให้รกและว่างจนเกินไป
ที่มา : https://bit.ly/3ytWCDd
2. กฎ 3 ส่วน
กฎ 3 ส่วน หรือ Rule of Thirds เป็นทฤษฎีในการจัดตำแหน่งองค์ประกอบของภาพ ไม่ให้อยู่ตรงกลางภาพจนทำให้ภาพดูแข็ง ไม่น่ามองกฎ 3 ส่วนจึงเป็นตัวช่วยในการจัดวางตำแหน่งให้องค์ประกอบอยู่ตรง จุดตัดระหว่างเส้น สำหรับผู้เริ่มต้นไม่ว่าจะออกแบบหรือถ่ายภาพควรใช้ทฤษฎีต่าง ๆ ที่มีอยู่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการคิดงานการเรียนรู้กฎ 3 ส่วนถือว่าเป็นทฤษฎีที่ใช้งานได้จริงและใช้บ่อยมากในชีวิตประจำวัน
กฎ 3 ส่วน (Rule of Thirds) คือ การสร้างเส้น 4 เส้นขึ้นมาตาม สัดส่วนที่กำหนด จุดตัดของแต่ละเส้นนั้น คือ จุดที่ควรวางองค์ประกอบลงไป จุดประสงค์ของกฎ 3 ส่วน (Rule of Thirds) คือ จุดที่ช่วยสร้างความสมดุลและความลงตัวของภาพเมื่อออกแบบหรือถ่ายภาพจึงมักจะพบกันเส้นกฎ 3 ส่วนได้ที่ช่องมองภาพ (viewfinder) ของกล้องถ่ายรูปเสมอหรือแม้แต่ภาพเคลื่อนไหว (Application) สำหรับการถ่ายบนโทรศัพท์มือถือสามารถพบกฎ 3 ส่วนได้เช่นเดียวกัน
การจัดวางตำแหน่งหลักของภาพถ่าย เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดผลทางด้านแนวความคิดและความรู้สึกได้ การวางตำแหน่งที่สามารถสนใจในภาพ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ และที่นิยมกันโดยทั่วไป คือกฎ 3 ส่วน
กฎ 3 ส่วนกล่าวไว้ว่า ไม่ภาพจะอยู่แนวตั้งหรือแนวนอนก็ตาม หารแบ่งภาพนั้นออกเป็นสามส่วนทั้งตามแนวตั้งและแนวนอน แล้วลากเส้นแบ่งภาพทั้งสามเส้น จะเกิดจุดตัดกันทั้งหมด 4 จุด ซึ่งจุดตัดของเส้นทั้งสี่นี้เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการจัดวางวัตถุที่ต้องการเน้นให้เป็นจุดเด่นหลัก ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ นั้นเป็นส่วนสำคัญที่รองลงมา
หลักการของการจัดวางตำแหน่งของภาพ
1.การจัดการตำแหน่งจุดเด่นหลักไม่จำเป็นต้องจำกัดมากนัก อาจกำหนดบริเวณใกล้เคียงทั้งสี่จุดนี้
2.การจัดวางบริเวณจุดตัดทั้งหมด จุดสนใจของรูปภาพส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณจุดตัด ซึ่งจะทำให้ภาพดูสมบรูณ์
3.การใช้แนวเส้นแบ่ง 1 : 3 เส้นนี้ เป็นแนวในจัดส่วนภาพก็ได้อย่างการจัดวางเส้นขอบฟ้าให้อยู่ในแนวเส้นแบ่ง โดยให้ส่วนพื้นดินและท้องฟ้าอยู่ในอัตราส่วน 3 : 1 หรือ 1 : 3 แต่ไม่ควรแบ่ง 1 : 1
4.การจัดวางตำแหน่งตรงจุดสนใจ ซึ่งจะอยู่เฉพาะบริเวณจุดตัดจุดใดจุดหนึ่ง ทำให้ภาพดูสมบรูณ์ และ น่าสนใจยิ่งขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพอื่น ๆ โดยใช้หลักการเดียวกัน
ที่มา : https://bit.ly/2QvZ7DK
3. ความหมายของภาพ lnfogaphic
ภาพ lnfogaphic หมายถึง การนำข้อมลูหรือความรู้สามารถมาสรุปเป็นสารสนเทศในลักษณะของข้อมลูและกราฟิกที่อาจเป็นเส้น สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม แผนที่ ฯลฯ ที่ออกแบบเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ดูแล้วเข้าใจง่ายในเวลารวดเร็วและชัดเจน สามารถสื่อให้ผู้ชมเข้าใจความหมาายของข้อมลูทั้งหมดได้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้นำเสนอมาช่วยขยายความเข้าใจอีก
4. ประเภทของภาพ lnfogaphic
ภาพ lnfogaphic มีหลายประเภท สรุปได้ดังนี้
ที่มา : https://bit.ly/3eVyuBm
4.1 เน้นการให้ข้อมูล (lnformation lnfogaphic)
ภาพ lnfogaphic ประเภทนี้ เป็นการเล่าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วบรรยายออกมาเป็นกราฟิก ซึ่งง่ายกว่าการเขียนเป็นบทความ และ สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้เป็นได้อย่างดี
ที่มา : https://bit.ly/3bgduD8
4.2 ข้อมลูเชิงสถิติ (Statistical lnfographic)
การนำเสนอข้อมลูเชิงสถิติ ส่วนใหญ่จะนำเสนอในรูปแบบกราฟหรือแผนภูมิ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและถ้าใช้ lnfogaphic จะช่วยให้การสรุปเนื้อหาง่ายยิ่งขึ้นถ้ามีการเตรียมมาก่อนว่าจะนำเสนอเรื่องอะไรและข้อมลูในจุดใดบ้างจากนั้นนำมาทำเป็นข้อมลูภาพหรือ lnfogaphicที่สวนงามทำให้ข้อมลูเชิงสถิติเป็นเรื่องที่น่าสนและเข้าใจง่าย
ที่มา : https://bit.ly/3yoCSkj
4.3 เรียงลำดับเวลา (Timeline lnfogaphic)
การเล่าเรื่องความเป็นมาหรือวิวัฒนาการของเรื่องเรื่องหนึ่งที่มีเรื่องที่มีความเด่นชัดในเรื่องของการแบ่งเวลา อย่างชัดเจนว่า ในแต่ละช่วงเวลามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง สามารถใช้ lnfogaphic เป็นตัวช่วยในการเล่าเรื่องเพื่อความกระชับของข้อมูล
ที่มา : https://bit.ly/3eXko2l
4.4 แสดงกระบวนการทำงาน (Process lnfogaphic)
ภาพ lnfogaphic ประเภทแสดงกระบวนการทำงาน เป็นการแสดงข้อมลูที่เป็นขั้นตอน/กระบวนการทำงานต่าง ๆ และเป็นข้อมูลภาพที่มีลักษณะคล้ายกับภาพ lnfogaphic ประเภทเรียงลำดับเวลา ซึ่งจะเป็นการแสดงทีละขั้นโดยที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงในเรื่องขอเวลา จะเน้นการอธิบายขั้นตอน/กระบวนการต่าง ๆ ด้วยภาพให้มีความง่ายและเข้าใจได้อย่างชัดเจน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
ที่มา : https://bit.ly/2S1hVuW
4.5 เปรียบเทียบข้อมูล (Comparison lnfogaphic)
สำหรับข้อมลูเชิงเปรียบเทียบนั้น สามารถแยกย่อยออกมาได้อีก เช่น ความแตก ข้อดี/ข้อเสีย ฯลฯ ซึ่งถ้าหากว่ามีสินค้าหลายชนิด อาจจะนำมาเป็น lnfogaphic เปรียบเทียบกันว่า มีอะไรที่เหมือนกันคือต่างกันอย่างไร เพื่อให้ลูกค้าพิจาณารายละเอียดสินค้าได้ง่ายขึ้น
ที่มา : https://bit.ly/3WflD1z
4.6 เรียงลำดับความสำคัญ (Hierarchical lnfogaphic)
lnfogaphic ประเภทนี้เป็นประเภทที่เน้นการจัดลำดับความสำคัญของข้อมลู โดยใช้สัญลักษณ์ในการเล่าเรื่องบนรูปภาพอย่างชัดเจน ทำให้เห็นว่าข้อมลูใดสำคัญที่สุด เรียงไปหาน้อยที่สุด เช่น การใช้รูปทรงพีระเมิด หรือแผนผัง ฯลฯ
คำศัพท์ที่ควรรู้