3.2 สิทธิและการคุ้มครองผลงาน
3.2 สิทธิและการคุ้มครองผลงาน
สิทธิบัตร
สิทธิบัตรการประดิษฐ์
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
อนุสิทธิบัตร
สิทธิและการคุ้มครองผลงาน
สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักประการหนึ่ง คือ การคุ้มครองผลงานต่าง ๆ ซึ่งจัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้สร้างด้วย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ จัดทรัพย์สินทางปัญญาเป็น 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) และลิขสิทธิ์ (Copyright)
การคุ้มครองจะมีผลตามกฏหมายก็ต่อเมื่อ ผู้สร้างนำผลงานนั้นไปจดทะเบียนคุ้มครองกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ยกเว้นผลงานที่เป็นลิขสิทธิ์ จะได้รับการคุ้มครองทันทีที่มีผู้สร้างผลงานนั้นเรียบร้อยแล้ว โดยไม่ต้องไปจดทะเบียนคุ้มครอง
ตัวอย่าง สิ่งประดิษฐ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย”
เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายและเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้า (Trade mark)
เครื่องหมายบริการ (Service Mark)
เครื่องหมายร่วม (Collective Mark)
เครื่อหมายรับรอง (Certification mark)
อธิบายเพิ่มเติม
สิ่งที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเครื่องหมายการค้า คือ เครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าหรือบริการซึ่งกฎหมายเครื่องหมายการค้าได้ให้นิยามคำว่า เครื่องหมาย ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน แต่ไม่หมายความรวมถึงแบบผลิตภัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร
เครื่องหมายการค้าที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าแบ่งได้ 4 ประเภท หลัก ดังนี้
เครื่องหมายการค้า (Trade mark) คือเครื่องหมายที่ใช้กับสินค้า เพื่อแสดงให้เห็นว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าของผู้อื่น เช่น เครื่องหมายโค้ก เครื่องหมายโรเล็กซ์ เครื่องหมายไนกี้ หรือเครื่องหมายโซนี่ เป็นต้น ซี่งเครื่องหมายการค้าถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการและองค์กร
เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้กับการบริการเพื่อแสดงให้เห็นว่า บริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างจากบริการของผู้อื่น โดยบริการอาจจะเป็นบริการด้านการเงิน บริการด้านสายการบิน บริการการท่องเที่ยว บริการโรงแรม และบริการโฆษณา เป็นต้น ตัวอย่างของเครื่องหมายบริการที่จดทะเบียน เช่น เครื่องหมายการบินไทย เครื่องหมายธนาคารกรุงเทพ หรือเครื่องหมายโรงแรมเอราวัณ เป็นต้น
เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้หรือจะใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น เครื่องหมาย ปูนซีเมนต์ เครื่องหมายสโมสรไลอ้อน หรือเครื่องหมาย NBA เป็นต้น โดยทั่วไป เครื่อหมายร่วมมักจะมีการกำหนดมาตรฐานร่วมในการใช้เครื่องหมายร่วม และเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถเลือกใช้เครื่องหมายร่วมได้ หากได้ปฏิบัติตามมาตรฐานนั้น ทั้งนี้ เครื่องหมายร่วมมีข้อมีตกลงที่มีการทำตลาดร่วมกันในกลุ่มบริษัท
เครื่อหมายรับรอง (Certification mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้ในการรับรองสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น โดยเป็นการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่นใด ของสินค้านั้น หรือเพื่อรับรองเกี่ยวกับสภาพ คุณภาพ ชนิด หรือคุณลักษณะอื่นใดของบริการนั้น เช่น เครื่องหมายแม่ช้อยนางรำ เชลล์ชวนชิม หรือเครื่องหมาย Woolmark เป็นต้น กล่าวคือ เจ้าของเครื่องหมายรับรองมีการกำหนด มาตรฐานสำหรับการใช้เครื่องหมายรับรองไว้ ดังนั้น ในการอนุญาตให้จดทะเบียนเครื่องหมายรับรองมักจะพิจารณาความสามารถในการรับรองของผู้ขอรับเครื่องหมายรับรองด้วย