จรรยาบรรณ
จริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข Arlene H. Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก จึงรวบรวมกฎกติกา มารยาทและกำหนดเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Neti-quette ไว้ดังนี้
1. จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมลบ็อกซ์ (mail box) หรืออีเมลแอดเดรส (E-Mail Address) ที่ใช้อ้างอิงในการรับ-ส่งจดหมาย
ดังนั้น จึงควรมีความรับผิดชอบในการดูแลกล่องจดหมาย (Inbox) ของตนเอง ดังนี้
1.ตรวจสอบจดหมายให้บ่อยครั้ง และจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในกล่องจดหมายของตน ให้เลือกภายในโควตาที่กำหนด
2.ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการออกจากระบบกล่องจดหมาย เพื่อลดปริมาณจำนวนจดหมายที่อยู่ในกล่องจดหมาย (Inbox) ให้มีจำนวนน้อยที่สุด
3.ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังแหล่งเก็บข้อมูลอื่น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง แต่ต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัย
4.พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในกล่องจดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่าไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้จดหมาย
2. จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา
การสนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญ ได้แก่
1.ควรสนทนากับผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย
2.ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรตรวจสอบสถานการณ์ใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก
3.หลังจากเรียกไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ
4.ควรให้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน
3. จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าว เว็บบอร์ด หรือสื่อทางข่าวสาร
ข้อปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่
1.เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็นไม่กำกวม ใช้ภาษาที่สุภาพ
2.ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้ตรงโดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง
3.การเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
4.ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่า โคมลอยหรือข่าวลือ
5.จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่นๆ
6.ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับใช้ และอ้างอิงต่อๆ กันมา การเขียนข่าวจึงควรพิจารณาด้วย
7.ไม่ควรใช้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืองานเฉพาะของตน
8.การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อไว้ตอนล่างของข้อความ
9.ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง
10.ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
11.ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่น เช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมด โดยไม่มีการสรุปย่อ
12.ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น
4. บัญญัติ 10 ประการ
1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2.ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท